ความสัมพันธ์

ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์

3 เทคนิค ฟังให้ Deeeeeeep

 

ฟังอย่างผ่อนคลาย

 

เมื่อจะฟังใครพูด ตั้งสติให้ดี เราจะฟังเท่านั้น ไม่ขัด ไม่ถาม ไม่แทรก ไม่เออออ ไม่ยุยงส่งเสริม ฟังให้เขาพูดจนจบ เมื่อให้เรารับรู้ข้อความทั้งหมดอย่างแท้จริง และสังเกตตัวเองด้วยว่า เรารู้สึกอย่างไร เรามีปฏิกริยาอย่างไร เช่น มือสั่น เราไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือโกรธ หายใจเข้าออกลึกๆ รับรู้ตัวของเรา และฟังต่อไป

 

อ่านต่อ

 

 

คนนับร้อยเฮโลช่วยกันซ่อมบ้านให้ชายชรายากจน

  ผู้คนนับร้อยจากทั้งใกล้และไกล ลงแรงช่วยกันซ่อมบ้านเยิน ๆ ให้ชายชรา หลังจากวัยรุ่นปากเสียพูดเข้าหูว่า ควรจะเผาบ้านอุบาทว์นี้ทิ้งเสีย Josh Cyganik โบกมือทักทาย Leonard Bullock ชายชราอายุ 75 ปีที่อาศัยอยู่ในบ้านเก่า ๆ ในโอเรกอนทุก ๆ เช้าเป็นเวลา 4

สุขกันถ้วนหน้า รวมพลคนใจดีจากทั่วสารทิศ ช่วยคุณปู่ซ่อมหลังคา

ทั้งเพื่อนบ้านและคนต่างถิ่นที่เดินทางมาไกลหลายชั่วโมง ร่วมแรงช่วยชายชราซ่อมหลังคาบ้าน  คุณปู่ Richard Dubiel อายุ 75 ปี พยายามซ่อมหลังคาบ้านด้วยตัวเองเป็นเวลา 3 เดือน แต่ไม่เสร็จเสียที เพื่อนบ้านของเขาชื่อ David Perez เฝ้าดูอยู่และคิดในใจว่า คนแก่อายุ 75 ไม่ควรต้องปีนขึ้น ๆ

งานศิลปะ ปลุกชีวิตใหม่ให้ชุมชนร้าง จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ถ้าเทียบกับเมืองอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา ดีทรอยท์เป็นเมืองจืดชืดที่ไม่ค่อยจะมีใครสนใจเท่าไร แต่ล่าสุด เมืองหลวงแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์ของอเมริกาแห่งนี้ ก็มีจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนใคร นั่นคือ ชุมชนที่บ้านแต่ละหลังถูกสร้างสรรค์ตกแต่งด้วยงานศิลปะที่ทำจากขยะและของเหลือใช้ โปรเจ็กต์นี้เริ่มต้นขึ้นโดยศิลปินชาวดีทรอยต์ Tyree Guyton ตั้งแต่ในปี 1986

เมื่อฝรั่งหันมาหยิบจอบแบกเสียมไปลงแขก

โลกนี้ใครกำหนด? ผมจำไม่ได้ว่าใครเป็นคนกำหนดประโยคนี้ขึ้นมา มันช่างเป็นคำถามที่น่าสงสัยและน่าสนใจดีเหลือเกิน ถ้าลองเหลียวหลังแลประวัติศาสตร์โลกในช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เราคงได้เห็นว่า โลกนี้หมุนไปโดยแรงเหวี่ยงของประเทศตะวันตก ชาวประเทศโลกที่สามอย่างพวกเรา (ซึ่งฝรั่งมังค่าเป็นคนจัดหมวดหมู่ให้)

ชีวิตเด็กชาวดอยที่เปลี่ยนแปลงด้วยละคร

แน่นอนว่าเราทุกคนสามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ด้วยตัวเราเองได้ เพราะเราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งต่างก็มีอิทธิพลทางความคิด และวิถีการดำรงชีวิตซึ่งกันและกันทั้งสิ้น ปัจจุบันมีผู้คนมากมายพยายามสร้างความเปลี่ยนแปลงดีๆ ให้เกิดขึ้น

Eco Village วิถีชุมชนแดนโคนม พัฒนาอย่างยั่งยืน

วันนี้จะพาไปรู้จักชุมชนน่าอยู่แห่งหนึ่งที่คุณจะไม่เห็นรถราวิ่งไปมาในชุมชน มีสวนผักส่วนกลางที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการปลูก ดูแล และเก็บไปปรุงอาหารที่บ้านได้ มีศูนย์บริหารจัดการขยะและร้านจำหน่ายสินค้ารีไซเคิล  เป็นชุมชนที่มีระบบจัดการกับของเสีย จากครัวเรือนที่มีประสิทธิภาพ และที่คิดว่าแปลกไม่เหมือนใครก็ตรง… เป็นชุมชนที่เขาไม่ซักผ้ากันในบ้าน ชุมชนที่ว่านี้ชื่อว่า   Okosamfundet Dyssekilde  เป็นชุมชนเล็กๆ ที่มีประชากรราว 200 ชีวิต

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save