ศิลปะ

ศิลปะเป็นของเราทุกคนและไม่ต้องมีรูปแบบตายตัว อาจจะเป็นเรื่องท้าทายถ้าเราจะลองเล่นสีน้ำสักครั้ง หรือปักผ้า จัดแจกัน หรือทำภาพปะติด เราลองเล่นสนุกกับศิลปะได้โดยไม่คาดหวัง ลองระบายสีโดยไม่พยายามให้มันสวยงามสมบูรณ์แบบ ลอง และ เล่น — เราวาดรูปเพราะเราอยากเคลื่อนนิ้วมือ จัดดอกไม้เพราะดอกไม้สวยงามเพียงพอที่จะอยู่ในแจกัน สิ่งเหล่านี้คือศิลปะและเป็นความสุข
ถ้ารูปที่วาดในวันนี้ไม่สวยเลย อย่าเพิ่งขยำทิ้ง ลองบันทึกสั้นๆ หลังรูปแล้วเก็บไว้ อีกสักสัปดาห์หรือสักเดือน ลองหยิบรูปขึ้นมาดูใหม่ เราอาจจะยิ้มได้เมื่อเห็นตัวเองผ่านงานศิลปะฝีมือเรา

 

ในแต่ละวัน เราเจอความรู้สึกมากมาย หลายความรู้สึกก็บรรยายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ คงจะดีถ้าเราได้ทบทวนความรู้สึกผ่านสี ว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้างกับเราและมันทำให้ใจของเราเป็นอย่างไร

 

5 ขั้นตอน การบันทึกความรู้สึกด้วยสี

  1. ผ่อนคลาย ขอให้นั่งนิ่งๆ สักครู่ ลองทบทวนว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้างตั้งแต่ตื่นจนถึงขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจหรือเรื่องที่เข้ามากระทบใจ
  2. เลือกสี เลือกหยิบสีที่ตรงกับความรู้สึกของวันนี้ อาจจะมีมากกว่า 1 สีก็ได้

 

 

อ่านต่อ

 

 

 

สุขเมื่อได้ทำ

ถ้าเราอยู่ระดับ 1 แต่เปรียบเทียบกับระดับ 10 เราจะไม่มีความสุขเลย เพราะจินตนาการ รสนิยมของเรา กับทักษะที่มีในปัจจุบันมันไม่ไปด้วยกัน สิ่งสำคัญที่จะช่วยเราได้คือจำไว้ว่า แม้จะอยู่ระดับ 1เราก็มีความสุขได้ สนุกที่ได้ลงมือทำ

มาลัยใกล้ครัว

ถ้าสังเกตมากขึ้น จะเห็นความสวยความงามของสิ่งรอบๆ ตัวมากขึ้น มองสิ่งเล็กๆ ที่เราเคยมองผ่าน — จริงๆ แล้วมีความสวยงามรายรอบตัวเราเต็มไปหมดนะคะ ถ้าเราจะเห็น

ความสุขของผู้อยู่ข้างหลังภาพ

เรื่องและภาพ : ปิยรัตน์ แซ่อึ้ง เมื่อเดินเข้าสู่พื้นที่ด้านในของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ผู้มาเยือนจะเห็นภาพวาดใส่กรอบอย่างดีแขวนอยู่ ณ มุมต่างๆ เช่น ชานพักบันได ห้องสมุด และหากมีพื้นฐานความรู้ด้านศิลปะก็คงทราบว่าเป็นภาพวาดชื่อดังระดับโลก

สิ่งดีๆ ในชีวิต

เรื่องและภาพ : เพชรรัตน์ ทรัพย์ทวีบูรณ์ “ความสุขคืออะไร” คำถามนี้ยากมากที่จะตอบออกมาแบบตรงๆ เพราะความสุขของคนเราไม่เหมือนกัน มันเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ และบางครั้งมันก็เกิดขึ้นโดยเราไม่รู้ตัว

จากเด็กท้องนาสู่อาจารย์สอนศิลปะเพื่อชุมชน

“คนที่มาเป็นครูส่วนใหญ่จะมีความสุขจากการเห็นคนอื่นมีความสุข ตั้งแต่สมัยเรียน เราได้รับจากคนอื่น ได้รับจากครู ได้รับทุนการศึกษา ทั้งน้ำใจไมตรี หรือเห็นคนอื่นเป็นผู้ให้ แล้วเห็นความสุขของเขา วันหนึ่งเราอยากจะเป็นผู้ให้อย่างนั้นบ้าง”  ผศ. ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกเล่าถึงแรงบันดาลใจของการเป็นครูสอนศิลปะที่พร้อมจะเป็น “ผู้ให้” สิ่งดีๆ คืนกลับสู่สังคมเหมือนที่ตนเองเคยได้รับมาในวัยเยาว์

บางกอกนี้ดีจัง สร้างพื้นที่ศิลปะวัฒนธรรมให้คนเมืองกรุง

“บางกอกนี้ดีจังเป็นกลุ่มเครือข่ายชุมชนที่มีทั้งองค์ประกอบเด็กเยาวชนแล้วก็ผู้นำชุมชนที่ทำกิจกรรมทางสังคมต่างๆ” คุณตัน-สุรนาถ แป้นประเสริฐ เล่าถึงกลุ่มที่เขาเป็นแกนนำก่อตั้งขึ้นเพื่อใช้กระบวนการชุมชนแก้ไขปัญหา “ผมรู้สึกว่าการทำงานแบบนี้มันสนุกนะ ให้เด็กเยาวชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขโดยใช้ความเป็นธรรมชาติของเขา ใช้ทักษะบางอย่างที่เขามีในด้านบวก เช่น งานรณรงค์ กิจกรรมสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านตัวประเด็นปัจจัยเสี่ยงชุมชน”

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save