งานจิตอาสา

จิตอาสาเป็นใจที่นึกถึงผู้อื่น ต้องการช่วยแบ่งเบาความทุกข์ แบ่งปันความสุข คงเป็นเรื่องดีถ้าเราได้ทำงานอาสาเพื่อสังคมขนาดใหญ่ เช่น ดับไฟป่า เก็บขยะในทะเล ปลูกหญ้าทะเล แต่ถ้าเรายังไม่มีเวลาขนาดนั้น เราจะทำงานจิตอาสาเล็กๆ ก็ได้ เช่น การแยกขยะเศษอาหารช่วยให้คนงานเก็บขยะทำงานง่ายขึ้น การสละคิว สละที่นั่งให้ผู้ที่มีความจำเป็นมากกว่า
นอกจากได้ชื่นชมกับผลงานที่เราทำสำเร็จแล้ว ลองสังเกตใจของเราเมื่อได้ทำเรื่องสิ่งเหล่านี้ ลองดูว่าใจของเราในตอนนั้นว่าพองหรือแฟ่บอย่างไร

อาสาข้างเตียง … เราจะก้าวผ่านความทุกข์ยากไปด้วยกัน

“อาสาข้างเตียง” คือ อาสาสมัครผู้อยู่เคียงข้างผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อเป็นกำลังใจ เป็นเพื่อนชวนพูดคุยรับฟัง หรือชวนทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้ป่วยสบายใจ ผ่อนคลายจากความกังวลกลัว ความเงียบเหงา มีชีวิตที่เหลืออย่างมีความสุข และ ก้าวข้ามความทุกข์ยากไปด้วยกัน จริงอยู่ โรงพยาบาลย่อมมีแพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์พร้อมอยู่แล้ว แต่เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า ทุกท่านล้วนแล้วมีภาระหนักอึ้ง การมีจิตอาสาซึ่งมีเมตตาจิตและผ่านการอบรมมาจนมีความเข้าอกเข้าใจผู้ป่วยเป็นอย่างดี ย่อมเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระแก่โรงพยาบาลได้แน่นอน

ธนาคารจิตอาสา : ต้นทุนเพื่อสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ธนาคารนี้คงเป็นแห่งเดียวในเมืองไทยที่ไม่รับฝากเงินทอง แต่รับบริจาค “เวลา” ! ภายใต้ 3 ภารกิจหลัก นั่นคือ ระบบฝากเวลา (Time Bank) ปฐมนิเทศและการอบรม (Orientation and Training) งานอาสาสัมพันธ์ (VRM-Volunteer Relation Management) แม้ธนาคารน้องใหม่ดังกล่าว

ธรรมยาตรา : การดำเนินด้วยธรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ธรรม ธรรมะ[ทํา ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม คําสั่งสอนในศาสนาฯ ยาตร ยาตรา [ยาด, ยาดตฺรา] ก. เดิน, เดินเป็นกระบวน ธรรมยาตรา (ธรรม +

เปิดใจใสๆ กับวิชา ‘ความสุข’

‘ชีวิต คือ การเรียนรู้’ เป็นวลีฮิตที่เราได้ยินกันบ่อยมาก ซึ่งถ้าไม่นับการเรียนวิชาการในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่หลายคนรู้สึกแสนจะหนักและเหน็ดเหนื่อย ลองย้อนกลับไปดู ‘วิชาชีวิต’ ที่เราได้เรียนรู้จากโลกนอกห้องเรียนอันกว้างใหญ่กันบ้างดีกว่า ประสบการณ์ชีวิตครั้งไหนที่ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงความสุขที่แท้จริงบ้าง? ถ้ายังนึกไม่ออก….ขอให้ลองกลับไปนึกถึงครั้งที่คุณได้มีโอกาสเป็น ‘ผู้ให้’ เพราะนั่นคือบทเรียนสำคัญที่สุดบทหนึ่งของการเรียนรู้วิชา ‘ความสุข’ ที่แท้จริง… วันนี้ความสุขประเทศไทย ชวนคุณมาเปิดใจใส ๆ เรียนรู้ความสุขจากการเป็นผู้ให้กับ ผศ.ดร.จงดี โตอิ้ม

ความสุขในโลกใต้น้ำ

ท่ามกลางอากาศร้อนในเดือนเมษายน ความสุขประเทศไทยขอชวนไปทำความดีที่ได้ทั้งความเย็นกายเย็นใจกับเจ้าของรางวัล The Giver Award สาขาความสุขจากการสัมผัสธรรมชาติ ‘ดร.อาทร นกแก้ว’ ผู้เลือกกิจกรรมดำน้ำเก็บขยะ สร้างประโยชน์ให้ทั้งกับตัวเอง ท้องทะเล และสังคม “ผมชอบดำน้ำเพราะเป็นคนชอบธรรมชาติ การดำน้ำเปิดมุมมองให้ผมได้เรียนรู้โลกใบใหม่ที่เราไม่คุ้นเคย ทุกครั้งที่ได้ลงน้ำผมมีความสุขอยู่แล้ว แต่ว่าการที่ลงไปดำน้ำแล้วได้ทำประโยชน์ด้วย มันก็ยิ่งเป็นความสุขอีกต่อหนึ่ง เพราะเป็นความสุขที่มีประโยชน์กับคนอื่นด้วย” ดร. อาทร

เลิกเหล้าตลอดชีวิต ทำความดีถวายพ่อของแผ่นดิน

การตัดสินใจที่จะเปลี่ยนอะไรบางอย่างไปตลอดชีวิต นอกจากต้องอาศัยจิตใจที่เข้มแข็งแล้ว ยังอาจมีแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่บางอย่างซ่อนอยู่เบื้องหลัง ดังเช่นที่ คุณธัชพรรณ บริเพ็ชร ประธานชุมชนบ้านแบบ เขตสาทร กรุงเทพฯ ตัดสินใจกล่าวคำปฏิญาณสาบานตนว่าจะขอ ‘เลิกเหล้าตลอดชีวิต ทำความดีถวายพ่อของแผ่นดิน’ เป็นการหยุดการดื่มเหล้าเพื่อสังสรรค์เฮฮาที่ต่อเนื่องมาตลอดเกือบ 40 ปี โดยไม่เคยนึกลังเลใจเลยแม้แต่น้อย “พี่เริ่มดื่มตั้งแต่อายุประมาณ 15 ปี ถ้ามีงานสังสรรค์อย่าง

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save