พัฒนาจิตสุขภาวะทางปัญญาศิลปะธรรมชาติเยียวยามันดาลา
8 ช่องทางความสุข

จักรวาลในธรรมชาติ

ถ้าพวกเราเห็นได้ว่าในใบไม้สีเขียว มีสีฟ้าของท้องฟ้า เราก็จะเห็นจักรวาลในใบไม้ ในสีแดงของดอกไม้ ก็มีสีฟ้าของท้องฟ้าอยู่เช่นเดียวกัน ถ้าเราเห็นเช่นนี้ได้ จักรวาลทั้งหลายก็อยู่ตรงนี้ด้วยกันกับพวกเรา

.


มันดาลาเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล ในภาษาสันสกฤต มันดาลาแปลว่าขอบเขตหรือวงกลม หากเราเสิร์ชคำว่า “Mandala” ก็จะเจอแพทเทิร์นวงกลม บางทีเป็นตาข่ายใยแมงมุม เป็นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม ฯลฯ การทำมันดาลาทำได้หลากหลายรูปแบบ และเป็นหนึ่งในวิธีการปฏิบัติภาวนา เช่น การทำมันดาลาด้วยทรายสีของพระทิเบต การระบายสีมันดาลาเพื่อลดความเครียด การเขียนมันดาลาเพื่อฝึกสมาธิ และในที่นี้ เราอาจจะชวนตัวเราหรือชวนเด็กๆ มาทำมันดาลา สังเกตจักรวาลในธรรมชาติ ชวนเด็กๆ ของเราใช้ตา ใช้มือ ใช้ใจ พาทุกคนมาอยู่ร่วมกันและเชื่อมโยงกับธรรมชาติ

.

พัฒนาจิตสุขภาวะทางปัญญาศิลปะธรรมชาติเยียวยามันดาลา

.


เราอาจจะชวนเด็กๆ ไปเดินเล่นในโรงเรียน เดินเป็นกลุ่มเล็กๆ 5-7 คน ก็ได้ หรือจะปล่อยให้เดินตามสบายสัก 15 นาที แล้วนัดเวลามาเจอกันก็โอเค จุดนัดพบอาจจะเป็นในสนาม ระเบียงห้อง หรือกลับมาที่ห้องเรียน


โจทย์สำคัญของการเดินเล่นก็คือ ขอให้เด็กๆ เลือกของขวัญจากธรรมชาติมาคนละ 1 อย่าง จำนวน 5 ชิ้น เช่น ด.ญ.เจี๊ยบเลือกหยิบก้อนหินขนาดพอๆ กันมา 5 ก้อน เด็กชายหมีหยิบใบไม้มา 5 ใบ เด็กหญิงฟ้าหยิบดอกปีปที่ร่วงบนพื้นมา 5 ดอก ฯลฯ เป็นต้น

.

พัฒนาจิตสุขภาวะทางปัญญาศิลปะธรรมชาติเยียวยามันดาลา


เริ่มกระบวนการให้เด็กๆ ทำมันดาลาใน 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ชวนทุกคนล้อมวงกัน ดู ‘ธรรมชาติ’ ในมือเรา ซึ่งอาจจะเป็นก้อนหิน กิ่งไม้ ใบไม้ ดอกไม้ ฯลฯ ชวนมองสี ลองจับ-สัมผัส แข็ง นุ่ม เบา เย็น ร้อน ขอให้เด็กมองของขวัญในมือและถือไว้อย่างอ่อนโยน
  2. ชวนให้เด็กๆ คุยว่า ของที่อยู่ในมือของเขา เกี่ยวข้องกับตัวเขา หรือกับใคร ขอให้ชวนตอบแบบสนุกๆ ไม่จริงจัง ไม่ใช่คำตอบแบบวิชาการ (ก้อนหินมาจากภูเขา หรือมันอาจจะมาจากอุกกาบาต ขนนกเกี่ยวกับการทะเลาะกัน ดอกไม้กับผีเสื้อ ฯลฯ)
  3. ขอเชิญตัวแทนของกลุ่ม 1 คน เริ่มวางของในมือตนให้เป็นใจกลางของมันดาลา
  4. จากนั้น ให้เด็กๆ แต่ละคน ค่อยๆ วางของขวัญจากธรรมชาติในมือของแต่ละคนนั้น เป็นวง ล้อมใจกลางทีละชั้น ถ้าวงกลมเริ่มใหญ่มาก ก็อาจจะชวนให้วางแทรกในที่ว่าง ของแต่ละชั้น แต่ละวงได้ วางจนครบทุกคน
  5. ชวนทุกคนมองมันดาลาของพวกเรา ชวนเดินดูมันดาลารอบๆ มองในระยะใกล้ๆ มองไกลๆ มองจากมุมโน้นมุมนี้

.

จัดเวลาช่วงท้ายสัก 10-15 นาที ล้อมวงสะท้อนการเรียนรู้ (reflection circle) ด้วยคำถามเช่น
•เด็กๆ ชอบอะไรในกิจกรรมนี้ (ชอบการเดินเล่น ชอบตอนได้หยิบดอกไม้ ชอบตอนเรียง ชอบตอนที่เสร็จแล้ว)
•ตอนไหนที่รู้สึกยากที่สุด หรือไม่อยากทำ
•ชวนตั้งชื่อมันดาลา – ชื่อนี้บอกอะไร ทำไมจึงตั้งชื่อนี้


ชวนเด็กๆ ยืนล้อมวงรอบๆ มันดาลาอีกครั้ง แล้วให้เขาสื่อสารความในใจที่เขาอยากบอกกับมันดาลา – จักรวาลของเรา ในวันนี้ เขาอาจจะอยากขอพรให้ใครสักคน หรืออยากจะขอโทษ หรืออยากจะขอบคุณเพื่อนแต่ยังไม่กล้าบอก ให้เวลายืนเพื่อสื่อสารนี้สัก 1 นาที – จบกิจกรรม


จักรวาลมีอยู่ในทุกที่ ขึ้นกับว่าเรามีความสามารถที่จะเห็นจักรวาลไหม ถ้าเรามีความสามารถในการเชื่อมโยง เห็นความเกี่ยวเนื่องของสิ่งต่างๆ เราจะเห็นว่าดอกไม้คือจักรวาล น้ำที่เราดื่มคือจักรวาล เด็กๆ อาศัยความร่มเย็นของคุณครู คุณพ่อคุณแม่ และพ่อแม่และครูก็อาศัยความสดชื่น ความไร้เดียงสาของเด็กๆ   

ถ้าคุณครูช่วยพาเด็กๆ ให้เขาเห็นได้ว่า ในใบไม้สีเขียวมีสีฟ้าของท้องฟ้า เราก็จะเห็นจักรวาลในใบไม้  และในสีแดงของดอกไม้มีสีแดงของดวงอาทิตย์และมีสีฟ้าของท้องฟ้าอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน ถ้าเราเห็นเช่นนี้ได้ จักรวาลทั้งหลายก็อยู่ตรงนี้ด้วยกันกับพวกเรา

.

ขอบคุณหนังสือ DIY Your Heart โดย ธนาคารจิตอาสา
ขอบคุณภาพจากผู้ร่วมอบรม TEP 9

การศึกษาเรียนรู้

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save