การทำงาน

บ่อยครั้งที่เราอาจจะรู้สึกว่าการงานทำให้เราเครียดและเบื่อหน่าย เราจะเข้าใกล้ความสุขได้ก็ต่อเมื่อถึงวันหยุดหรือได้ลาพักร้อน แต่แท้ที่จริงแล้วการงานคือคุณค่าที่เราสร้าง การทำงานเป็นรูปธรรมที่เรากำลังสร้างสรรค์ให้แก่โลก ถ้าเราได้เห็นว่างานของเรากำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ทำให้หลายชีวิตมีความสุขมากขึ้น เราก็จะกลับมาชื่นชมกับงานตรงหน้า และรู้ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจ โลกกำลังดีขึ้นเพราะงานที่เราทำ
เรามีความสุขได้ในขณะกำลังทำงาน ผ่อนลดความคิดความคาดหวังผลลัพธ์ มองเห็นความสนุกสนานในความท้าทาย มองเห็นความพยายามจากการจัดการกับอุปสรรค และชื่นชมตัวเองกับการเอาใจใส่ในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ตรงหน้า

สร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยความมั่นคงภายใน

ชัดเจนว่า ชีวิต ความรู้สึก ความพอใจ ความไม่พอใจ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เกิดจากประสบการณ์ในอดีต เมื่อเข้าใจและเห็นชัดว่ามันมาจากอดีต เราก็สามารถกลับไป complete และเป็นอิสระจากอดีตได้ปัจจุบันแนนรู้จักตัวเองมากขึ้น รู้เท่าทันความรู้สึกความต้องการของตัวเอง

จากมหาบัณฑิตสู่ชีวิตชาวนาผู้ปลูกข้าวให้นกกิน

เรื่องและภาพ : “ร. อาทิตย์อุทัย” ข้าพเจ้าเดินไปยังท้องนาที่มีน้ำเจิ่งนอง มองไม่เห็นต้นข้าว เพราะเมื่อข้าวเริ่มงอก ฝนก็ตกแทบทุกวัน จนน้ำท่วมมิดยอดข้าว มหาบัณฑิตชาวนายืนมองน้ำเจิ่งนองด้วยดวงตาของคนที่เข้าใจโลกและชีวิต

ชีวิตกับเมล่อนผู้โชคดี

เรื่องและภาพ : ฐปกร ลิขิตนภาเวทย์ ซึ่งบางสิ่งดูคล้ายไม่จำเป็น และหลายขั้นตอนคล้ายไม่สำคัญ ทว่าความจริงล้วนพิสูจน์แล้วว่าทุกสิ่งนั้นสำคัญเกินกว่าที่เราเข้าใจ

ความสุขไร้กรอบเพศภาวะของอวยพร เขื่อนแก้ว

เมื่อเอ่ยชื่ออวยพร เขื่อนแก้ว นักสตรีนิยมในสังคมไทยคงคุ้นหูกันดี เพราะผู้หญิงคนนี้ก้าวเดินบนถนนสายนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศมานานกว่าสามสิบปีแล้ว ความสนใจเรื่องประเด็นผู้หญิงของเธอเริ่มขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน ตอนที่รัฐบาลออกนโยบายตั้งกลุ่มแม่บ้านทั่วประเทศ ทำให้เกิดคำถามในใจว่า “รัฐบาลตั้งกลุ่มแม่บ้านนี่มันส่งผลต่อชีวิตผู้หญิงไหม คำตอบที่พบคือมันไม่ได้ช่วย แต่มันผลักให้ผู้หญิงไปอยู่ในกรอบการเป็นภรรยาเป็นแม่ที่ดี ไม่ได้สนับสนุนผู้หญิงให้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ทางการเมือง สังคมและการทำงานที่ดีขึ้น” นโยบายนั้นจุดประกายให้เธอหยิบหนังสือเกี่ยวกับสิทธิสตรีขึ้นมาอ่าน “นั่นเป็นครั้งแรกที่อ่านหนังสือเฟมินิสต์ พออ่านก็ยิ่งชัด เราเห็นความไม่เป็นธรรมทางเพศมาตั้งแต่เล็กๆ ได้เรียนรู้กับเพื่อนเฟมินิสต์ตะวันตกที่เขาจริงจังเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสิทธิสตรี ซึ่งบ้านเรายังไม่มีขบวนการเคลื่อนไหวเรื่องนี้เลย

ลมหายใจแห่งความสุขของครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ

เมื่อเอ่ยชื่อครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีปและเจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะปี 2521   หลายคนคงนึกถึงผู้หญิงตัวเล็กแววตามุ่งมั่นกล้าต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวชุมชนแออัดหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “สลัมคลองเตย”  ตลอดเวลากว่าห้าสิบปีที่ผ่านมา ผู้หญิงคนนี้ทำหน้าที่ “ครู” ทุกลมหายใจเข้าออก เฝ้ามองหาโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้นให้กับเด็กด้อยโอกาสมากที่สุดของเมืองหลวง เพราะรอยยิ้มของเด็กๆ เป็นดั่งอากาศอันสดใสที่ทำให้ทุกเช้าวันใหม่เริ่มต้นด้วยความสุขและมีกำลังใจต่อสู้เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของคนด้อยโอกาสมาตลอดชีวิตของครูวัยกว่าหกสิบปีท่านนี “เราพยายามแสวงหาช่องทางที่จะช่วยบรรเทาปัญหาของผู้ยากไร้ อยากทำสิ่งที่ขาดหายไปจากสังคมไทย คือความเท่าเทียมกันในสังคม”

ความสุขจากการมองโลกด้วยหัวใจของ “ต่อพงศ์ เสลานนท์”

“พ่อแม่ที่มีลูกย่อมหวังจะได้พึ่งพิงยามแก่เฒ่า แต่ความหวังนี้ได้พังทลายลงหลังจากผมกลายเป็นคนตาบอด  ผมรู้สึกกดดันเพราะไม่อยากเป็นภาระให้ครอบครัว และไม่อยากให้ทุกคนหมดหวัง  มันเป็นจุดสะเทือนใจ แต่ขณะเดียวกันมันก็ทำให้ผมมีจุดหมายว่าผมต้องกลับมาเป็นที่พึ่งของพ่อแม่และคนรอบข้างให้ได้” ต่อพงศ์ เสลานนท์ หรือ “เติ๊ด” บุตรชายคนสุดท้องของครอบครัวเสลานนท์บอกเล่าเหตุการณ์ที่พลิกผันชีวิตครั้งสำคัญจากเด็กหนุ่มตาดีสู่เด็กหนุ่มตาบอดในวัยเพียง 16 ปีจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อเดือนมกราคมปี 2535  ในวันนั้นเขารู้สึกเหมือนกำลังตกอยู่ในก้นบึ้งหุบเหวลึกที่มองไม่เห็นแสงสว่างจากขอบฟ้าส่องลงมาแม้เพียงนิดเดียว

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save