ความสัมพันธ์

ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์

3 เทคนิค ฟังให้ Deeeeeeep

 

ฟังอย่างผ่อนคลาย

 

เมื่อจะฟังใครพูด ตั้งสติให้ดี เราจะฟังเท่านั้น ไม่ขัด ไม่ถาม ไม่แทรก ไม่เออออ ไม่ยุยงส่งเสริม ฟังให้เขาพูดจนจบ เมื่อให้เรารับรู้ข้อความทั้งหมดอย่างแท้จริง และสังเกตตัวเองด้วยว่า เรารู้สึกอย่างไร เรามีปฏิกริยาอย่างไร เช่น มือสั่น เราไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือโกรธ หายใจเข้าออกลึกๆ รับรู้ตัวของเรา และฟังต่อไป

 

อ่านต่อ

 

 

ชุมชนนิเวศน์ : สถานพักผ่อนแห่งจิตวิญญาณ

โลกยุคดิจิตอล… ผู้คนส่วนใหญ่หลงใหลไปกับแสงสีเสียง เทคโนโลยี่ และวัฒนธรรมโซเชียลมีเดีย กระทั่งหลงลืมไปแล้ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน คืออะไร ? ไม่เข้าใจเรื่องการจัดการทรัพยากรให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่น ในสิ่งที่ดูเหมือนจะรุดไปข้างหน้า ยังมีผู้คนอีกมิใช่น้อย ที่ไร้ความสุข ทั้งเหนื่อยทั้งเครียด ว้าเหว่อ้างว้าง เขาเหล่านั้นเริ่มใฝ่ฝันถึงชีวิตที่เรียบง่ายสงบเย็นดังเป็นมาแต่อดีต และยังคงอยู่แม้ปัจจุบัน ดังเช่นในชุมชนท้องถิ่นอันอบอุ่นไปด้วยความจริงใจไมตรี และนี่เองที่ยังผลให้ผู้คนทั้งต่างแดนและบ้านเรามุ่งสานฝัน สร้าง “วันที่เคยชื่น

Deep Listening : ฟังกันอย่างเมตตากรุณา

ปัญหาใหญ่ของมนุษย์ทุกวันนี้ก็คือ “ไม่มีใครฟังใคร” ทุกคนล้วนแย่งกันพูด ถึงแม้จะฟังก็ฟังแบบแกนๆผ่านๆ หูซ้ายทะลุหูขวา ไม่มีใครใจเย็นพอที่จะฟังใครอย่างลึกซึ้งเพื่อความเข้าใจอย่างแท้จริง ทั้งๆที่ผู้ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์ต่างก็ต้องการระบายความทุกข์ที่อัดอั้นเก็บกด และหวังว่าจะมีใครสักคนที่รับฟังเขาอย่างมีเมตตากรุณา โดยไม่ตำหนิติด่า และไม่ต้องยัดเยียดความคิดใดๆทั้งสิ้น

สุนทรียสนทนา : ชนะร่วมกันอย่างสมานฉันท์

แม้ว่า “การสนทนา” คือชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ แต่หลายต่อหลายครั้งมันกลับไม่ได้เป็นไปอย่าง “สุนทรียะ” ซึ่งมักนำมาสู่ความขัดแย้งแตกคอ และแตกแยก หรือแม้แต่เกิดการห่างเหินเย็นชา รากเหง้าแห่งปัญหาก็คือ “ตัวตน” ที่ห่อหุ้มภายในใจของแต่ละคน เช่น การยึดมั่นถือมั่นในชนชั้น ฐานะ ตำแหน่ง วัยวุฒิ สังกัด หรือแม้แต่ความเชื่อส่วนบุคคล (ศาสนา การเมือง

ธรรมยาตรา : การดำเนินด้วยธรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ธรรม ธรรมะ[ทํา ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม คําสั่งสอนในศาสนาฯ ยาตร ยาตรา [ยาด, ยาดตฺรา] ก. เดิน, เดินเป็นกระบวน ธรรมยาตรา (ธรรม +

ราคาของการเปลี่ยนแปลง

ขอเดาว่าครั้งหนึ่งหรือหลาย ๆ ครั้งในชีวิตที่เราทุกคนต่างเคยคิดว่า “เอาล่ะ ฉันจะเปลี่ยนแปลงชีวิตฉันให้มีความสุขมากขึ้นเสียที” หลังจากนั้น อาจจะมีบางคนที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองจนสำเร็จ บางคนก็ยังรี ๆ รอ ๆ แล้วก็มีอีกหลายคนที่อาจจะลืมเลือนและไม่ได้ทำอะไรสักอย่าง อะไรคือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ใครสักคนลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเอง? และถ้าการเปลี่ยนแปลงในชีวิตตีเป็นราคาได้ เราคิดว่าราคาของมันจะสูงสักเท่าไร?

ความรักหล่นหาย หรือ เรามองไม่เห็น ?

มีใครบางคนเคยตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุของความยุ่งเหยิงและขัดแยังบนโลกใบนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดขึ้นเพราะพวกเราเป็นมนุษย์ที่ ‘ขาดความรัก’ ซึ่งก็น่าแปลกใจเหลือเกินว่า พวกเราพากันทำความรักหล่นหายไปที่ตรงไหน ? หรือแท้จริงแล้วความรักไม่ได้หาย…แต่เป็นตัวเราที่สัมผัสถึงมันไม่ได้เอง ? Jim George นักประพันธ์ชาวอเมริกันกล่าวไว้ว่า “Listening is an act of love.” แปลเป็นไทย ๆ

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save