8 ช่องทางความสุข

การปฏิบัติทองเลน (Tonglen) : รับทุกข์-ส่งสุขด้วยรักและเมตตา

“ส่งจิตให้ผู้อื่นมีความสุข และตั้งจิตให้ตนเองพ้นทุกข์” นั่นคือวิธีคิดที่มีมาแต่ดั้งเดิม แต่หลายท่านอาจถึงกับตะลึง เมื่อทราบว่า มรรควิธีแห่ง “ทองเลน” (Tonglen Tib. གཏོང་ལེན་) นอกจากเผื่อแผ่ความสุขให้ผู้อื่น(Tong) ยังยินดีที่จะรับทุกข์รับโศกจากผู้อื่นมาสู่ตนเองอีกด้วย(Len)

แนวธรรมดังกล่าวก่อเกิดขึ้นโดย ท่านอาจารย์ อติสา (Atisha) (ท่านเกิดที่ประเทศอินเดีย ในปี ค.ศ. 892) ท่านอาจารย์ อติสา นำปฏิบัติธรรมทองเลนมาเผยแผ่ในทิเบต โดยท่านได้เรียกว่า การปฎิบัติด้วยโพธิจิต ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับคือ

  1. โพธิจิตธรรมดา (Ordinary Bodhichitta) คือการยังคงความเป็นตัวเขา-ตัวเรา
  2. ปรมัตถ์โพธิจิต (Ultimate Bodhichitta) คือ จิตสำนึกที่ไม่มีการแบ่งแยกเราเขา แต่มีความรักอันพิสุทธิ์ อันเป็นพุทธภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลงมวลรวมพลังลบของจักรวาล

ท่านทะไลลามะ ได้กล่าวว่า

การที่จะสามารถส่งความสุขให้บุคคลอื่นและดึงความทุกข์มาที่ตัวเราได้นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย ทั้งสองนั้นต้องเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทางกรรมต่อกันมาจากอดีตชาติ ทำไมเราจึงไม่บ่มเพาะทัศนคติเช่นนี้ เพราะการทำทองเลนนี้จะนำสู่ความเข้มแข็งของบุคลิกภาพ ความกล้าหาญ ความกระตือรือล้น และพัฒนาโพธิจิตอีกด้วย

 

How …?

 

การละลายความหลงผิด ติดยึดในอัตตา หลงตัวหลงตน อันเป็นรากแห่งทุกข์ทั้งปวงนั้น จะสัมฤทธิ์ผลด้วยวัตรปฏิบัติแห่งทองเลน โดยเริ่มจาก …

การนั่งสมาธิ ทุกลมหายใจเข้าออกล้วนมีนัยยะสำคัญยิ่ง โดยกำหนดจิตว่า เมื่อหายใจเข้าก็เท่ากับการดึงความทุกข์กายทุกข์ใจของผู้นั้นมาสู่ตัวของเรา ครั้นเมื่อหายใจออกก็หมายถึงการเผื่อแผ่ความสุขกายสุขใจ ความรักและเมตตาไปสู่ยังบุคคลนั้น

ต่อข้อหวาดกังวลที่ว่า การกระทำเช่นนี้จะเป็นการนำพาภัยมาเข้าตนเองกระทั่งป่วยไข้หรือทำให้ตนเองต้องเกิดอาเพศเหตุร้ายหรือไม่ เห็นทีจะมิต้องกลัวจนเกินไป เพราะแท้จริงแล้ว การตั้งจิตปฎิบัติเช่นนี้คือการบำเพ็ญเมตตาบารมี บ่มเพาะคุณธรรม ยิ่งเป็นการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น จิตใจก็ยิ่งปล่อยวางและเกิดเป็นปิติสุขอย่างยิ่ง

ปุถุชนคนทั่วไปที่มีแต่ความกลัว เขามักตั้งกำแพงใจเพื่อพยายามปกป้องตนเอง ในขณะเดียวกันก็เอาแต่กอบโกยเก็บกั้นสิ่งที่เชื่อว่าเป็น “ความดี” “สิ่งที่ดีๆ” ไว้กับตนให้มากที่สุด โดยหาฉุกคิดไม่ว่า ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความยึดมั่น – ถือมั่น อันเป็น “อัตตา” ที่พึงล้างละลายให้เบาบางจางคลายให้มากที่สุด

เพราะในจักรวาลของสัจธรรมนั้น ตัวเราตัวเขาหาได้มีอยู่จริงไม่ การดำรงอยู่ชั่วขณะและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลานั้น คือกระแสการหมุนเวียนของเหตุปัจจัย และพลังงานที่หนุนเนื่องอยู่

(ตัวอย่างการปฏิบัติตามแนวทางทองเลน เช่น ช่วยเหลือผู้ที่ปวดหลัง โดยการนั่งสงบสมาธิ แล้วตั้งจิตแผ่เมตตา แล้วสูดลมหายใจเข้า พร้อมจินตนาการว่าความเจ็บปวดที่หลังนี้เป็นเช่นหมอกควันทึบทมึน ซึ่งกำลังถูกดึงขึ้นมาสู่บริเวณหัวใจ ครั้นแล้วให้ระบายลมหายใจออก พร้อมจินตนาการถึงแสงสว่างสีขาวอันงดงามทรงพลังซึ่งจะนำความทุกข์ทั้งมวลให้ทยอยถ่ายเทออกจากร่าง)

เมื่อมีการปฎิบัติดังกล่าวอยู่เสมอก็จะเกิดเป็นความชำนาญ จากนั้นทั้งความทุกข์กายหรือทุกข์ใจ ก็จะถูกดูดซับแล้วหัวใจจะกลั่นด้วยพลังแห่งความรักความเมตตา กระทั่งทุกข์ทั้งปวงจะถูกถ่ายเทออกจนกระทั่งทุเลาเบาบางและจางคลายไปในที่สุด

 

Where …?

 

ศูนย์อนัมคาราเพื่อปัญญาเมตตาและสันติสุข
271/45 ตรอกวัดท่าตะโก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
ติดต่อ รศ.นพ.ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ
โทรศัพท์ : 083-290-8059
line : drthawatchai
email : drthawatchai@yahoo.com
ติอต่อ อ.ผ่องพรรณ กฤษณะประกรกิจ
โทรศัพท์ : 092-159-6655
line : anamcaragrace

 


 

แหล่งข้อมูล

การศึกษาเรียนรู้

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save