
ความสัมพันธ์
ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์
ลานกีฬาพัฒน์
รู้จักหรือยัง?…..’ลานกีฬาพัฒน์’ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ให้ชาวกรุงได้มีพื้นที่ออกกำลังกาย พัฒนาใจ ท่ามกลางความเจริญและความสะดวกสบายของเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ในบางแง่มุมชาวกรุงก็อาจกลายเป็นผู้ด้อยโอกาสกับเขาได้เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องของการมีพื้นที่โล่งให้ขยับแข้งขยับขาออกกำลังกาย ลานกว้างสำหรับเล่นกีฬาหรือเพื่อจัดกิจกรรมในชุมชน นับวันพื้นที่เหล่านี้ดูจะยิ่งหายากเข้าไปทุกที พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล็งเห็นถึงปัญหานี้เช่นเดียวกัน จึงทรงมีแนวพระราชดำริให้มีการจัดสรรพื้นที่ให้ประชาชนในเมืองหลวงได้มีลานกีฬา เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะทั้งกายและใจ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ ‘ลานกีฬาพัฒน์’ ซึ่งมีความหมายว่า
ไม่มีเงินค่าเล่าเรียน ไม่เป็นไร….เรียนฟรี แค่ปลูกต้นไม้ 1 ต้น
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษา แม้ว่าพ่อแม่อาจไม่มีเงินส่งเสีย โรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในรัฐ Chhattisgarh ประเทศอินเดีย ให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองปลูกต้นไม้แทนค่าเล่าเรียน โดยพ่อแม่จะต้องดูแลต้นไม้นี้ให้ดีและปลูกต้นใหม่หากมันตายลง และแน่นอนว่ามันช่วยให้อากาศในท้องถิ่นดีขึ้นด้วย โรงเรียนนี้ชื่อว่า Shiksha Kuteer ตั้งอยู่ในเมือง Ambikapur มีนักเรียนอายุ 4-5 ขวบ จำนวน 35 คน กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่
นิทานสร้าง…..ได้
การรวมกลุ่มของครอบครัวที่มีความทุกข์คล้ายๆ กัน เปรียบเหมือนการสร้างเครือข่ายแห่งความห่วงใย เกิดเป็นพลังที่เกาะเกี่ยวเดินไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมีความสุข ไม่อ้างว้างหรือท้อแท้ “ทายสิคะ แม่ตุ่นกำลังจะเล่านิทานเรื่องอะไร?” ทันทีที่แม่ตุ่นชูมือที่ซ่อนไว้ข้างหลังออกมาให้เห็นทั่วกัน เสียงจ้อกแจ้กในห้องก็เงียบลง สายตาทุกคู่จับจ้องอยู่ที่มือของแม่ตุ่น ที่ตอนนี้ปรากฎหุ่นมือตัวนิ่มสีเขียวสด ใบหน้าเป็นรูปกบยิ้มทะเล้นส่งมา “เจ้าชายกบๆ…” หลายเสียงช่วยกันตอบ แม่ตุ่นยื่นหุ่นน้อยในมือไปหาเด็กหญิงคนหนึ่ง คุณแม่ของเด็กน้อยส่งสัญญาณบอกให้ลูกจุมพิตหุ่นน้อย เด็กน้อยจุ๊บเจ้าหุ่นอย่างเอียงอาย ตอนนั้นเองที่แม่ตุ่นพลิกหุ่นกลับอีกด้าน กลายเป็นเจ้าชายหนุ่มรูปหล่อ เรียกเสียงเสียงปรบมือจากทุกครอบครัว
เมื่อฝรั่งหันมาหยิบจอบแบกเสียมไปลงแขก
โลกนี้ใครกำหนด? ผมจำไม่ได้ว่าใครเป็นคนกำหนดประโยคนี้ขึ้นมา มันช่างเป็นคำถามที่น่าสงสัยและน่าสนใจดีเหลือเกิน ถ้าลองเหลียวหลังแลประวัติศาสตร์โลกในช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เราคงได้เห็นว่า โลกนี้หมุนไปโดยแรงเหวี่ยงของประเทศตะวันตก ชาวประเทศโลกที่สามอย่างพวกเรา (ซึ่งฝรั่งมังค่าเป็นคนจัดหมวดหมู่ให้)

ความสุขจากความสัมพันธ์ การร่วมแรงร่วมใจ เป็นชุมชน
วิถีสุขดั้งเดิม ช่วยส่วนรวม ส่วนรวมช่วยเรา การพึ่งพาอาศัยและร่วมแรงร่วมใจ เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีมานาน ความสุขเห็นได้จากใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส จากความใกล้ชิดสนิทสนมและความรักใคร่เอื้ออาทรของคนที่มาช่วยเหลือกัน