การสัมผัสธรรมชาติ

เมื่อพูดถึงธรรมชาติเรามักนึกถึงป่า ภูเขา ทะเล สวนสาธารณะ หรือการดูดาว การได้ใช้เวลาให้กับสิ่งเหล่านี้เป็นระยะๆ ย่อมดีต่อใจเรา แต่หากเราใช้ชีวิตในเมืองและไม่มีโอกาสแบบนั้น เราก็ยังสามารถสัมผัสธรรมชาติได้ตลอดเวลา เพราะธรรมชาติอยู่ใกล้เรากว่าที่คิด
ลองให้เวลากับตัวเองสัก 5 นาที มองต้นไม้ใบหญ้าใกล้ตัว ชมดอกไม้ เงยหน้ามองฟ้า วางโทรศัพท์มือถือแล้วฟังเสียงที่เกิดขึ้นรอบตัว เสียงลม เสียงของความเงียบ หรือเสียงของความคิด ลองเปิดดวงตา เปิดหู เปิดประสาทสัมผัสของเราให้รู้จักผืนดิน ไอแดด หยดน้ำ สิ่งเหล่านี้คือการได้สัมผัสกับธรรมชาติ

ถ่ายรูปท้องฟ้า 5 ขั้นตอน ใน 7 วัน

 

ท้องฟ้าไม่เคยเหมือนกันเลยสักวัน และเรากำกับท้องฟ้าไม่ได้ บางวันท้องฟ้าสีคราม บางวันฟ้าหม่น บางวันฟ้าใส บางวันเมฆเยอะ บางวันมีพระอาทิตย์ทรงกลด

 

อ่านต่อ

 

 

พักใจในสวน

Park ใจ เป็นกิจกรรมที่เปิดประสาทสัมผัส ให้เราอยู่กับสิ่งตรงหน้า ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย แต่มันอาจจะไม่มีอะไรเลยถ้าไม่เปิดใจ ถ้าคิดว่า รู้แล้ว เคยทำแล้ว อย่างนี้อีกแล้ว เหมือนเดิมนั่นแหละ การเปิดใจคือเปิดโอกาสให้ตัวเองได้สัมผัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้าจริงๆพักใจในสวน

4 หลักสำคัญ เพื่อ เที่ยวให้เป็น

การไปเที่ยว เป็นโอกาสของการพัก ได้ชาร์ตแบต เติมพลัง เปิดหูเปิดตา แต่จะเกิดผลลัพธ์อย่างนี้ได้ เราจะต้องเที่ยวให้เป็น เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ ‘หมดแรงหลังเที่ยว’ ‘หยุดเหมือนไม่ได้หยุด’ ‘กิจวัตรเหมือนเดิมเพิ่มเติมคือเหนื่อยกว่า’ — ถ้าเราเที่ยวเป็น เราจะเห็นโลกกว้าง เห็นตัวเองและเพื่อนมนุษย์ด้วยสายตาใหม่ๆ เราจะได้ชาร์ตพลัง

พัฒนาจิตสุขภาวะทางปัญญาธรรมชาติฮีลใจถ่ายรูปเยียวยา

ถ่ายรูปท้องฟ้า เยียวยาใจ

ใจคนก็คงไม่ต่างกับท้องฟ้าเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา รวมถึงตัวฉันเองด้วย เราไม่สามารถควบคุมอะไรไม่ได้เลย แม้จะถ่ายรูปเก็บไว้เผลอแป๊ปเดียวท้องฟ้าก็เปลี่ยนสี เปลี่ยนไป ฉันเรียนรู้ที่จะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง

มีต้นไม้เป็นเพื่อน

ต้นไม้ทุกต้นที่อยู่บนโลกนี้เป็นเพื่อนกับมนุษย์ คือเพื่อนของเรา ทุกลมหายใจออกของเราเป็นให้ประโยชน์แก่ต้นไม้ ทุกลมหายใจออกของต้นไม้ให้ประโยชน์แก่เรา — ถ้าตอนนี้รู้สึกโดดเดี่ยว ขาดเพื่อน ขอให้สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ทุกลมหายใจเข้ามีความรักของต้นไม้อยู่

อาบป่า อาบใจ

หลายคนอิจฉาคนที่ทำงานอยู่ในป่าว่าเขาอยู่ในพื้นที่อันสงบ เงียบ สงัด สบาย แต่มันอาจจะไม่ใช่อย่างนั้นก็ได้ ถ้าเชื่อมโยงตัวเองกับธรรมชาติไม่เป็น — คนที่ทำงานในป่าเป็นซึมเศร้าก็หลายคน พร้อมกันนั้นหลายๆ คนก็หายป่วยจากซึมเศร้าเมื่อได้เข้าป่าเช่นกัน – ถ้าคนที่อยู่ในธรรมชาติไม่มีทักษะที่จะใช้ศักยภาพของธรรมชาติเพื่อเยียวยา มันก็น่าเสียดาย

นิทานต่างวัย

ถนนแห่งความทรงจำและจินตนาการทอดยาวไกลไร้ที่สิ้นสุด สิ่งดี ๆ ที่สร้างร่วมกัน เป็นช่วงเวลาแห่งความทรงจำที่อยู่เหนือกาลเวลา — ขอเชิญอ่านประสบการณ์จากค่ายนักเล่าความสุข ของมนุษย์ต่างวัย เมื่อช่องว่างระหว่างวัย กลายมาเป็นประสบการณ์การทำงานร่วมที่น่ารักน่าเอ็นดู

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save