ความสัมพันธ์

ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์

3 เทคนิค ฟังให้ Deeeeeeep

 

ฟังอย่างผ่อนคลาย

 

เมื่อจะฟังใครพูด ตั้งสติให้ดี เราจะฟังเท่านั้น ไม่ขัด ไม่ถาม ไม่แทรก ไม่เออออ ไม่ยุยงส่งเสริม ฟังให้เขาพูดจนจบ เมื่อให้เรารับรู้ข้อความทั้งหมดอย่างแท้จริง และสังเกตตัวเองด้วยว่า เรารู้สึกอย่างไร เรามีปฏิกริยาอย่างไร เช่น มือสั่น เราไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือโกรธ หายใจเข้าออกลึกๆ รับรู้ตัวของเรา และฟังต่อไป

 

อ่านต่อ

 

 

พี่เลี้ยงทางธรรมหัวใจเกินร้อย

จะด้วยพรหมลิขิตหรือธรรมจัดสรร ที่ทำให้การถูกไล่ออกจากโรงเรียนในวัยเด็กของคุณกะปอม จิรายุ แก้วพะเนาว์ ส่งผลให้เขามีโอกาสได้ทำงานเพื่อสังคม และทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบทอดสู่เยาวชนจากรุ่นสู่รุ่น ตอนนั้นคิดว่าตัวเองโชคร้ายที่ช่วง ม.3 โดนไล่ออก…ทำให้มีข้อตกลงระหว่างผู้ปกครองกับทางผอ.โรงเรียน ว่าถ้าอยากเรียนต่อม.4 ที่เดิม ต้องไปบำเพ็ญประโยชน์บางอย่างเพื่อปรับปรุงตัว จนเป็นจุดเปลี่ยนให้เด็กชายกะปอมได้มาอยู่ที่ยุวพุทธ เตรียมบวชในโครงการสามเณรใจเพชร เพื่อเอาใบประกาศไปยื่นให้ทางโรงเรียน เป็นการการันตีว่ายอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง และจะได้เรียนต่อในโรงเรียนชื่อดังที่เดิมต่อไป

ครอบครัวเข้าใจกัน คือรากฐานของความสุข

ชีวิตที่มีปริญญาถึงสามใบ แต่จัดการกับความรักความรู้สึกไม่ได้ เราจะมีไปทำไม เสียงสะท้อนจากใจของอดีตวิศวกรหญิงที่ค้นพบเสียงเรียกร้องภายในว่าอะไรคือสิ่งที่ตัวเองค้นหามาตลอดชีวิต ครูณา อังคณา มาศรังสรรค์ ผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่ทิ้งทุนเรียนต่อดร.ประเทศญี่ปุ่น หลังจากรู้ว่าตัวเองมีพรแสนวิเศษ ในการเข้าใจความสัมพันธ์ของเด็กๆ ที่เกิดขึ้นกับพ่อแม่ มากกว่างานที่ทำในสายวิชาชีพ

สุขร่วมกันด้วยฉันทามติ

หากมองเรื่องทีมเวิร์คเป็นเรื่องที่สำคัญในการสร้างองค์กร ชุมชน หรือแม้แต่ครอบครัวที่ดีนั้น หลายๆ ครั้งเรามักมองหาวิธีว่าทำอย่างไรให้เกิดทีมเวิร์คที่ยั่งยืนได้ วันนี้ได้มาสัมภาษณ์กลุ่มหนึ่งที่มีชื่อว่า ‘สายแข็งบุรี’ มีเทคนิคและเครื่องมือในการสร้างทีมแบบง่ายๆ ที่เรียกว่า Consensus แปลว่า ฉันทามติหรือมติเป็นเอกฉันท์

สื่อสารอย่างสันติ เริ่มจากเข้าใจตัวเอง

  ในขณะที่คุณเพิ่งกลับบ้านมาเหนื่อยๆ กลับมาเห็นน้องสาวของคุณกำลังนอนดูคลิป ขนมและข้าวของวางกระจัดกระจาย คุณเซ็งสุดๆ เลยพูดไปว่า “แกนี่ วันๆ จะไม่ทำอะไรเลยใช่ม่ะ เอาแต่ติ่งเกาหลี” น้องหันขวับ ตาเขียวปั้ด แล้วพายุน้อยๆ ก็เริ่มขึ้น… แต่ถ้าคุณได้รู้จักศาสตร์หนึ่งที่ชื่อ ‘การสื่อสารอย่างสันติ’ (Nonviolent Communication : NVC)

ฟังด้วยใจไขชีวิต

‘ชีวิตบางครั้งต้องใช้ความกล้าที่จะพูด แต่ต้องใช้ความกล้ามากกว่าที่จะฟัง’ ธรรมชาติสร้างมนุษย์ให้มีสองหูเพื่อฟังและหนึ่งปากเพื่อพูด เป็นสมดุลที่ถูกจัดสรรไว้อย่างลงตัว นักฟังบอยด์ คุณ กิตติชัย วิชัยดิษฐ วิศวรหนุ่มผู้ผันตัวเองมาเป็นนักฟังเชิงลึก มาเล่าประสบการณ์ที่ได้ออกไปฟังผู้คน ทุกเพศ ทุกวัย หลากหลายอาชีพถึง 10,000 ชั่วโมง จนเข้าถึงแก่นของการ ‘ฟังด้วยใจ’ ในที่สุด

การสื่อสารอย่างสันติ : นำสู่กัลยาณมิตร

ที่ใดมีคนมากกว่า 1 คนขึ้นไปย่อมยากที่จะไม่มีความขัดแย้ง คำถามจึงไม่ใช่จะทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดความขัดแย้งใดๆเลย แต่ปัญหาคือ จะบริหารจัดการกับความขัดแย้งอย่างไรจึงจะสร้างสรรค์สันติและก่อเกิดเป็นกัลยาณมิตร ความมีเมตตา มีสัมมาทิฐิ ย่อมนำมาซึ่งสติและมีใจที่เป็นกลาง คลายความยึดมั่นถือมั่นและเข้าใจผู้อื่นอย่างกระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นจะทำให้ความขัดแย้งไม่ใช่ความน่ากลัว แต่หาก ปฎิสัมพันธ์ของคู่กรณีอัดแน่นไปด้วยอคติ และทิฐินั่นก็ย่อมทำให้ความขุ่นเคืองชิงชัง ความรุนแรงขยายยิ่งขึ้นอย่างยากจะเยียวยา ความขัดแย้งตั้งแต่ระดับ คู่รัก ครอบครัว กระทั่งประเทศชาติ หากไม่ได้รับการแก้ปัญหาที่ถูกต้องก็ย่อมแผ่ขยายลุกลามบานปลายไปอย่างน่ากลัว

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save