8 ช่องทางความสุข

กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา

มหาวิทยาลัยนาโรปะ (มลรัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา) ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ.1947 โดยผู้นำจิตวิญญาณชาวทิเบต นามว่าเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช เป็นแหล่งที่ริเริ่มแนวคิดเรื่องจิตปัญญาศึกษา สถาบันการศึกษาแห่งนี้โดดเด่นในด้านการยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย เคารพต่อเพื่อนมนุษย์ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การรับฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง การสืบค้นสำรวจภายในตนเอง เพื่อนำสู่การหยั่งรู้อย่างลึกซึ้ง

นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาที่ใช้แนวคิดจิตปัญญาในการจัดการเรียนการสอนยังมีที่ California Institute of Integral Studies (CIS) ประเทศสหรัฐอเมริกา Buddhist Tzu Chi University ประเทศไต้หวัน และ Sathya Institute of Higher Learning ประเทศอินเดีย

ส่วนในประเทศไทยก็มิได้น้อยหน้า โดยทีมี ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (จัดตั้งเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) โดยมีพันธกิจ แห่งการพัฒนากระบวนการและวิธีการเรียนรู้ การวิจัย และฝึกอบรม ด้านจิตตปัญญาศึกษา มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ให้เข้าถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ทั้งยังได้พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านจิตตปัญญาศึกษากับองค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศ (เช่น สถาบันการศึกษาสัตยาไส เสถียรธรรมสถาน สถาบันขวัญเมืองเสมสิกขลัย และสถาบันอาศรมศิลป์) และต่างประเทศ

 

How…?

 

กระบวนการจิตปัญญาศึกษา คือ

การช่วยให้มนุษย์หันกลับมาพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ของตนผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการใคร่ครวญภายในจิตใจก่อนที่จะแสดงออกต่อโลกภายนอก

ปัญหานิรันดร์กาลของผู้คนบนโลกก็คือ ไม่เข้าใจอย่างถ่องแม้ถึงการตัดสินใจ หรือพฤติกรรมในเรื่องต่างๆของตนเอง แม้แต่ “ตนเองคือใคร” ก็ไม่เคยเข้าใจอย่างแท้จริง

คำตอบเหล่านี้จะเข้าถึงได้ก็ต่อเมื่ออาศัยกระบวนการต่างๆที่จะช่วยนำพาให้จิตของเราแววไว ละเอียดละออดและมีสติยิ่งขึ้น รวมทั้งการมีใจที่เปิดกว้างพร้อมที่จะยอมรับสภาวะต่างๆในจิตใจ เมื่อมุ่งมั่นจะปรับเปลี่ยน

กระบวนการเรียนรู้จิตปัญญาศึกษา ประกอบด้วย 3 หัวข้อ ดังนี้

  1. ฟังอย่างลึกซึ้ง ( Deep Listening) คือ ฟังอย่างตั้งใจใส่ใจ ฟังอย่างลึกซึ้งละเอียดละออ การฟังยังหมายรวมถึงการรับรู้ในทาง อื่น ๆ ด้วย เช่น การมอง การอ่าน การสัมผัส ฯลฯ
  2. น้อมใจอย่างใคร่ครวญ (Contemplation) หลังจากฟังอย่างลึกซึ้ง กระบวนการต่อเนื่องก็คือการน้อมใจ ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญด้วยความสุขุมและมีใจที่เปิดกว้างปลอดจากอคติใดๆ จากนั้นก็ลองนำไปสู่ภาคปฏิบัติเพื่อให้เห็นผลจริง
  3. เฝ้ามองเห็นตามที่เป็นจริง (Meditation) การเฝ้าดูธรรมชาติที่แท้จริงของจิต ซึ่งนี่ก็คือการปฏิบัติธรรมภาวนาฝึกสังเกตธรรมชาติของจิต เพื่อให้เห็นถึงสภาวะของการเปลี่ยนแปลง และเหตุปัจจัยต่างๆที่เลื่อนไหลต่อเนื่อง ได้เห็นถึงความเชื่อมโยงจากภายในสู่ภายนอก

ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี ได้อธิบายว่า ว่า

จิตตปัญญาศึกษา คือการศึกษาที่ทำให้เข้าใจด้านในของตัวเอง รู้ตัว เข้าถึงความจริง ทำให้เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโลกและผู้อื่น เกิดความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญา และความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง หรืออีกนัยหนึ่ง เกิดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยเน้นการศึกษาจากการปฏิบัติ เช่น จากการทำงานศิลปะ โยคะ ความเป็นชุมชน การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม สุนทรียสนทนา การเรียนรู้จากธรรมชาติ และจิตตภาวนา

ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ (หนึ่งในผู้ร่วมบุกเบิกศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล) กล่าวไว้ว่า

กระบวนการทางจิตตปัญญาก็เป็นการนำคนมาทำเรื่องง่ายๆ เช่น เอาคนมานั่งคุยกัน เอางานศิลปะมานั่งขีดๆ เขียนๆ ไม่มีกิจกรรมอะไรที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์แพงๆ เลย และมันอยู่ในทุกๆ กิจกรรมของชีวิต พูดคุยกันสองคน เล่าเรื่องราวให้กันฟังก็เป็นจิตตปัญญาศึกษา แต่ก็ขึ้นอยู่ว่าเราตระหนักรู้กับสิ่งเหล่านี้หรือเปล่า หรือรู้จักการรับฟังอย่างลึกซึ้งหรือไม่

การเข้าเวิร์คช็อป จะเป็นตัวสะท้อนความเป็นตัวตนของเขา สิ่งที่เขาทำเป็นประจำในชีวิตประจำวัน เช่น การคุยหรือไม่คุยกับคนที่บ้าน การตอบสนองต่อคนรอบข้าง ความเชื่อหรือสมมุติฐานที่เขามีคืออะไร ทำให้เขาได้มีโอกาสตั้งคำถามกับชุดความเชื่อเดิมว่ามันคืออะไร มีสถานการณ์ให้เข้ามาเรียนรู้ว่าสิ่งที่เขาทำโดยอัตโนมัตินั้นส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้ของเขาและผู้อื่น และเขาจะสร้างความตระหนักรู้ในการใช้ชีวิตประจำวันของเขาได้อย่างไร

“กระบวนการทางจิตตปัญญา” ซึ่งจะนำพาเราไปพบกับรากเหตุแห่งปัญหาหรือที่มาของสภาวะใจของเรา มีทั้งจากศาสตร์ทางโยคะ ศิลปะ จิตอาสา ดนตรีบำบัด สวดมนต์ และ วิปัสสนา ฯลฯ

คนเรามักวนเวียนทุกข์ใจจากสภาวะอารมณ์สารพัด กระบวนการเหล่านี้จะช่วยเยียวยาให้เราคลายทุกข์กระทั่งหลุดพ้นจากความทุกข์อันเกิดจากความกลัว ความวิตกกังวล หรือความต้องการความรัก ความเอาใจใส่ ความต้องการให้ผู้อื่นยอมรับ

เมื่อเราฝึกฝนจนตระหนักรู้ใคร่ครวญตรวจสอบข้างในกระทั่งเข้าสู่กระบวนการแห่งการสลายดับสิ้น สภาวะอารมณ์วนเวียนทั้งหลาย จะไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อใจและการกระทำของเราอีก แล้วเราจะรู้สึกได้ถึงความสมบูรณ์พร้อมโดยไม่ต้องแสวงหาอะไรมาเติมเต็มจิตใจของเราอีกต่อไป เราจะเข้าถึงสุขภาวะทางปัญญา’ เข้าถึงตนเองชัดเจนขึ้น ปิติสุขยิ่งขึ้น

 

Where …?

 

  • ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    999 ชั้น 4 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ ถ.พุทธมณฑลสายสี่ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
    โทรศัพท์ : 02-441-5022-3
    โทรสาร : 02-441-5024
    email : cewww@mahidol.ac.th
    facebook :http://www.facebook.com/cemuthai
    website : http://www.ce.mahidol.ac.th/news-events/
  • ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวณิชย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
    โทรศัพท์ : 07-428-9450-4
    โทรสาร : 07-428-9451
    email : psu-peace@group.psu.ac.th
    website : http://peacestudies.psu.ac.th
  • หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
    สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ถนนนิคมรถไฟสายสอง เขตจตุจักร กรุงเทพ ๑๐๙๐๐
    โทรศัพท์ : ๐๒-๙๓๖-๒๘๐๐
    โทรสาร : ๐๒-๙๓๖-๒๙๐๐
    website : http://www.bia.or.th/html_th/

 


 

แหล่งข้อมูล

การศึกษาเรียนรู้

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save