ความสัมพันธ์

ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์

3 เทคนิค ฟังให้ Deeeeeeep

 

ฟังอย่างผ่อนคลาย

 

เมื่อจะฟังใครพูด ตั้งสติให้ดี เราจะฟังเท่านั้น ไม่ขัด ไม่ถาม ไม่แทรก ไม่เออออ ไม่ยุยงส่งเสริม ฟังให้เขาพูดจนจบ เมื่อให้เรารับรู้ข้อความทั้งหมดอย่างแท้จริง และสังเกตตัวเองด้วยว่า เรารู้สึกอย่างไร เรามีปฏิกริยาอย่างไร เช่น มือสั่น เราไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือโกรธ หายใจเข้าออกลึกๆ รับรู้ตัวของเรา และฟังต่อไป

 

อ่านต่อ

 

 

เติมสุขในบ้านด้วยการภาวนา

การภาวนาต้องทำด้วยความสุข ความสุขจากการภาวนาจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครบังคับ พอเกิดขึ้นแล้วเราจะใช้ชีวิตสบายขึ้น มีความสุขง่ายขึ้น มันจะไม่มีความรู้สึกต้องไปตามหาอะไรมากมายอีกแล้ว   หลายปีก่อน ‘การภาวนา’ มักนิยมปฏิบัติกันเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย คุณปู่-คุณย่า คุณตา-คุณยาย ไปวัด ลูกหลานก็อยู่บ้านกันไป . ต่อมากลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มสนใจการภาวนา ลูกวัยทำงานเริ่มมาฝึกภาวนา พ่อแม่ก็อยู่บ้าน บางบ้านคุณแม่มาฝึกภาวนา ทิ้งให้พ่อลูกอยู่บ้านดูแลกัน .

‘ซ โซ่ อาสา’ พลังขับเคลื่อนสังคมด้วยความรัก

ห่วงเหล็กชิ้นเล็กๆ เพียง 1-2 ชิ้นคงไร้ความหมาย แต่หากนำมาร้อยต่อกันเป็นเส้นยาว จะกลายเป็นสายโซ่อันแข็งแกร่ง เช่นเดียวจิตอาสาหากจับมือร่วมกัน ย่อมมีพลังขับเคลื่อนและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อชุมชนและสังคม ท่ามกลางความเจริญอย่างไม่หยุดยั้งของกรุงเทพมหานคร ยังมีพื้นที่เล็กๆ ของคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มักถูกละเลยและมองข้ามอยู่เสมอ นั่นคือเด็กที่มาจากครอบครัวในชุมชนแออัด ครอบครัวคนไร้บ้าน ที่แม้ความพรั่งพร้อมทางวัตถุจะอยู่ใกล้เพียงปลายจมูก แต่กลับยากเกินกว่าจะไขว่คว้าถึง และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้ครูปู่ – ธีระรัตน์ ชูอำนาจ

นิทานสร้าง…..ได้

การรวมกลุ่มของครอบครัวที่มีความทุกข์คล้ายๆ กัน เปรียบเหมือนการสร้างเครือข่ายแห่งความห่วงใย เกิดเป็นพลังที่เกาะเกี่ยวเดินไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมีความสุข ไม่อ้างว้างหรือท้อแท้ “ทายสิคะ แม่ตุ่นกำลังจะเล่านิทานเรื่องอะไร?” ทันทีที่แม่ตุ่นชูมือที่ซ่อนไว้ข้างหลังออกมาให้เห็นทั่วกัน เสียงจ้อกแจ้กในห้องก็เงียบลง สายตาทุกคู่จับจ้องอยู่ที่มือของแม่ตุ่น ที่ตอนนี้ปรากฎหุ่นมือตัวนิ่มสีเขียวสด ใบหน้าเป็นรูปกบยิ้มทะเล้นส่งมา “เจ้าชายกบๆ…” หลายเสียงช่วยกันตอบ แม่ตุ่นยื่นหุ่นน้อยในมือไปหาเด็กหญิงคนหนึ่ง คุณแม่ของเด็กน้อยส่งสัญญาณบอกให้ลูกจุมพิตหุ่นน้อย เด็กน้อยจุ๊บเจ้าหุ่นอย่างเอียงอาย ตอนนั้นเองที่แม่ตุ่นพลิกหุ่นกลับอีกด้าน กลายเป็นเจ้าชายหนุ่มรูปหล่อ เรียกเสียงเสียงปรบมือจากทุกครอบครัว

เส้นทางความสุข : การร่วมแรงเป็นชุมชน

วันนี้ชุมชนคงไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การอยู่ร่วมกันบนพื้นที่ทางกายภาพ เราอาจรวมกลุ่มเป็นชุมชนกันได้ผ่านทางสังคมออนไลน์ เป็นชุมชนในมิติใหม่ ไม่ปฏิเสธเทคโนโลยี แต่นำมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีคนเคยตั้งคำถามว่า ถ้ามีปลาอยู่ 1 ตัว ทำอย่างไรถึงจะกินได้นานที่สุด บางคนตอบว่าเอาไปหมัก บางคนตอบว่าเอาไปตากแห้ง หนึ่งในคำตอบที่น่าชวนให้คิดที่สุดก็คือ ‘เอาไปแบ่งให้คนอื่น’ การแบ่งปัน เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เป็นความงดงามที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในการรวมกลุ่มของครอบครัว เครือญาติและชุมชนที่เข้มแข็ง ทว่าน่าเสียดายที่ภาพดังกล่าวกลับค่อยๆ

ความสุขเรียบง่ายที่ชุมชนสามแพร่ง

ช่วงเวลา 2 วันของการจัดงานคือการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้คนในเมืองหลวงที่มีวิถีชีวิตเร่งรีบเคร่งเครียด ได้ย้อนกลับมาเรียนรู้วิถีชีวิตที่ง่ายๆ สบายๆ เต็มไปด้วยรอยยิ้ม การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน เกื้อกูลกันด้วยน้ำใจไมตรีอย่างที่ชุมชนแห่งนี้เคยเป็นมาตลอดนับร้อยปี ถ้าเราบินได้เหมือนนก แล้วมีโอกาสอยู่บนฟากฟ้า มองลงมายังพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อกวาดสายตาหา ‘พื้นที่ของความสุข’ เราคงเห็นผู้คนมากมายกระจุกตัวอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมติดแอร์ที่เรียกว่าห้างสรรพสินค้า แต่เราจะใจชื้นขึ้น เมื่อมองมายังจุดเล็กๆ ใจกลางเมืองหลวงแล้วพบว่า ยังมีพื้นที่ของความสุขที่เรียบง่าย เปี่ยมด้วยรอยยิ้ม ดุจดังโอเอซิสที่มอบความชุ่มชื้นให้กับผู้อยู่อาศัย และผู้ที่มาเยี่ยมเยือนผ่านข้ามกาลเวลามาแล้วเป็นเวลาเนิ่นนาน

ใช้ใจแทนเงิน – Gift Economy

เมื่อปี 2012 Brice Royer นอนซมอยู่บนเตียงด้วยความเจ็บปวดอย่างมาก…และเขาคิดจะฆ่าตัวตาย ทุกวันนี้ความเจ็บปวดนั้นยังอยู่ มะเร็งในกระเพาะอาหารของเขาก็ไม่ได้เล็กลง แต่เขาไม่เคยมีความสุขมากเท่านี้มาก่อน เมื่อปีที่ผ่านมา เขาตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ คือ “ให้และรับโดยไม่ใช้เงิน” เพื่อที่จะสร้างชุมชนที่ไม่พึ่งพาเงินตราเพื่อการแลกเปลี่ยน อยู่กับความเจ็บปวดครั้งละ 1 นาที ย้อนกลับไปที่ปี 2012 หมอวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร และเมื่อความเจ็บปวดมีมากขึ้น

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save