การภาวนา

การภาวนาไม่ได้หมายถึงการหลับตาทำสมาธิ หรือการเดินจงกรมเท่านั้น การภาวนาคือการพากายกับใจมาอยู่ด้วยกัน เราสามารถภาวนาได้เสมอ ทุกที่ ทุกเวลา เราจะอนุญาตให้ตัวเองมีเวลาจิบกาแฟเงียบๆ สัก 10 นาทีได้ไหม ภาวนากับถ้วยกาแฟของเรา ที่ไหนก็ได้ เราอาจจะนั่งเงียบๆ ตรงไหนสักแห่งตามลมหายใจไปพร้อมกับรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น รับรู้ความรู้สึกภายใน รับรู้เสียงภายนอก ปราศจากการต่อสู้และเปลี่ยนแปลง เหล่านี้คือการภาวนา
ลองกลับมารับรู้สิ่งที่เป็นอยู่ทั้งในตัวเราและนอกตัวเรา เราอาจจะพบว่าเรากำลังคิดวุ่นวาย เรากำลังรู้สึกหงุดหงิด เราไม่นิ่งเลย เมื่อเรารับรู้ ยอมรับ และยิ้มได้ นี่คือความสุขจากการภาวนา

 

บอดี้สแกน (Body Scan)

4 ขั้นตอนง่ายๆ พาใจและกายกลับสู่ปัจจุบัน

  1. หาที่นอนสบายๆ

นอนราบกับพื้นที่ไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป ไม่ต้องใช้หมอนหนุน ทิ้งน้ำหนักตัวลง ผ่อนคลายร่างกาย แยกปลายเท้าออกจากกันเล็กน้อย นอนแบบที่ให้ตัวเองสบาย

 

อ่านต่อ

 

 

ฉันมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร เมื่อไม่มีทั้งมือและเท้า

  Corinne Hutton เสียทั้งมือและเท้าเมื่อสองปีก่อน เธอไม่คร่ำครวญว่า “ทำไมต้องเป็นฉัน” แต่กลับคิดว่า ดีแล้วที่ไม่เกิดกับคนอื่น และทุกวันนี้เธอยังคงเปี่ยมไปด้วยความสุขและความหวัง และทำสิ่งต่างๆ ที่เธอรัก เช่น ปีนเขา ขับเครื่องบิน และตั้งองค์กรการกุศล เมื่อสองปีที่แล้ว Corinne มีชีวิตการงานและครอบครัวที่ยุ่งเหยิง งานที่ทำมีความเครียดสูง แต่เธอก็ทน ๆ

เปลี่ยนชีวิตได้ด้วย ‘การรู้คุณ’

  ใครเคยอ่านนิทานเรื่อง ‘เสื้อแห่งความสุข‘ ของนักประพันธ์เอกชาวรัสเซีย ลีโอ ตอลสตอย บ้างยกมือขึ้น…. นิทานเรื่องนี้เล่าถึงพระราชาที่สุดแสนจะร่ำรวย แต่ก็พบว่าตัวเองยังไม่มีความสุขเสียที จึงได้เรียกเหล่านักปราชญ์มาปรึกษาหาวิธีที่จะทำให้พระองค์มีชีวิตที่มีแต่ความสุข ประชุมกันอยู่นานก็มีนักปราชญ์คนหนึ่งแนะนำขึ้นมาว่า พระราชาจะต้องออกตามหาผู้ชายที่มีแต่ความสุข แล้วนำเสื้อของเขามาสวมไว้เท่านั้นเอง เรื่องเหมือนจะง่าย แต่ไม่ง่าย เพราะไม่ว่าจะออกตามหาเท่าไร ก็ไม่พบผู้ชายที่มีแต่ความสุขเลยสักคน ทุกคนล้วนมีความทุกข์ในชีวิตไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง จนกระทั่งทหารของพระราชาได้เดินผ่านกระท่อมซอมซ่อหลังหนึ่ง พลันได้ยินเสียงชายในกระท่อมร้องออกมาอย่างปิติว่า

ความสุข (ก็) วิ่งได้

การวิ่งช่วยสลัดความทุกข์ในใจ และได้ความคิดใหม่ๆ ที่สดใสเข้ามาแทนที่ – อ.ณรงค์ เทียมเมฆ – ที่ปรึกษาสมาพันธ์ชมรมเดิน – วิ่งสุขภาพไทย  นักวิ่งผู้ริเริ่มจอมบึงมาราธอน   ‘กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลสทำตนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล ตะละล้า…’ เนื้อเพลงกราวกีฬาที่เราร้องคุ้นเคยกันจนติดปากตั้งแต่อนุบาล

สบตากับความตาย มองหาความหมายของชีวิต

  เมื่อเอ่ยถึง ‘ความตาย‘ ปฏิกริยาของคนส่วนใหญ่ที่มีต่อคำนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มที่ 1 ‘หวาดกลัว’ ความตายถือเป็นคำต้องห้าม เป็นลางร้าย จะนำความสูญเสียโชคร้ายมาสู่คนที่พูด กลุ่มที่ 2  ‘ท้าทาย’  ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย เราจะใช้ชีวิตอย่างไรก็ได้ เพราะที่สุดแล้วก็ต้องตายอยู่ดี อย่างไรก็ตาม แม้จะมีท่าทีกับความตายที่แตกต่างกัน แต่ทว่าสิ่งที่น่าเศร้าที่สุดที่เหมือนกันของคนทั้ง 2

ทำบุญ ‘เป็น’ เห็น ‘ความสุข’

         จะว่าไปแล้วเรื่องของการ ‘ทำบุญ‘ เป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับคนไทยมาทุกยุคสมัย โดยเฉพาะเวลาที่มีความทุกข์ หลายคนมักจะได้รับคำแนะนำให้ไปทำบุญ ซึ่งในสายตาของคนรุ่นใหม่ อาจเกิดคำถามขึ้นในใจว่า การทำบุญ ซึ่งดูคล้ายเป็นเรื่องภายนอกนั้น จะไปเกี่ยวพันหรือส่งผลกับทุกข์สุขที่เกิดขึ้นในใจได้อย่างไร? เคยมีคำกล่าวว่า ต้นไม้จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อได้แผ่กิ่งก้านให้ความร่มเย็นแก่ผู้คนบนโลก พืชพรรณจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อผลิดอกออกผล แม้บางครั้งอาจไม่ช่วยให้อิ่มท้อง แต่ก็ให้ความชื่นตาชื่นใจแก่ผู้พบเห็น ส่วนมนุษย์คนหนึ่งจะสมบูรณ์ได้นั้น

การให้อภัยที่ยากยิ่ง แต่เป็นไปได้

แม้ลูกชายถูกฆ่าตาย…แต่พ่อสามารถให้อภัยและกลายเป็นคุณพ่ออุปถัมภ์ของฆาตกรได้ เมื่อคนรักลืมวันเกิดเรา เรางอนไปหลายวัน เมื่อเพื่อนลืมไม่ชวนเราไปเที่ยวสนุก เราแอบขุ่นเคืองในใจ ในชีวิตมีเรื่องเล็ก ๆ มากมายที่เราไม่อยากจะให้อภัยง่าย ๆ แล้วหากเจอเรื่องใหญ่กว่านี้ล่ะ เช่น หุ้นส่วนธุรกิจโกงเงินและทำให้คุณล้มละลาย หากมีใครทำให้ลูกสุดที่รักของคุณตาย หากคนรักนอกใจคุณ แล้วคุณจะให้อภัยคนเหล่านี้ได้อย่างไร… เมื่อปี 1995 ลูกชายของ Azim Khamisa

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save