ความสัมพันธ์

ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์

3 เทคนิค ฟังให้ Deeeeeeep

 

ฟังอย่างผ่อนคลาย

 

เมื่อจะฟังใครพูด ตั้งสติให้ดี เราจะฟังเท่านั้น ไม่ขัด ไม่ถาม ไม่แทรก ไม่เออออ ไม่ยุยงส่งเสริม ฟังให้เขาพูดจนจบ เมื่อให้เรารับรู้ข้อความทั้งหมดอย่างแท้จริง และสังเกตตัวเองด้วยว่า เรารู้สึกอย่างไร เรามีปฏิกริยาอย่างไร เช่น มือสั่น เราไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือโกรธ หายใจเข้าออกลึกๆ รับรู้ตัวของเรา และฟังต่อไป

 

อ่านต่อ

 

 

7 วิธี สู่การผู้สูงอายุที่มีความสุข

ลองชวนผู้สูงอายุคุยไปตามหัวข้อเหล่านี้ และถ้ามีโอกาสก็ชวนให้ลงมือทำ แบบฝึกหัดนี้มี 7 ข้อ 10 คะแนน ลองใช้แบบฝึกหัดนี้เป็นการเก็บแต้มรายวัน ลองดูว่า เมื่อได้ลองทำไปสักพัก แบบฝึกหัดนี้จะให้ผลอย่างไร

เลี้ยงรักให้เติบโต

ไม่มีใครรู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างในความสัมพันธ์ พันธะสัญญาก็เรื่องหนึ่ง แต่การดำเนินไปในชีวิตประจำวันก็อีกเรื่อง — แต่หากเรารู้ว่าความสัมพันธ์นั้นแสนเปราะบาง เราก็เลือกได้ที่จะรักษา ชื่นชม หรือปล่อยปละละเลย

ล้มแล้วลุกยืนขึ้นใหม่ แต่ถ้ายืนไม่ไหวขอความช่วยเหลือยังไงดี?

ในชีวิตคนเราล้วนพบเจอปัญหาด้วยกันทั้งนั้น บางคนล้มแล้วลุกยืนขึ้นใหม่ได้ ใช้เวลาผ่านปัญหาไม่นาน บางคนก็จมอยู่กับปัญหาหลายปี ล้มแล้วกว่าจะลุกได้ก็นาน และก็คงปฏิเสธได้ยากว่าการผ่านปัญหาบางครั้ง ถ้าไม่สามารถผ่านได้ด้วยตัวเอง ก็มาด้วยการขอความช่วยเหลือจากใครสักคน

วิธีสร้างความสัมพันธ์กับลูกวัยทีน ฉบับที่ไม่มีใครต้องเจ็บปวด

ความสัมพันธ์กับลูกของคุณในตอนนี้เป็นอย่างไร?คุณแอบเผลอเอาความคาดหวังของตัวเองไปให้ลูกหรือเปล่า?

เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กๆ

ทุกชีวิตต้องการความปลอดภัย เด็กทุกคนต้องการพ่อแม่ที่ปลอดภัย บ้านที่ปลอดภัย พ่อแม่จำนวนหนึ่งจึงพยายามเลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิดมาก ปกป้องลูกจากทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจทำให้ลูกผิดหวัง หรือเจ็บตัว แต่นี่คือการเลี้ยงดูที่ช่วยให้ลูกแข็งแรงจริงหรือ

5 วิธีจัดการความเหงา ภัยสุขภาพระดับโลก

• WHO องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ความเหงาเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพระดับโลก อันตรายเท่าการสูบบุหรี่ 15 มวน ต่อวัน• ความเหงาเป็นปัญหาที่ร้ายแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนทุกวัย และมีผลการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ พบว่า ความเหงา การขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ• คณะกรรมาธิการของ WHO กำลังทำงาน เพื่อการเชื่อมต่อทางสังคม โดยทำงานเป็นเวลา 3

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save