
การภาวนา
การภาวนาไม่ได้หมายถึงการหลับตาทำสมาธิ หรือการเดินจงกรมเท่านั้น การภาวนาคือการพากายกับใจมาอยู่ด้วยกัน เราสามารถภาวนาได้เสมอ ทุกที่ ทุกเวลา เราจะอนุญาตให้ตัวเองมีเวลาจิบกาแฟเงียบๆ สัก 10 นาทีได้ไหม ภาวนากับถ้วยกาแฟของเรา ที่ไหนก็ได้ เราอาจจะนั่งเงียบๆ ตรงไหนสักแห่งตามลมหายใจไปพร้อมกับรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น รับรู้ความรู้สึกภายใน รับรู้เสียงภายนอก ปราศจากการต่อสู้และเปลี่ยนแปลง เหล่านี้คือการภาวนา
ลองกลับมารับรู้สิ่งที่เป็นอยู่ทั้งในตัวเราและนอกตัวเรา เราอาจจะพบว่าเรากำลังคิดวุ่นวาย เรากำลังรู้สึกหงุดหงิด เราไม่นิ่งเลย เมื่อเรารับรู้ ยอมรับ และยิ้มได้ นี่คือความสุขจากการภาวนา
ความสุขจากการภาวนา

เป็นคนรักที่น่ารัก เมื่อรู้จักภาวนา
เมื่อพูดถึงคำว่า ภาวนา ภาพในการรับรู้ของผู้คนคือ นั่งหลับตา หรือ เดินช้าๆ หรือทำอะไรสักอย่างซ้ำๆ ค่อนไปทางช้าๆ ทั้งหมดนี้ให้ความรู้สึกรวมๆ ว่า น่าเบื่อ ตัดภาพมาที่วงการโฆษณา พวกเราจะนึกถึงท่าทีกระฉับกระเฉง — แนว แจ่ม ว้าว

ความสุขอยู่ไม่ไกล เพียงอยู่ที่เราเลือกมอง
เรื่อง : วรรณรดา สุราช ใครๆ ก็ต้องการความสุข อยากให้สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตกันทุกคนใช่ไหมคะ?

มาตาภาวนา…ธรรมะพักใจผู้หญิงเมืองกรุง
เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก บางคนต้องรับบทเมีย แม่ และลูกสาวยอดกตัญญูดูแลพ่อแม่ยามแก่ชราไปพร้อมกัน ยิ่งผู้หญิงในสังคมเมืองกรุงที่ต้องเผชิญกับรถติดบนท้องถนนร่วมด้วยแล้ว ถึงไม่มีภาระครอบครัว พอกลับถึงบ้านปุ๊บ หัวก็แทบฟุบสลบคาหมอนเลยทีเดียว โอกาสปลีกวิเวกเข้าคอร์สปฏิบัติธรรมแบบ 5 วัน 7 วันจึงยากจะได้สัมผัส ทว่า หลังจากสวนโมกข์กรุงเทพย่านจตุจักรเปิดต้อนรับคนเมืองกรุงให้เข้าไปสัมผัสธรรมะเมื่อเกือบสิบปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้จึงกลายเป็น “ที่พักใจ” ของคนเมืองทุกช่วงวัย เพราะมีกิจกรรมแนวธรรมะหมุนเวียนสับเปลี่ยนมาให้ผู้คนได้เข้าร่วมทุกสัปดาห์ หนึ่งในนั้นคือกิจกรรมธรรมะสำหรับผู้หญิง 18

โกเอนก้าเด็ก คอร์สบ่มเพาะธรรมะเมล็ดพันธุ์รุ่นจิ๋ว
ธรรมะ คือ ความสงบนิ่ง…จะเกิดอะไรขึ้นถ้าพาเด็กที่ชอบวิ่งซุกซน ติดเกมออนไลน์ อยากพูดอะไรก็พูดมาเข้าคอร์สธรรมะ หลับตานั่งสมาธิ ปิดวาจา ปิดโทรศัพท์มือถือในชั่วเวลาหนึ่งวัน ณ สวนโมกข์กรุงเทพฯ สถานที่พักใจกลางกรุงติดกับสวนสาธารณะจตุจักร เด็กหญิงเด็กชายวัยแปดปีขึ้นไปจนถึงมัธยมต้นกำลังนั่งหลับตาเฝ้ามองลมหายใจเข้าออกของตนเอง ไม่มีเสียงเจี้ยวจ้าวตามประสาเด็กเล็ดลอดออกมาให้ได้ยิน อาจมีเสียงขยับตัวไปมาตามประสาเด็กอยู่นิ่งไม่เป็น และเกิดอาการเหน็บชาจากท่าขัดสมาธิที่ไม่คุ้นชิน เพราะกำลังอยู่ในคอร์สปฏิบัติธรรม “โกเอนก้าเด็ก” “คิดถึงเราตอนเป็นเด็กถ้าได้สมาธิสักเล็กน้อย สามารถควบคุมจิตใจตนเองได้ ก็จะไม่เถลไถล

เข้าใจชีวิตผ่านสีน้ำภาวนา
เมื่อเอ่ยถึง “สีน้ำ”…เรามักนึกถึงศิลปะ เมื่อเอ่ยถึง “ภาวนา”…เรามักนึกถึงการทำจิตให้นิ่งอยู่กับปัจจุบันขณะ กิจกรรม “สีน้ำภาวนา” จึงเป็นเสมือน “ถนนสองสาย” ที่มาเจอกันตรงทางแยกและกลายเป็น “ถนนสายใหม่” ที่นำทางให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงธรรมะด้วยวิถีปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ถนนสายนี้มีปัญจรัตน์ นิลพันธ์พิทักษ์ หรือ ละอ่อน เป็นผู้แผ้วถางเส้นทางให้ผู้คนได้ลองย่างเท้าเข้ามาเดินด้วยตนเองเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ณ สวนโมกข์กรุงเทพฯ

ดูแลหัวใจตัวเองกับนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
“เวลาที่เพื่อนเราทำผิดพลาด เรายังให้กำลังใจเขา แต่ทำไมเราจะให้อภัยและให้กำลังใจตัวเองเวลาที่ตัวเราทำพลาดบ้างไม่ได้ล่ะ” Benjamin Weinstein หรือ “เบน” นักจิตวิทยาชาวอเมริกันกล่าวถึงเป้าหมายของการอบรมเรื่อง “การให้ความเมตตาต่อตนเอง” ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษให้กับกลุ่มคนทำงานจิตอาสาหรือคนทำงานด้านสังคมในเมืองไทยมาตั้งแต่ปี 2560 ที่ผ่านมา เขากล่าวถึงเหตุผลที่อยากจัดอบรมให้กลุ่มคนทำงานตรงนี้ว่า คนทำงาน “เพื่อคนอื่น” มักละเลยการดูแลหัวใจตนเอง จนทำให้ขาดความสุขในการทำงานเพราะมักคาดหวังว่าตนเองควรช่วยเหลือคนให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่