ความสัมพันธ์

ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์

3 เทคนิค ฟังให้ Deeeeeeep

 

ฟังอย่างผ่อนคลาย

 

เมื่อจะฟังใครพูด ตั้งสติให้ดี เราจะฟังเท่านั้น ไม่ขัด ไม่ถาม ไม่แทรก ไม่เออออ ไม่ยุยงส่งเสริม ฟังให้เขาพูดจนจบ เมื่อให้เรารับรู้ข้อความทั้งหมดอย่างแท้จริง และสังเกตตัวเองด้วยว่า เรารู้สึกอย่างไร เรามีปฏิกริยาอย่างไร เช่น มือสั่น เราไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือโกรธ หายใจเข้าออกลึกๆ รับรู้ตัวของเรา และฟังต่อไป

 

อ่านต่อ

 

 

ภูเขาน้ำแข็งของดาวเดียวดาย

ผู้ป่วยซึมเศร้าก็ต้องการอะไรแบบนี้แหละ ต้องการใครสักคนที่จะอยู่กับเราอย่างที่เราเป็น ต้องการความจริงใจ บางเรื่อง-บางอย่างแม้ว่าจะช่วยไม่ได้ ไม่เข้าใจ แค่ให้ตั้งใจฟังและอยู่ตรงนั้นจริงๆ ก็พอแล้ว

7 วิธี สู่การผู้สูงอายุที่มีความสุข

ลองชวนผู้สูงอายุคุยไปตามหัวข้อเหล่านี้ และถ้ามีโอกาสก็ชวนให้ลงมือทำ แบบฝึกหัดนี้มี 7 ข้อ 10 คะแนน ลองใช้แบบฝึกหัดนี้เป็นการเก็บแต้มรายวัน ลองดูว่า เมื่อได้ลองทำไปสักพัก แบบฝึกหัดนี้จะให้ผลอย่างไร

เลี้ยงรักให้เติบโต

ไม่มีใครรู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างในความสัมพันธ์ พันธะสัญญาก็เรื่องหนึ่ง แต่การดำเนินไปในชีวิตประจำวันก็อีกเรื่อง — แต่หากเรารู้ว่าความสัมพันธ์นั้นแสนเปราะบาง เราก็เลือกได้ที่จะรักษา ชื่นชม หรือปล่อยปละละเลย

ล้มแล้วลุกยืนขึ้นใหม่ แต่ถ้ายืนไม่ไหวขอความช่วยเหลือยังไงดี?

ในชีวิตคนเราล้วนพบเจอปัญหาด้วยกันทั้งนั้น บางคนล้มแล้วลุกยืนขึ้นใหม่ได้ ใช้เวลาผ่านปัญหาไม่นาน บางคนก็จมอยู่กับปัญหาหลายปี ล้มแล้วกว่าจะลุกได้ก็นาน และก็คงปฏิเสธได้ยากว่าการผ่านปัญหาบางครั้ง ถ้าไม่สามารถผ่านได้ด้วยตัวเอง ก็มาด้วยการขอความช่วยเหลือจากใครสักคน

วิธีสร้างความสัมพันธ์กับลูกวัยทีน ฉบับที่ไม่มีใครต้องเจ็บปวด

ความสัมพันธ์กับลูกของคุณในตอนนี้เป็นอย่างไร?คุณแอบเผลอเอาความคาดหวังของตัวเองไปให้ลูกหรือเปล่า?

เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กๆ

ทุกชีวิตต้องการความปลอดภัย เด็กทุกคนต้องการพ่อแม่ที่ปลอดภัย บ้านที่ปลอดภัย พ่อแม่จำนวนหนึ่งจึงพยายามเลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิดมาก ปกป้องลูกจากทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจทำให้ลูกผิดหวัง หรือเจ็บตัว แต่นี่คือการเลี้ยงดูที่ช่วยให้ลูกแข็งแรงจริงหรือ

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save