8 ช่องทางความสุข

ชุมชนนิเวศน์ : สถานพักผ่อนแห่งจิตวิญญาณ

โลกยุคดิจิตอล… ผู้คนส่วนใหญ่หลงใหลไปกับแสงสีเสียง เทคโนโลยี่ และวัฒนธรรมโซเชียลมีเดีย กระทั่งหลงลืมไปแล้ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน คืออะไร ? ไม่เข้าใจเรื่องการจัดการทรัพยากรให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่น

ในสิ่งที่ดูเหมือนจะรุดไปข้างหน้า ยังมีผู้คนอีกมิใช่น้อย ที่ไร้ความสุข ทั้งเหนื่อยทั้งเครียด ว้าเหว่อ้างว้าง เขาเหล่านั้นเริ่มใฝ่ฝันถึงชีวิตที่เรียบง่ายสงบเย็นดังเป็นมาแต่อดีต และยังคงอยู่แม้ปัจจุบัน ดังเช่นในชุมชนท้องถิ่นอันอบอุ่นไปด้วยความจริงใจไมตรี และนี่เองที่ยังผลให้ผู้คนทั้งต่างแดนและบ้านเรามุ่งสานฝัน สร้าง “วันที่เคยชื่น คืนที่เคยสุข” ให้หวนกลับมาอีกอย่างยั่งยืน

บัดนี้ได้ก่อเกิดชุมชนในฝันแห่งใหม่ขึ้นหลายที่ในโลกนี้ และซึ่งแต่ละแห่งล้วนมีเป้าหมายที่ชัดเจน ในการนำปรัชญา คุณค่าของชุมชนทั้งดั้งเดิมและรังสรรค์สิ่งใหม่เพื่อให้เป็นชุมชนแห่งความสุข ที่มีทั้งมิติทางนิเวศวิทยา รักษาความอุดมสมบูรณ์และงดงามของสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ หาเลี้ยงชีพด้วยแนวเศรษฐกิจพอเพียง ท่ามกลางชาวชุมชนที่เอื้อเฟื้อมีเมตตาอาทรต่อกัน เคารพต่อผู้อื่นและทุกชีวิตในโลก และนั่นคือสิ่งที่ทำให้ผู้คนมีความสนใจและนำ “ชุมชนก่อตั้งใหม่” ไปเป็นแรงบันดาลใจและเป็นแนวทางเพื่อสร้างชุมชนในฝันแห่งอื่นๆต่อไป

 

How …?

 

ชุมชนต่างๆ เหล่านั้นมักเกี่ยวข้องกับการเกื้อกูลสังคมด้านใดด้านหนึ่ง แม้ว่าโดยความตั้งใจดั้งเดิมของพวกเขาบางชุมชนเพียงต้องแสวงหารูปแบบชีวิตที่พึงปรารถนา ไม่ได้หมายมุ่งจะทำงานเพื่อสังคมแต่อย่างใด แต่ในภายหลังพวกเขาก็หันมาสนใจชุมชน/สังคมโดยรอบและกระทำการไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในการเกื้อกูลชุมชน สังคม ผู้คน หรือธรรมชาติ
– สุนิสา จำวิเศษ จากบทความ ชุมชนตั้งใหม่ในเมืองไทย

 

ตัวอย่างชุมชนก่อตั้งใหม่ ซึ่งเป็นต้นแบบชุมชนในฝันอีกแห่งหนึ่งที่น่าใจยิ่ง

“อาศรมวงศ์สนิท” โดยอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์เห็นว่าน่าจะมีสถานที่อันร่มรื่น เพื่อจะได้มีแหล่งพักผ่อนทางจิตวิญญาณ และมีวันแห่งสติร่วมกัน จึงได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2527 (ม.ร.ว.สายสวัสดี สวัสดิวัตน์ ได้บริจาคที่ดินบริเวณคลอง 15 อ.องครักษ์ จ.นครนายก จำนวน 34 ไร่ 2 งาน ให้แก่มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และได้ตั้งชื่อว่า“อาศรมวงศ์สนิท” ตามสร้อยพระนามของ ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท อันเป็นบิดาของผู้ผู้บริจาค)

ชุมชนแห่งความสุขและสมดุลแห่งนี้ คือฃุมชนทวนกระแสที่เป็นวิถีใหม่ที่เรียบง่ายใกล้ชิดธรรมชาติ มีกิจกรรมบำเพ็ญภาวนา ค้นหาพัฒนาศักยภาพของตน และกิจกรรมรับใช้ส่วนรวม เพื่อปลูกจิตสำนึกความเมตตาเอื้อเฟื่อต่อกัน

มีการถ่ายทอดให้ความรู้ “นิเวศน์ชุมชนสู่คนรุ่นใหม่” ด้วยตระหนักว่าเยาวชนคือพลังสำคัญในการขับเคลื่อน และร่วมสร้างสรรค์ สืบต่อภูมิปัญญา โดยนำคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสานกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์

อาศรมวงศ์สนิท มีบริการสถานที่ประชุมสัมมนาในอุดมคติของคนทำงานเพื่อสังคม เรียบง่ายอย่างชาวบ้านประสาน กับธรรมชาติ และสำเร็จประโยชน์รายได้ (ถ้ามี) เวียนกลับไปทำงานเพื่อสังคม

(ปัจจุบันมีเครือข่ายหมู่บ้านนิเวศน์ระดับสากล (Global Eco-village Network Gen) โดยมีคุณอาภาภร คำเจริญ เป็นผู้อำนวยการอาศรมวงศ์สนิท)

 

Where …?

 

  • อาศรมวงศ์สนิท
    20/5 หมู่ 3 ถนนรังสิตนครนายก คลอง 15 ต.คลองใหญ่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
    ตู้ปณ.11 องครักษ์ จ.นครนายก 26120
    โทรศัพท์ : 037-332-296 ถึง 7
    โทรศัพท์มือถือ : 084-350-0946
    website : www.wongsanit-ashram.org , www.semsikkha.org
    email : info@wongsanit-ashram.org
  • พันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง และศูนย์เมล็ดพันธ์
    ตู้ ปณ.5 อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150
    โทรศัพท์ : 081-470-1461
    email : punpun.farm@gmail.com สำหรับสมัครคอร์สภาษาไทยต่างๆ
    email : punpunvolunteers@gmail.com สำหรับอาสาสมัครระยะยาว / คอร์สอบรมเฉพาะกลุ่ม
    email : jonjandai@gmail.com สำหรับติดต่องานพี่โจ / คอร์สอบรมเฉพาะกลุ่ม
    website : http://thai.punpunthailand.org/index7019.html?page_id=101
    website : https://www.facebook.com/MaeJoBaanDin.EarthHomeThailand
    (โจน จันได ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตัวเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ โทรศัพท์ 081-470-1461)
  • โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา
    ๓๕ ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๐๐๐
    โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๔๔-๒๓๑
    โทรสาร : ๐๕๓-๓๐๖-๖๑๒
    email : sslanna@hotmail.com
    website : http://www.lannawisdoms.com
    website : http://www.gonorththailand.com/review_detail_570
    facebook : https://www.facebook.com/pages/โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา/318615254856108?fref=ts
  • สถาบันอาศรมศิลป์
    ๓๙๙ ซอยอนามัยงามเจริญ ๒๕ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐
    โทรศัพท์ : ๐๒-๔๙๐-๔๗๔๘-๕๔
    โทรสาร : ศึกษาศาสตร์ ๐๒-๔๙๐-๔๗๔๑
    website : http://arsomsilp.ac.th/th/contact/
    email : admin@arsomsilp.ac.th
    facebook : http://www.facebook.com/arsomsilp

 


 

แหล่งข้อมูล

ความสัมพันธ์

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save