
ศิลปะ
ศิลปะเป็นของทุกๆ คนและไม่ต้องมีรูปแบบตายตัว อาจจะเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคุณถ้าจะลองเล่นสีน้ำสักครั้ง หรือปักผ้า จัดแจกัน หรือทำภาพปะติด ลองเล่นสนุกกับศิลปะได้โดยไม่คาดหวัง ลองระบายสีโดยไม่พยายามให้มันสวยงามสมบูรณ์แบบ แค่ลองและเล่น วาดรูปเพราะอยากเคลื่อนนิ้วมือ จัดดอกไม้เพราะดอกไม้สวยงามเพียงพอที่จะอยู่ในแจกัน สิ่งเหล่านี้คือศิลปะและเป็นความสุข
ถ้ารูปที่วาดในวันนี้ไม่สวยเลย อย่าเพิ่งขยำทิ้ง ลองบันทึกสั้นๆ หลังรูปแล้วเก็บไว้ อีกสักสัปดาห์หรือสักเดือน ลองหยิบรูปขึ้นมาดูใหม่ คุณอาจจะยิ้มได้เมื่อเห็นตัวเองผ่านงานศิลปะฝีมือตัวเอง
ความสุขจากศิลปะ

ความสุขจากการถ่ายภาพธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
โลกยุคดิจิทัลทุกวันนี้ทำให้ทุกคนกลายเป็นช่างภาพกันแทบจะทุกอิริยาบถกันเลยทีเดียว แต่ถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่า ภาพถ่ายส่วนใหญ่ที่เราถ่ายมักจะ “ถูกจัดวาง” ทั้งท่วงท่านายแบบนางแบบ หรือองค์ประกอบฉากเพื่อความสวยงาม ถ้าไม่ถูกใจก็จะกดถ่ายใหม่กันได้ทันที ภาพถ่ายเหล่านี้จึงถูก “ปรุงแต่ง” ด้วยความรู้สึกของช่างภาพจนกว่าจะพอใจ ทว่า หากใครได้ลองฝึกถ่ายภาพแบบ Contemplative Photography หรือภาพถ่ายที่ “ไร้การปรุงแต่ง” ดูแล้วละก็ คุณจะได้สัมผัสกับความรู้สึกถ่ายภาพในมุมใหม่และภาพถ่ายที่ดูเหมือนธรรมดาจะกลายเป็นภาพถ่ายที่ไม่ธรรมดาไปได้เช่นกัน
โนรา…รอยยิ้ม…และการโบยบินของผีเสื้อวัยเยาว์
อย่าให้ชุมชนขาดศิลปะ เพราะศิลปะช่วยขัดเกลาจิตใจคนให้มีความสุขได้ เสียงกลอง ฉิ่ง ฉับ กรับ โทน ที่ประสานกันดังขึ้นจากฝีมือการบรรเลงของกลุ่มผู้สูงอายุ ส่งเสียงเรียกร้องให้สายตาหลายคู่หันไปจับจ้องด้วยความสนใจ หลายครอบครัวจูงลูกจูงหลานเดินยิ้มร่าเข้าไปให้กำลังใจถึงหน้าเวทีจำลองเล็ก ๆ ที่เป็นเพียงแผ่นไม้ยกสูงขึ้นกว่าสนามหญ้าเพียงไม่กี่นิ้ว เสียงปรบมือดังขึ้นรัวเมื่อเพลงพื้นบ้านภาคใต้เพลงสุดท้ายบรรเลงจบ ก่อนที่รอยยิ้มผู้ชมจะคลี่บานขึ้นอีกครั้ง พร้อม ๆ กับการมาถึงของเด็กหญิงตัวน้อยผู้ออกมาทั้งร้องและร่ายรำท่วงทำนอง ‘โนรา’ ศิลปะประจำถิ่นของภาคใต้ เทริดน้อย

ความสุขเท่าปลายเข็มของผู้ชายปักผ้าสไตล์ชนเผ่า
ยุคนี้ถ้าใครเห็นผู้ชายกำลังนั่งปักผ้า เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงเข้าใจว่าชายผู้นี้มีแนวโน้มเป็นเพศที่สามมากกว่าชายจริงหญิงแท้อย่างแน่นอน แต่สำหรับผู้ชายร่างท้วม ผมหยักศก แต่งตัวสไตล์ชาวเมืองเหนือ ชื่อจริงว่า “สุทธิพงศ์ รินจ้อย” หรือ “เอก (อ้วน)” คนนี้แล้ว นอกจากเขาจะมีดีกรีเป็นขาโจ๋ อดีตนักเรียนช่างกลแล้ว ปัจจุบันยังเป็นพ่อลูกสองและเป็นครูถ่ายทอดวิชาปักผ้าชนเผ่าให้กับคนที่สนใจอย่างภาคภูมิใจในความเป็นลูกผู้ชายเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์

เยียวยาหัวใจด้วยศิลปะบำบัดกับครูเชอรี่
“กฎของการทำงานศิลปะวันนี้มีอย่างเดียว คือ ทำอะไรก็ได้ที่มันไม่สวย” เสียงผู้นำกิจกรรมหญิงชี้แจงกฎกติกา ใครบางคนตะโกนถามกลับมาว่า “ถ้าบังเอิญทำแล้วสวยล่ะ”

ค้นหาตัวตนผ่านศิลปะงานต่อผ้า
ถ้าใครเคยลองนำเศษผ้าเล็กๆ หลายชิ้น รูปร่างและขนาดแตกต่างกันมาเย็บต่อกันไปเรื่อยๆ ตอนแรกเราอาจนึกไม่ออกว่า สุดท้ายผ้าเล็กๆ ทั้งหมดจะกลายเป็นภาพอะไร หรือ ถ้าใครลองนำชิ้นผ้าขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากันหมดมาต่อกันให้เป็นผ้าห่มผืนใหญ่ เราก็จะพบว่าเศษผ้าชิ้นเล็กๆ เหล่านั้นได้กลายเป็นลวดลายใหม่บนผ้าห่มผืนใหญ่ให้เราห่มนอนอย่างน่าอัศจรรย์
ฝีเข็มแห่งความสุข
หากใครเคยไปตลาดนัดสวนจตุจักรแถวหลังธนาคารกรุงเทพฯ จะเห็นกลุ่มคนนั่งเย็บผ้าและพูดคุยกันอย่างออกรส พร้อมเสียงหัวเราะดังเป็นระยะๆ อยู่ข้างร้านขายของเก่าที่มีสินค้าทำมือห้อยเรียงรายให้ลูกค้าได้เลือกหลากหลาย ของแต่ละชิ้นนับได้ว่ามีความพิเศษอยู่ในตัว ไม่เคยเห็นที่ไหน แถมยังมีคนเย็บผ้าเทคนิคแบบโบราณให้ได้ดูกันสดๆ