การให้ความกรุณาแก่ตัวเอง

การให้ความกรุณาแก่ตนเองอย่างมีสติ (Mindful Self-Compassion; MSC)

การให้ความกรุณาแก่ตนเองอย่างรู้ตัว หรือบางครั้งเรียกว่าการให้ความกรุณาแก่ตนเองอย่างมีสติ พัฒนาขึ้นโดย ดร. คริสติน เนฟฟ์ (Kristin Neff) อาศัยองค์ประกอบ 3 ประการคือ

1.ความรู้ตัวหรือสติ (Mindfulness) พื้นฐานสำคัญคือการสัมผัสกับปัจจุบันขณะ ขณะนี้ฉันรู้สึกอะไร ฉันเป็นอย่างไร

2. ความมนุษย์ธรรมดา (Common Humanity) การตระหนักว่าเราเป็นมนุษย์ธรรมดา มีอารมณ์และความรู้สึกเช่นเดียวกับคนอื่นๆ การที่เรารู้สึกแย่ เครียด เป็นความปกติของการเป็นมนุษย์

3.การให้ความใจดีแก่ตนเอง (Kindness) ปฏิบัติต่อตนเองเช่นเดียวกับการปฏิบัติต่อเพื่อนรักของเรา

การฟื้นคืนคืออะไร ทำไมชีวิตเราต้องฟื้นคืนได้? ถ้าอยากเป็นคนที่ฟื้นคืนได้ดี ขั้นแรกต้องทำอย่างไร? คลิปแรกในซีรี่ย์นี้ ดร. เบนจามิน ไวน์สตีน นักจิตวิทยาคลินิก และผู้เชี่ยวชาญเรื่องการฟื้นคืน (resilience) จะมาไขข้อข้องใจถึงความหมาย ความสำคัญ และทักษะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการฟื้นคืน ที่เราทุกคนฝึกได้
คลิปนี้ ดร. เบนจามิน ไวน์สตีน แบ่งปันการฝึกที่เรียกว่า “คำถาม 2 ข้อ” แบบฝึกที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง เพื่อบ่มเพาะความกรุณาต่อตนเอง
ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถให้กำลังใจตัวเองแบบที่เราให้กำลังใจเพื่อนสนิทของเราได้? Dr.Benjamin Weinstein (อ.เบ็น) จะมาแนะนำให้รู้จักกับ Mindful Self-Compassion การให้ความกรุณาต่อตนเองด้วยความรู้สึกตัว (พัฒนาโดย Kristin Neff และ Christopher Germer) เพื่อการดูแลจิตใจของเราให้มีพลังและมีความสุข

ในคลิปนี้ ดร. เบนจามิน ไวน์สตีน จะมาตอบคำถามที่ว่า “เราจะดูแลอารมณ์ยากๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร?”

ปกติหรือไม่ที่พอฝึกให้ความกรุณาต่อตนเองแล้วน้ำตาไหลหรือขนลุก หรือถ้าฝึกแล้วไม่รู้สึกอะไรเลย แปลว่าทำผิดหรือเปล่า คลิปนี้ ดร. เบนจามิน ไวน์สตีน จะมาไขคำตอบเกี่ยวกับการการฝึก Mindful Self-compassion
คลิปนี้ ดร. เบนจามิน ไวน์สตีน แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวจากคำถามที่ทรงพลัง “ในตอนนี้ฉันต้องการอะไร?” และตอบคำถามเกี่ยวกับความต้องการ และวิธีการดูแลความต้องการ

บทความ

ล้มแล้วลุกยืนขึ้นใหม่ แต่ถ้ายืนไม่ไหวขอความช่วยเหลือยังไงดี?

ในชีวิตคนเราล้วนพบเจอปัญหาด้วยกันทั้งนั้น บางคนล้มแล้วลุกยืนขึ้นใหม่ได้ ใช้เวลาผ่านปัญหาไม่นาน บางคนก็จมอยู่กับปัญหาหลายปี ล้มแล้วกว่าจะลุกได้ก็นาน และก็คงปฏิเสธได้ยากว่าการผ่านปัญหาบางครั้ง ถ้าไม่สามารถผ่านได้ด้วยตัวเอง ก็มาด้วยการขอความช่วยเหลือจากใครสักคน

งานเสวนา Resilience Showcase (3 ก.พ. 2567)

ชวนร่วมสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมที่จะช่วยขับเคลื่อนพลังแห่งการล้มแล้วลุก ยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ในการเข้าร่วมงาน “Resilience Showcase” งานเสวนา พูดคุย และ showcase ที่จะบอกเล่าความสำคัญของคำว่า “Resilience” ซึ่งเป็นทักษะจำเป็นและสำคัญในตอนนี้ ที่ช่วยลดสภาวะความเครียดสะสมในหน่วยงานหลากหลายสาขา เช่น ระบบสุขภาพ การศึกษา สังคมสงเคราะห์และธุรกิจเอกชน

พัฒนาจิตสุขภาวะทางปัญญาการทำงานพัฒนาตัวเองเพิ่มทักษะการฟื้นคืน

ทักษะสำหรับอนาคต

เริ่มจากความเข้าใจในตัวเอง ยอมรับสถานการณ์ที่กำลังประสบ และเห็นแนวทางในการปรับตัว เพื่อจะผ่านสถานการณ์ต่างๆ ไปให้ได้ เราเชื่อว่าทักษะการฟื้นคืนเป็นทุนที่ทุกคนมีอยู่ในตัวเอง

พัฒนาจิตสุขภาวะทางปัญญาการทำงานพัฒนาตัวเองเพิ่มทักษะการฟื้นคืน

แผนที่กันหลง

เราจะรู้สึกมีพลังหากรู้ว่า “ฉันคือกัปตันเรือ ผู้กำหนดทิศทางของเรือลำนี้” แต่จะรู้สึกตกเป็นเหยื่อ หากเห็นว่าตัวเรานี้เป็นเพียงผู้โดยสารที่ไม่รู้เลยว่าเรือลำที่กำลังโดยสารอยู่นั้นจะพาเราไปในทิศทางไหนคำตอบของทิศทางที่ถูกต้อง ความมุ่งหมายของชีวิตที่เราอยากใช้ ไม่ได้อยู่ที่คนอื่น แต่เราจะต้องหาที่ภายในตัวของเราเอง

เครียดสุขภาวะทางปัญญาสุขภาวะในองค์กรResilience การฟื้นคืนฮีลใจการทำงาน

ถอดหัวโขนคุยกัน

เมื่อเราได้นั่งลงและแบ่งปันความทุกข์ มันเหมือนกับว่าพวกเราถอดหัวโขนที่พวกเราสวมไว้ออก แล้วดึงเอาความเป็นมนุษย์มานั่งคุยกัน “ฉันผู้ดำรงตำแหน่งนี้ ฉันเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ฉันมีเรื่องที่ต้องเผชิญ” มันช่วยให้การเห็นความเป็นมนุษย์ในกันและกัน ทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น

ลิ้มรส ณ ขณะนี้

ความสุขเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วรอบตัวของเรา แต่บางครั้งเราไม่ได้รับรู้จึงสัมผัสความสุขนั้นไม่ได้ เหมือนกับมีอาหารวางรออยู่ตรงหน้า แต่เรามัวแต่หมกมุ่นอยู่ในความคิด ก้มหน้าอยู่กับโทรศัพท์ หรือจมอยู่ในอารมณ์ เราย่อมมองไม่เห็นอาหารจานนั้น

การฟื้นคืนของ เดอะแบก

เมื่อก่อนเราจะเป็นคนแบบว่า ฉันจะต้องรับผิดชอบทุกเรื่อง แก้ปัญหาให้พนักงานทุกคน ทุกเรื่องเป็นเรื่องของฉัน … การอบรมทักษะการฟื้นคืน (resilience skills) ทำให้ได้เห็นว่าปัญหาทุกปัญหามีข้อจำกัด ที่เราไม่สามารถแก้ปัญหาให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการ

การฟื้นคืนของพนักงานสำคัญแค่ไหน

การฟื้นคืน (Resilience) เป็นทักษะที่เรามีอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาเราไม่ได้ความสำคัญ เหมือนกับเรามีของที่มีค่าอยู่ในตัวแต่เราไม่ใส่ใจ การฝึกฝนสิ่งที่เรามีอยู่จะเรียกว่าเป็นการลับอาวุธให้คม หรือเจียระไนเพชรพลอยในตัวเองให้มันเปล่งประกายมากขึ้นก็ได้ เป็นทักษะที่จะทำให้เราพักเป็น หยุดเป็น มีแรง มีกำลังใจในวันใหม่ทุกๆ วัน

หลักสูตร Resilience Builders สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ รุ่น 2 (เริ่ม 8 ก.ค. 66)

เมื่อวิกฤตรายวันท้าทายชีวิตจนท้อแท้ สับสน หมดพลัง เบิร์นเอาท์ บุคลากรทางการแพย์อย่างพวกเราจะฟื้นใจและไปต่อได้ได้อย่างไร? กลับมาอีกครั้งกับ “Resiience Builders ทักษะฟื้นคืนสุขภาวะ รุ่น 2”

การฟื้นคืนด้านจิตวิญญาณ

สรุปเนื้อหาจากการอบรม Resilence Buiders สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ครั้งที่ 4 วันที่ 19 ตุลาคม 2565 แอพพลิเคชั่น zoomโดย ดร.เบ็นจามิน เว็นสไตน์ (Benjamin Weinstein, PhD) . การฝึกทักษะการฟื้นคืนเหมือนกับการออกกำลังให้กล้ามเนื้อนั้นแข็งแรงมากขึ้น มันอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ

การฟื้นคืนด้านจิตใจ

สรุปเนื้อหาจากการอบรม Resilence Buiders สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ครั้งที่ 2 วันที่ 29 กันยายน 2565 แอพพลิเคชั่น zoom โดย ดร.เบ็นจามิน เว็นสไตน์ (Benjamin Weinstein, PhD)

รู้จักการฟื้นคืน และ ดูแลอารมณ์

สรุปเนื้อหาจากการอบรม Resilence Buiders สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ครั้งที่ 1 วันที่ 7 กันยายน 2565 แอพพลิเคชั่น zoomโดย ดร.เบ็นจามิน เว็นสไตน์ (Benjamin Weinstein, PhD)

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save