ความสัมพันธ์

ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์

3 เทคนิค ฟังให้ Deeeeeeep

 

ฟังอย่างผ่อนคลาย

 

เมื่อจะฟังใครพูด ตั้งสติให้ดี เราจะฟังเท่านั้น ไม่ขัด ไม่ถาม ไม่แทรก ไม่เออออ ไม่ยุยงส่งเสริม ฟังให้เขาพูดจนจบ เมื่อให้เรารับรู้ข้อความทั้งหมดอย่างแท้จริง และสังเกตตัวเองด้วยว่า เรารู้สึกอย่างไร เรามีปฏิกริยาอย่างไร เช่น มือสั่น เราไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือโกรธ หายใจเข้าออกลึกๆ รับรู้ตัวของเรา และฟังต่อไป

 

อ่านต่อ

 

 

เด็กๆ ชั้น 11 (สิ่งดีๆ ในชีวิต)

ยี่สิบปีที่แล้วในยุคที่ข่าวสารยังไม่แพร่หลายขนาดนี้ การจะรู้ว่าเราป่วยเป็น “โรคซึมเศร้า” ไม่ง่ายเลย 

หวานมันเรากับน้องหมา

เรื่องและภาพ : “ทีมเกี่ยวก้อยร้อยใจ” (อำนาจ และ อัจจชิญา สงวนศรีพิสุทธิ์) “โฮ่ง…โฮ่ง…” เสียงเห่าทักทายของ “ถุงทอง” กับ “ถุงเงิน” น้องหมาพันธุ์ดัชชุน (Dachshund) ที่สลับกันส่งเสียงต้อนรับผมและภรรยาขณะกลับถึงบ้าน  

คำอ้าย

เรื่องและภาพ : สุวรรณา แก้วศรี “ไม่มีใครในโลกนี้ที่อยากเกิดมาเป็นภาระคนอื่น ไม่เป็นที่ต้องการ ไม่มีแม้ซอกหลืบเล็กไว้หลบภัย”

เดอะเรนโบว์รูม ครอบครัวหัวใจสีรุ้ง

“ความสุขของเราคือการที่เราได้เห็นการเติบโตของครอบครัว ของตัวเด็กเอง ของพ่อแม่ที่มีความเข้าใจ แล้วเราได้ชื่นชมกับพัฒนาการของเขาที่ขยับขึ้นไปข้างหน้าเรื่อยๆ ในจังหวะเวลาของตัวเอง” คุณโรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์ ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ เดอะ เรนโบว์ รูม กล่าวถึงความสุขจากการสร้างเครือข่ายเพื่อครอบครัวเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในสังคมให้กับครอบครัว คุณโรสค้นพบด้วยประสบการณ์ตรงว่า ความเข้าใจทั้งในระดับครอบครัวและสังคม เริ่มต้นจากคำพูดและทัศนคติ “ก่อนที่จะมีลูกคนเล็ก ลูกคนโต 5

วิถีการเรียนรู้รักปลอดภัยในกลุ่มชายรักชาย

สังคมยุคนี้ดูเหมือนจะเปิดกว้างเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ในกลุ่มชายรักชายก็ยังมีปัญหาซ่อนอยู่ อย่างเช่นเรื่องการขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน HIV และการเปิดเผยตัวตนกับครอบครัวคนใกล้ชิด เพราะมองเห็นปัญหาเหล่านี้ คุณออฟ (ผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่สะดวกเปิดเผยชื่อจริง) ชายหนุ่มวัยทำงานซึ่งเรียนจบทางด้านวิทยาศาสตร์และเภสัชวิทยาจึงนำความรู้ที่ร่ำเรียนมาทำงานช่วยเหลือกลุ่มชายรักชาย เพื่อให้มีรักได้อย่างปลอดภัย “ที่อยากทำกลุ่มนี้เพราะ ด้วยความที่เราพอจะมีความรู้ด้านนี้ มีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ อย่างน้อยมันเป็นแรงขับเคลื่อนจุดเล็กๆ ของสังคมในกลุ่มเราเอง ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยที่เราไม่ได้ไปหวังว่าจะต้องมีผลตอบแทนอะไร”

ความสุขของนักเสริมพลังการเรียนรู้เพื่อครูปฐมวัย

ครูเปรียบเสมือนแม่คนที่สองของเด็ก  ครูคนแรกที่เด็กได้เจอหลังจากผละจากอ้อมอกแม่คือครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือครูโรงเรียนอนุบาล  ครูคนนี้ต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ “ความรู้” แต่ต้องมี “ความรัก” และ “ความเข้าใจ” พัฒนาการของเด็กในช่วงปฐมวัยมากที่สุด  ทว่า ในสายตาของคนทั่วไปอาจมองเห็นครูเด็กเล็กเป็นเพียงพี่เลี้ยงที่ทำให้เด็กกินอิ่มนอนหลับไปวันๆ เท่านั้น ครูหลายคนจึงขาดโอกาสในการเสริมศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใน ทว่าในสายตาของสรวงธร นาวาผล และสายใจ คงทนกลับไม่ได้มองเช่นนั้น ทั้งคู่มองเห็น “พลังความรักในอาชีพครู” ที่ซุกซ่อนอยู่ในหัวใจ

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save