
การภาวนา
การภาวนาไม่ได้หมายถึงการหลับตาทำสมาธิ หรือการเดินจงกรมเท่านั้น การภาวนาคือการพากายกับใจมาอยู่ด้วยกัน เราสามารถภาวนาได้เสมอ ทุกที่ ทุกเวลา เราจะอนุญาตให้ตัวเองมีเวลาจิบกาแฟเงียบๆ สัก 10 นาทีได้ไหม ภาวนากับถ้วยกาแฟของเรา ที่ไหนก็ได้ เราอาจจะนั่งเงียบๆ ตรงไหนสักแห่งตามลมหายใจไปพร้อมกับรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น รับรู้ความรู้สึกภายใน รับรู้เสียงภายนอก ปราศจากการต่อสู้และเปลี่ยนแปลง เหล่านี้คือการภาวนา
ลองกลับมารับรู้สิ่งที่เป็นอยู่ทั้งในตัวเราและนอกตัวเรา เราอาจจะพบว่าเรากำลังคิดวุ่นวาย เรากำลังรู้สึกหงุดหงิด เราไม่นิ่งเลย เมื่อเรารับรู้ ยอมรับ และยิ้มได้ นี่คือความสุขจากการภาวนา
ความสุขจากการภาวนา
เทคนิคการฝึกสติตลอดวันทำงานของคุณ
คุณอาจเคยมีประสบการณ์เช่นนี้ ตอนเช้าคุณมาถึงที่ทำงานพร้อมแผนการอย่างดีว่าจะทำอะไรบ้าง เวลาผ่านไปมารู้สึกตัวอีกทีก็ตอนกำลังเดินทางกลับบ้านแล้ว เวลากว่า 9 – 10 ชั่วโมงที่ผ่านไป คุณทำงานตามที่ตั้งใจไว้ได้ไม่กี่อย่าง หรือจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าได้ทำอะไรไปบ้างในแต่ละวัน ถ้าคุณเคยเป็นแบบนี้ก็ไม่แปลก เพราะงานวิจัยชี้ว่า คนทั่วไปใช้เวลาเกือบครึ่งหนึ่ง (47%) คิดถึงเรื่องอื่นมากกว่าสิ่งที่กำลังทำตรงหน้า หรือพูดง่าย ๆ คนส่วนมากทำสิ่งต่าง ๆ ไปตามความเคยชินโดยไม่รู้สึกตัว
ความเข้าใจผิดที่สำคัญสุดเกี่ยวกับความสุข
การพยายามมีความสุขเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่หลายคนไปปรึกษาจิตแพทย์ บางคนบอกว่าลองมาแล้วทุกอย่าง แต่ยังไม่พบกับความสุข หลายคนอ่านหนังสือและบทความมากมายว่าทำอย่างไรจึงจะมีความสุข แต่ก็ยังไม่มีความสุข และบางครั้งการตามหาความสุขก็กลับเป็นผลร้าย ทำให้เป็นทุกข์มากกว่าเดิมเสียอีก นั่นเป็นเพราะเรามีความเชื่อที่ผิด! ความเข้าใจผิดที่สำคัญสุดเกี่ยวกับความสุขคือ ความเชื่อที่ว่า การจะมีความสุขได้นั้นต้องพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดทุกวิถีทางให้ได้ แต่โดยความจริงแล้ว ความเจ็บปวดเป็นส่วนหนึ่งของการมีความสุข นักวิจัยพบว่ามันทำให้เกิดความสุขได้หลาย ๆ ทาง
สร้างสมดุลใจกายด้วย ‘โยคะ’
หากจะเอ่ยถึงกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่ได้รับความนิยม และได้รับความเชื่อมั่นว่าผู้ฝึกจะได้สมาธิจากการฝึกอย่างยิ่งยวด หนึ่งในนั้นจะต้องมีชื่อของ ‘โยคะ’ อยู่ในลำดับต้นๆ อย่างแน่นอน มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบว่า ‘โยคะ’ เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย 2,500 ปีก่อนพุทธกาล แรกเริ่มเดิมทีเป็นวิถีของพราหมณ์หรือโยคี ที่ใช้ในการฝึกฝนควบคุมจิตให้นิ่งจนเกิดเป็นสมาธิ โยคะในยุคแรกไม่มีท่าทางใดๆ มากที่สุดเป็นแต่เพียงการฝึกสำรวมร่างกายให้เกิดความสมดุลที่สุด เพื่อฝึกให้ลมหายใจหรือปราณเกิดภาวะ ‘นิ่ง’ ที่สุด เข้าสู่การเพ่ง ฌาน
เรียนรู้ใจในกายด้วย ‘ไท้เก๊ก’
การเคลื่อนไหวร่างกายพลิ้วไหวเนิบช้า ดุจดั่งท่วงท่าการร่ายรำของผู้สูงวัยที่เราเห็นกันจนคุ้นชินสายตาตามสวนสาธารณะ อาจทำให้เราเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปว่า ‘ไท้เก๊ก‘ เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้นเลย ไท้เก๊กเป็นศิลปยุทธ์จีนที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวทางกายที่ไม่ได้ใช้แรงปะทะ จึงเหมาะกับทุกเพศทุกวัย สามารถฝึกได้ตั้งแต่เด็กอายุ 3 – 5 ขวบ ความมหัศจรรย์ของไท้เก๊กยังอยู่ที่ผลของการฝึก ที่แม้จะฝึกด้วยรูปแบบเดียวกัน แต่ส่งผลได้ตั้งแต่ระดับการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง การเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ลึกไปจนถึงการฝึกให้เราเข้าถึงความสุขแท้จากภายในหรือ ‘สุขภาวะทางปัญญา‘ ครูบี
ใช้ใจแทนเงิน – Gift Economy
เมื่อปี 2012 Brice Royer นอนซมอยู่บนเตียงด้วยความเจ็บปวดอย่างมาก…และเขาคิดจะฆ่าตัวตาย ทุกวันนี้ความเจ็บปวดนั้นยังอยู่ มะเร็งในกระเพาะอาหารของเขาก็ไม่ได้เล็กลง แต่เขาไม่เคยมีความสุขมากเท่านี้มาก่อน เมื่อปีที่ผ่านมา เขาตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ คือ “ให้และรับโดยไม่ใช้เงิน” เพื่อที่จะสร้างชุมชนที่ไม่พึ่งพาเงินตราเพื่อการแลกเปลี่ยน อยู่กับความเจ็บปวดครั้งละ 1 นาที ย้อนกลับไปที่ปี 2012 หมอวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร และเมื่อความเจ็บปวดมีมากขึ้น