
การเคลื่อนไหวร่างกาย
ร่างกายของเราต้องการการเคลื่อนไหว ซึ่งนั่นไม่ได้หมายถึงการออกกำลังกายเท่านั้น แต่หมายถึง เ ค ลื่ อ น ไ ห ว — เมื่อร่างกายเราขยับ ระบบประสาทในตัวเราถูกกระตุ้น ต่อมต่างๆ ในร่างกายของเราตื่นตัว และช่วยให้กระปรี้กระเปร่า
เป็นเรื่องดีมากหากเราได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ มันดีต่อสุขภาพในระยะยาว และก็ดีมากๆ เช่นกันถ้าเราจะขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน เดินบ้าง ลุกขึ้นจากเก้าอี้ทำงานมาขยับแขนขาบ้าง หรือแม้แต่ขณะที่แปรงฟัน หรือเคี้ยวอาหาร ลองรับรู้การเคี้ยว การขยับของปาก ลิ้น ฟัน เราจะรับรู้ได้ว่าเราโชคดีและร่ำรวยมากที่เรามีฟัน มีลิ้นที่คอยรับรสอาหาร ยิ่งสังเกตบ่อยๆ เราจะยิ่งรู้ว่าร่างกายนี้เป็นบ่อเกิดของความสุข
ความสุขจากการเคลื่อนไหว

Soul Motion เมื่อจิตและกายเคลื่อนไหวเป็นหนึ่งเดียว
ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว เรามักได้ยินสำนวนนี้กันจนเคยชิน แต่ถ้าใครได้ลองมาสัมผัสการเต้นรำที่เรียกว่า Soul Motion แล้วละก็ คุณอาจเปลี่ยนคำพูดใหม่ว่า “ร่างกายก็มีปัญญาของตัวเองเช่นกัน” ข้างต้นเป็นคำพูดของวริวรรณ์ วิทยฐานกรณ์ หรือ ซอย หญิงสาวผู้เติบโตมาในครอบครัวนักธุรกิจชาวจีน เธอสนใจแนวคิดทางจิตวิทยาเพื่อทำความเข้าใจตนเองมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย หลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านธุรกิจ เธอจึงเรียนต่อปริญญาโททางด้านจิตตปัญญาศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งสนใจหลักสูตรอบรมด้านจิตวิทยาหลากหลายแนวทาง

สุขกายสุขใจวัยเกษียณ
สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาของผู้สูงอายุที่พบร่วมกันคืออาการเจ็บป่วย รวมไปถึงโรคซึมเศร้าเพราะลูกหลานต่างมีภาระหน้าที่หรือโลกส่วนตัวบนหน้าจอมากเกินไป ผู้สูงวัยจึงต้องหากิจกรรมทำร่วมกันเพื่อผ่อนคลายเหงา รวมไปถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เพราะจะทำให้ไม่ต้องเป็นภาระกับลูกหลานมากเกินไป สำหรับผู้สูงวัยบางคนอาจใช้เวลาว่างเป็นจิตอาสาตามองค์กรต่างๆ เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ดังเช่น สุรีย์ นาวีเรืองรัตน์ หรือคุณเจี้ยบ ครูสอนออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ณ ศูนย์ผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ที่นี่มีเพื่อนวัยเดียวกันมากมายให้พูดคุยกันคลายเหงาและกลายเป็นแก๊งเพื่อนสนิทไปไหนไปกันทำให้ชีวิตไม่เหงาเกินไปนัก

เยียวยากายและใจด้วยอาชาเพื่อนรัก
เมื่อเอ่ยชื่อครูอุ้ย-อภิสิรี จรัลชวนะเพท คนในวงการศึกษาทางเลือกต่างเคยได้ยินชื่อเสียงของเธอกันมานานกว่าสามสิบปี เพราะเธอคือผู้ก่อตั้งอนุบาลบ้านรัก และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาแนววอลดอร์ฟรุ่นบุกเบิกของเมืองไทย รวมทั้งยังได้รับรางวัลอาโชก้า ในฐานะ “นักบริหารงานเพื่อสร้างสรรค์สังคม” และได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรด้านการศึกษามานับไม่ถ้วน ภาพความสำเร็จในชีวิตของผู้หญิงผมสั้นสีสีดอกเลาท่าทางทะมัดทแมงคนนี้ ก้าวเข้ามาในชีวิตตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีไม่นาน วงรอบชีวิตการทำงานของเธอหมุนเร็วกว่าเพื่อนวัยเดียวกันทั่วไป เพราะเธอทำทุกอย่างด้วยหัวใจและทุ่มเทจนสุดกำลัง ทว่า ความสำเร็จที่ได้เปรียบเสมือนเหรียญสองด้านที่สามารถทำให้ชีวิตพลิกผันได้เสมอ เมื่อโชคชะตาเล่นตลกกับผู้หญิงทะมัดทแมง ทำอะไรคล่องแคล่วว่องไว ใจเดินเร็วกว่าสองเท้า ต้องกลายเป็นคนที่ถูกบังคับให้เดินช้าลงและทรมานจากอาการเจ็บปวดตั้งแต่กระดูกก้นกบ สะโพก

ส่งความรักผ่านการออกกำลังกายจากแม่สู่ลูกภาวะออทิสติก
ณ สนามกีฬาโรงเรียนแห่งหนึ่งย่านจังหวัดนนทบุรี ชายหนุ่มร่างท้วมวัยสามสิบปีกำลังฝึกซ้อมวิ่งด้วยแววตามุ่งมั่น รอยยิ้มเหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสาส่งให้หญิงวัยหกสิบปีที่ยืนอยู่ข้างสนามด้วยความรัก หลังฝึกจบ ชายหนุ่มเดินมากอดและหอมหญิงสูงวัยผู้ทุ่มเทชีวิตทุกลมหายใจเพื่อทำให้ลูกชายที่มีภาวะออทิสติกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น วรรณวิชญ์ เหล่าตระกูลงาม หรือ ปาล์ม เป็นลูกชายคนโตของทรรศน์วรรธ์น เหล่าตระกูลงาม หรือแม่อู๊ด แม่เลี้ยงเดี่ยวลูกสองผู้ตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อทุ่มเทเวลาดูแลลูกตั้งแต่ลูกอายุได้ 8 ปี แม่อู๊ดเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของลูกตั้งแต่อายุ 4 ขวบ เพราะลูกไม่พูดและไม่สบตาใคร

ไอคิโด…เรียนรู้การแพ้เพื่อชนะ
เมื่อพูดถึงศิลปะการป้องกันตัว ไอคิโดเป็นศาสตร์ที่คนไทยยังไม่นิยมแพร่หลายมากนัก หากเทียบกับเทควันโดหรือกีฬาประเภทอื่นๆ ที่มีการแข่งขันทั่วไป เพราะไอคิโดเป็นศิลปะการป้องกันตัวที่ไม่มีการแข่งขันกับผู้อื่น แต่เป็นศาสตร์ของการ “แข่งขันกับตนเอง” โดยผู้เรียนจะได้ค้นพบกับความเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจตนเองมากขึ้นจนรู้ว่า “ศัตรูที่แท้จริง” ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจาก “ความคิด” ของตัวเรานั่นเอง รักชนก ชยุตม์กุล หรือ ครูป๋อม เริ่มฝึกไอคิโดตั้งแต่ปี 2538 หรือ 22

สุขกายสุขใจ ปั่นไปไม่ทิ้งกัน
เมื่อพูดถึงความสุขของคนขี่จักรยาน การได้นั่งบนหลังอานปั่นจักรยานด้วยสองเท้าไปข้างหน้านับเป็นความสุขที่ทุกคนสัมผัสได้ไม่ยาก แต่ทว่า หากการปั่นมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสุขให้ผู้อื่นด้วยแล้วละก็ คนปั่นคงจะมีความสุขเป็นสองเท่าทวีคูณอย่างแน่นอน เหมือนดังเช่นความสุขของคุณญาณิศา เอกมหาชัย หรือ คุณนี หนึ่งในนักปั่นจักรยานโครงการ “ปั่นไปไม่ทิ้งกัน” นำพาคนตาบอดขี่จักรยานสองตอนมุ่งหน้าจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่เพื่อระดมทุนสร้างศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่เมื่อต้นปี 2561 ที่ผ่านมา เธอเป็นหนึ่งในนักปั่นจิตอาสาที่มักปั่นร่วมงานการกุศลนับตั้งแต่เกษียณอายุก่อนกำหนด เพราะนอกจากจะทำให้สุขภาพกายของเธอแข็งแรงกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันที่เกษียณแล้วอยู่บ้านเฉยๆ สุขภาพใจของเธอก็ยังแข็งแรงตามไปด้วยเช่นกัน