ศิลปะ

ศิลปะเป็นของเราทุกคนและไม่ต้องมีรูปแบบตายตัว อาจจะเป็นเรื่องท้าทายถ้าเราจะลองเล่นสีน้ำสักครั้ง หรือปักผ้า จัดแจกัน หรือทำภาพปะติด เราลองเล่นสนุกกับศิลปะได้โดยไม่คาดหวัง ลองระบายสีโดยไม่พยายามให้มันสวยงามสมบูรณ์แบบ ลอง และ เล่น — เราวาดรูปเพราะเราอยากเคลื่อนนิ้วมือ จัดดอกไม้เพราะดอกไม้สวยงามเพียงพอที่จะอยู่ในแจกัน สิ่งเหล่านี้คือศิลปะและเป็นความสุข
ถ้ารูปที่วาดในวันนี้ไม่สวยเลย อย่าเพิ่งขยำทิ้ง ลองบันทึกสั้นๆ หลังรูปแล้วเก็บไว้ อีกสักสัปดาห์หรือสักเดือน ลองหยิบรูปขึ้นมาดูใหม่ เราอาจจะยิ้มได้เมื่อเห็นตัวเองผ่านงานศิลปะฝีมือเรา

 

ในแต่ละวัน เราเจอความรู้สึกมากมาย หลายความรู้สึกก็บรรยายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ คงจะดีถ้าเราได้ทบทวนความรู้สึกผ่านสี ว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้างกับเราและมันทำให้ใจของเราเป็นอย่างไร

 

5 ขั้นตอน การบันทึกความรู้สึกด้วยสี

  1. ผ่อนคลาย ขอให้นั่งนิ่งๆ สักครู่ ลองทบทวนว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้างตั้งแต่ตื่นจนถึงขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจหรือเรื่องที่เข้ามากระทบใจ
  2. เลือกสี เลือกหยิบสีที่ตรงกับความรู้สึกของวันนี้ อาจจะมีมากกว่า 1 สีก็ได้

 

 

อ่านต่อ

 

 

 

ความสุขจากการถ่ายภาพธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

 โลกยุคดิจิทัลทุกวันนี้ทำให้ทุกคนกลายเป็นช่างภาพกันแทบจะทุกอิริยาบถกันเลยทีเดียว แต่ถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่า ภาพถ่ายส่วนใหญ่ที่เราถ่ายมักจะ “ถูกจัดวาง” ทั้งท่วงท่านายแบบนางแบบ หรือองค์ประกอบฉากเพื่อความสวยงาม ถ้าไม่ถูกใจก็จะกดถ่ายใหม่กันได้ทันที ภาพถ่ายเหล่านี้จึงถูก “ปรุงแต่ง” ด้วยความรู้สึกของช่างภาพจนกว่าจะพอใจ ทว่า หากใครได้ลองฝึกถ่ายภาพแบบ Contemplative Photography หรือภาพถ่ายที่ “ไร้การปรุงแต่ง” ดูแล้วละก็  คุณจะได้สัมผัสกับความรู้สึกถ่ายภาพในมุมใหม่และภาพถ่ายที่ดูเหมือนธรรมดาจะกลายเป็นภาพถ่ายที่ไม่ธรรมดาไปได้เช่นกัน อาจารย์นิตยา เกษมโกสินทร์ เป็นคนหนึ่งที่หลงใหลการถ่ายภาพแนวนี้มานานหลายปี

โนรา…รอยยิ้ม…และการโบยบินของผีเสื้อวัยเยาว์

อย่าให้ชุมชนขาดศิลปะ เพราะศิลปะช่วยขัดเกลาจิตใจคนให้มีความสุขได้ เสียงกลอง ฉิ่ง ฉับ กรับ โทน ที่ประสานกันดังขึ้นจากฝีมือการบรรเลงของกลุ่มผู้สูงอายุ ส่งเสียงเรียกร้องให้สายตาหลายคู่หันไปจับจ้องด้วยความสนใจ หลายครอบครัวจูงลูกจูงหลานเดินยิ้มร่าเข้าไปให้กำลังใจถึงหน้าเวทีจำลองเล็ก ๆ ที่เป็นเพียงแผ่นไม้ยกสูงขึ้นกว่าสนามหญ้าเพียงไม่กี่นิ้ว เสียงปรบมือดังขึ้นรัวเมื่อเพลงพื้นบ้านภาคใต้เพลงสุดท้ายบรรเลงจบ ก่อนที่รอยยิ้มผู้ชมจะคลี่บานขึ้นอีกครั้ง พร้อม ๆ กับการมาถึงของเด็กหญิงตัวน้อยผู้ออกมาทั้งร้องและร่ายรำท่วงทำนอง ‘โนรา’ ศิลปะประจำถิ่นของภาคใต้ เทริดน้อย

ความสุขเท่าปลายเข็มของผู้ชายปักผ้าสไตล์ชนเผ่า

ยุคนี้ถ้าใครเห็นผู้ชายกำลังนั่งปักผ้า เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงเข้าใจว่าชายผู้นี้มีแนวโน้มเป็นเพศที่สามมากกว่าชายจริงหญิงแท้อย่างแน่นอน แต่สำหรับผู้ชายร่างท้วม ผมหยักศก แต่งตัวสไตล์ชาวเมืองเหนือ ชื่อจริงว่า “สุทธิพงศ์ รินจ้อย” หรือ “เอก (อ้วน)”  คนนี้แล้ว   นอกจากเขาจะมีดีกรีเป็นขาโจ๋ อดีตนักเรียนช่างกลแล้ว ปัจจุบันยังเป็นพ่อลูกสองและเป็นครูถ่ายทอดวิชาปักผ้าชนเผ่าให้กับคนที่สนใจอย่างภาคภูมิใจในความเป็นลูกผู้ชายเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ก่อนหน้าที่เขาจะเริ่มต้นจับเข็มปักผ้าครั้งแรกเมื่อเจ็ดปีก่อน เขาเคยทำงานอยู่กับองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอทางภาคเหนือ  ทำให้มีโอกาสได้พบเห็นเสื้อผ้าชนเผ่าลวดลายปักสวยงามอยู่รอบตัว เมื่อภรรยาเปิดร้านกาแฟอยู่ในร้านขายสินค้าพื้นเมืองที่มีสินค้าชนเผ่าขายด้วย เขาจึงเริ่มมีครูสอนปักผ้าคนแรกจากร้านขายสินค้าแห่งนี้

เยียวยาหัวใจด้วยศิลปะบำบัดกับครูเชอรี่

“กฎของการทำงานศิลปะวันนี้มีอย่างเดียว คือ ทำอะไรก็ได้ที่มันไม่สวย” เสียงผู้นำกิจกรรมหญิงชี้แจงกฎกติกา ใครบางคนตะโกนถามกลับมาว่า “ถ้าบังเอิญทำแล้วสวยล่ะ” “ถ้าอย่างนั้นก็ช่วยไม่ได้” คนยืนหน้าห้องตอบกลับด้วยรอยยิ้ม บรรยากาศในห้องจึงเปลี่ยนจากความกังวลใจอบอวลไปด้วยเสียงหัวเราะแทน ทุกคนเริ่มละเลงสีน้ำลงบนแผ่นกระดาษอย่างอิสระ หมดห่วงเรื่อง “ความสวยงาม” ต่างคนต่าง “ระบาย” เรื่องราวปมในใจผ่านสีสันบนแผ่นกระดาษ จนกระทั่งได้ผลงาน “สวยในแบบของตนเอง” พร้อมกับหัวใจที่โปร่งเบาสบายมากขึ้น “หัวใจของการทำศิลปะบำบัดคือการใช้อวัจนภาษา แต่คนไทยเรามักติดกรอบคำว่า

ค้นหาตัวตนผ่านศิลปะงานต่อผ้า

ถ้าใครเคยลองนำเศษผ้าเล็กๆ หลายชิ้น รูปร่างและขนาดแตกต่างกันมาเย็บต่อกันไปเรื่อยๆ ตอนแรกเราอาจนึกไม่ออกว่า สุดท้ายผ้าเล็กๆ ทั้งหมดจะกลายเป็นภาพอะไร หรือ ถ้าใครลองนำชิ้นผ้าขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากันหมดมาต่อกันให้เป็นผ้าห่มผืนใหญ่ เราก็จะพบว่าเศษผ้าชิ้นเล็กๆ เหล่านั้นได้กลายเป็นลวดลายใหม่บนผ้าห่มผืนใหญ่ให้เราห่มนอนอย่างน่าอัศจรรย์ นี่คือเสน่ห์ของงานต่อผ้าที่ใครได้ลองสัมผัสดูแล้วจะรู้สึกสนุก ตื่นเต้น ตอนที่เห็นชิ้นผ้าเล็กๆ เรียงรายต่อกันเพื่อสร้างจินตนาการไม่รู้จบ บางคนอาจนำเศษเสื้อผ้าของคนในครอบครัวที่ไม่ได้ใส่แล้วมาต่อกันจนเป็นกระเป๋า ของแต่งบ้าน หรือข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เศษผ้าเหล่านั้นก็เหมือนถูกชุบชีวิตขึ้นมาใหม่และมีคุณค่าใหม่สำหรับทุกคนในครอบครัว

ความสุขลงตัวเมื่อเจอจุดสมดุล

ธันวา พงษ์วุฒิประพันธ์ นักออกแบบผู้คร่ำหวอดในวงการออกแบบตราสินค้าและภาพลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ให้กับสินค้าชี่อดังหลากหลายในนามบริษัท FiF House ผ่านการเดินทางบนเส้นทางนักออกแบบมาแล้วกว่า 20 ปี จนเริ่มตกผลึกความคิด เข้าใจแก่นของอาชีพนักออกแบบ และนำมาถ่ายทอดผ่านบทสนทนาในวันนี้

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save