การภาวนา

การภาวนาไม่ได้หมายถึงการหลับตาทำสมาธิ หรือการเดินจงกรมเท่านั้น การภาวนาคือการพากายกับใจมาอยู่ด้วยกัน คุณสามารถภาวนาได้เสมอ ทุกที่ ทุกเวลา คุณจะอนุญาตให้ตัวเองมีเวลาจิบกาแฟเงียบๆ สัก 10 นาทีได้ไหม ภาวนากับถ้วยกาแฟ ที่ไหนก็ได้ อาจจะนั่งเงียบๆ ตรงไหนสักแห่งตามลมหายใจไปพร้อมกับรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น รับรู้ความรู้สึกภายใน รับรู้เสียงภายนอก ปราศจากการต่อสู้และเปลี่ยนแปลง เหล่านี้คือการภาวนา
ลองกลับมารับรู้สิ่งที่เป็นอยู่ทั้งในตัวและนอกตัว คุณอาจจะพบว่าคุณกำลังคิดวุ่นวาย กำลังรู้สึกหงุดหงิด ไม่นิ่งเลย เมื่อคุณรับรู้ ยอมรับ และยิ้มได้ คุณกำลังพบความสุขจากการภาวนา

 

บอดี้สแกน (Body Scan)

4 ขั้นตอนง่ายๆ พาใจและกายกลับสู่ปัจจุบัน

  1. หาที่นอนสบายๆ

นอนราบกับพื้นที่ไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป ไม่ต้องใช้หมอนหนุน ทิ้งน้ำหนักตัวลง ผ่อนคลายร่างกาย แยกปลายเท้าออกจากกันเล็กน้อย นอนแบบที่ให้ตัวเองสบาย

 

อ่านต่อ

 

 

เยียวยาใจด้วยเมตตา

  …ในวันที่น้ำตา ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของความเศร้า… ระยะนี้มีข่าวคราวการสูญเสียมาให้เราได้ยินได้ฟังติดต่อกันหลายข่าว ไม่ว่าใครเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความสูญเสียล้วนเป็นทุกข์ แม้เราเองแค่เป็นผู้ได้ยินข่าวบางครั้งก็ยังอดเศร้าสะเทือนใจไม่ได้ แต่ความจริงอีกด้านก็คือ เราทุกคนล้วนต้องเจอกับความสูญเสียไม่ช้าก็เร็ว คงจะเป็นเรื่องดีไม่น้อย ถ้าเราจะสามารถเปลี่ยนพลังลบจากความเศร้า ให้เป็นพลังบวกทั้งต่อชีวิตของเราและผู้อื่นได้ ต่อไปนี้คือบทความจากพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ที่ได้แนะนำแนวทางให้เราเยียวยาใจที่เป็นทุกข์จากความสูญเสียด้วยความเมตตา ให้เราเปลี่ยนความทุกข์ในใจ กลายเป็นพลังที่จะออกไปช่วยเหลือผู้อื่นให้คลายจากความทุกข์ และเมื่อนั้น…ความสุขในชีวิตของเราจะกลับมากี่ครั้ง

ภาวนากับความทุกข์

บอกสิ่งที่คุณทำเป็นอย่างแรกเมื่อเจอ ‘ความทุกข์’ ก. นั่งจ่อมจมขังตัวเองอยู่กับความทุกข์ ร้องไห้ให้สาสมใจ ข. พาตัวเองออกไปปาร์ตี้ยันสว่าง ราตรีเต็มไปด้วยสีสัน ค. ไปเม้าท์มอยกับเพื่อนฝูง กินบุฟเฟ่ต์ให้สาแก่ใจ ง. ออกไปผลาญเงินช้อปปิ้ง เทกันให้หมดกระเป๋า ถ้าใครพยักหน้าว่าเคยทำครบทุกข้อ แต่ก็ยังไม่เจอทางออกจากทุกข์เสียที วันนี้ชวนมาลองใช้วิธีใหม่เพื่อรับมือกับความทุกข์กันดีกว่า กับ นพ.สตางค์ ศุภผล

ใช้ชีวิตในทุ่งลาเวนเดอร์ – จะดีไหมถ้าคุณจะไม่รู้สึกเศร้าเสียใจอีกเลยในชีวิตนี้

ไม่มีใครชอบความเศร้าเสียใจ แต่ถ้าไม่มีมันโดยสิ้นเชิงชีวิตจะเป็นอย่างไร เรามารู้จักชายที่ไม่รู้จักความเศร้าเสียใจกัน เขาชื่อ Malcolm Myatt ชาวอังกฤษที่เกษียณอายุจากงานขับรถบรรทุกมาหลายปีแล้ว ในอดีตเขาเล่นกีฬาและมีสุขภาพดีมาตลอด แต่เมื่ออายุได้ 62 โรคเส้นเลือดในสมองเขากำเริบและสมองขาดเลือด เขาใช้เวลารักษาตัวในโรงพยาบาลนานถึง 19 สัปดาห์ สุดท้าย เขาสูญเสียการควบคุมร่างกายด้านซ้ายไปและยังสูญเสียความทรงจำระยะสั้นอีกด้วย แต่เขายังจดจำเรื่องราวในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อนได้ดีเยี่ยม แต่สิ่งที่น่าแปลกประหลาดที่สุด

‘ธนูโพชฌงค์’ ธนูพิชิตใจ

เมื่อพูดถึงการยิงธนู ส่วนใหญ่ภาพที่เรามักนึกถึงคือ กีฬาที่เน้นการแข่งขัน มุ่งไปที่การเล็ง ยิงให้แม่น เพื่อชัยชนะและพิชิตเป้าหมาย แต่เชื่อไหมว่า ยังมีการยิงธนูอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการยิงที่ไม่เน้นเป้า ไม่เน้นแม่น ไม่เน้นแข่ง แต่เน้นยิงแล้ว ‘จิตว่าง‘พิชิตเป้าหมายคือความสุขในใจ ธนูนี้มีชื่อว่า ‘ธนูโพชฌงค์‘ คำว่า โพชฌงค์ คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงบทสวดที่ไว้สวดตอนพระอาพาธ แต่จริงๆ แล้วความหมายของโพชฌงค์นั้น

หาความสงบได้อย่างไร เมื่อใจไม่เคยหยุดคิด

  ทำใจให้ว่างแล้วจะสงบ? ยากกกส์ เรามีวิธีอื่นที่ดีกว่าและง่ายจริงๆ   ทุกคนอยากมีใจที่สงบ หลายคนมองเห็นชัดว่าความคิดในหัว ทำให้เราไม่สงบ จึงพยายามกำจัดหรือหยุดความคิด   หลายคนที่เริ่มฝึกการทำสมาธิมีความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งว่า เราสามารถฝึกให้จิตปราศจากความคิดใด ๆ ได้โดยสิ้นเชิง…ไม่ว่าจะทำการทำงานอะไรก็ไม่มีความคิดเลย มีแต่ความปลอดโปร่ง สบาย และในสภาพเช่นนั้นคงมีความสงบสุขน่าดู แต่จริง ๆ แล้วธรรมชาติของจิตนั้นเต็มไปด้วยความคิดตลอดเวลา

เส้นทางความสุข : การเคลื่อนไหวร่างกาย

ถ้าเราทำความเข้าใจกับเนื้อตัวร่างกายของเราเองอย่างลึกซึ้ง จะเห็นว่าร่างกายที่มันขับเคลื่อนไปนี้มีสิ่งซึ่งสถิตอยู่ข้างในก็คือ ‘ใจ’ ทำอย่างไรให้กายกับใจอิงอาศัยซึ่งกันและกันอย่างเกื้อกูล ตั้งแต่เราเริ่มจำความได้ นับจากวัยเด็กเล็กที่เริ่มเรียนรู้จักร่างกาย ตลอดชีวิตที่ผ่านมาเราเฝ้าสาละวนแต่งเสริมเติมสวยให้อวัยะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เราอยากแข็งแรง อยากสูง อยากผอม อยากดูดีในสายตาของคนอื่นๆ….แต่จะมีสักครั้งไหม ที่เราจะหันมาตระหนักว่า แท้จริงแล้วร่างกายนี้คือพื้นที่อันเป็นที่อยู่ของ ‘ใจ’ ซึ่งเราควรจะเฝ้าดูแลและพิจารณาเพื่อให้นำทางเราไปถึงซึ่งความสุขที่ยั่งยืน

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save