
การเคลื่อนไหวร่างกาย
ร่างกายของคุณต้องการการเคลื่อนไหว ซึ่งนั่นไม่ได้ถึงกับการออกกำลังกาย แค่เมื่อร่างกายขยับ ระบบประสาทในตัวคุณจะถูกกระตุ้น ต่อมต่างๆ ในร่างกายตื่นตัว และช่วยให้กระปรี้กระเปร่า
เป็นเรื่องดีมากหากคุณได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ มันดีต่อสุขภาพในระยะยาว และก็ดีมากๆ เช่นกันถ้าคุณจะขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน เดินบ้าง ลุกขึ้นจากเก้าอี้ทำงานมาขยับแขนขาบ้าง หรือแม้แต่ขณะที่แปรงฟัน หรือเคี้ยวอาหาร ลองรับรู้การเคี้ยว การขยับของปาก ลิ้น ฟัน คุณจะรับรู้ได้ว่าคุณโชคดีและร่ำรวยมากที่ยังมีฟัน มีลิ้นที่คอยรับรสอาหาร ยิ่งสังเกตบ่อยๆ จะยิ่งรู้ว่าร่างกายนี้เป็นบ่อเกิดของความสุข
ความสุขจากการเคลื่อนไหว
โยคะ : เพื่อสมดุลแห่งกาย – จิต และวิญญาณ
โยคะ คือศาสตร์โบราณที่มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ซึ่งสั่งสมองค์ความรู้มานานนับพันปี (หลักฐานเก่าแก่ที่สุดคือไม้แกะสลักและศิลปะปูนปั้นรูปการฝึกโยคะเมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช โดยนักโบราณคดีพบที่หุบเขาอินดัสวอลเลย์ ซึ่งอยู่ในดินแดนปากีสถานในปัจจุบัน)
Aikido : ผนึกพลังอย่างสมดุล
คำว่า “ไอกิโด” มาจากตัวอักษร คันจิ 3 ตัว : 合 – Ai (ไอ) – ผนวก, เป็นอันหนึ่งอันเดียว 気 – Ki (คิ) – เลือดลม
ฮ่องกงคนขยันเดินที่สุดในโลกและช่วยส่งเสริมสุขภาพ
ทุกๆ ปีมีผู้คนราว 5.3 ล้านคนตายจากสาเหตุง่าย ๆ คือ เคลื่อนไหวร่างกายน้อยเกินไป ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากรูปแบบการทำงานที่วันๆ นั่งทำงานเฉยๆ และการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันที่น้อยเกินไป องค์การอนามัยโลกพบว่าการนั่ง ๆ นอนๆ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ ความดันโลหิตสูง กระดูกผุ และมีผลทางใจ
โยคะเก้าอี้
อยากเล่นโยคะ แต่อายุมาก ปวดข้อ ทรงตัวไม่ดี ยืนได้ไม่นานลอง “โยคะเก้าอี้” ซึ่งมีงานวิจัยรองรับว่า ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดที่ข้อ ทำให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากขึ้น ปัจจุบันมีคนหลายล้านคนเจ็บป่วยจากโรคข้อเสื่อมโดยเฉพาะที่บริเวณส่วนล่างของร่างกาย เช่น สะโพก เข่า ข้อเท้า หรือที่เท้า การทำโยคะเก้าอี้ สามารถลดความเจ็บปวด ช่วยลดการใช้ยา (ลดผลข้างเคียงจากการใช้ยา) และเพิ่มคุณภาพชีวิตได้
เส้นทางความสุข : การเคลื่อนไหวร่างกาย
ถ้าเราทำความเข้าใจกับเนื้อตัวร่างกายของเราเองอย่างลึกซึ้ง จะเห็นว่าร่างกายที่มันขับเคลื่อนไปนี้มีสิ่งซึ่งสถิตอยู่ข้างในก็คือ ‘ใจ’ ทำอย่างไรให้กายกับใจอิงอาศัยซึ่งกันและกันอย่างเกื้อกูล ตั้งแต่เราเริ่มจำความได้ นับจากวัยเด็กเล็กที่เริ่มเรียนรู้จักร่างกาย ตลอดชีวิตที่ผ่านมาเราเฝ้าสาละวนแต่งเสริมเติมสวยให้อวัยะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เราอยากแข็งแรง อยากสูง อยากผอม อยากดูดีในสายตาของคนอื่นๆ….แต่จะมีสักครั้งไหม ที่เราจะหันมาตระหนักว่า แท้จริงแล้วร่างกายนี้คือพื้นที่อันเป็นที่อยู่ของ ‘ใจ’ ซึ่งเราควรจะเฝ้าดูแลและพิจารณาเพื่อให้นำทางเราไปถึงซึ่งความสุขที่ยั่งยืน
ผสานพลังการทำสมาธิ + การวิ่ง ลดความคิดฟุ้งซ่านและอาการซึมเศร้าได้
เสริมพลังต้านความฟุ้งซ่าน ด้วยการผนวกการทำสมาธิเข้ากับการออกกำลังกาย งานวิจัยใหม่พบว่าการผสมผสานการทำสมาธิและการวิ่งจะช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยได้ และทำให้คนธรรมดามีสมาธิดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นด้วยเช่นกัน มาลองทำกันดูไหม…? อาการอย่างหนึ่งที่พบในผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า คือ ไม่สามารถหยุดคิดถึงเรื่องที่เศร้าๆ และความหลังฝังใจได้ อาการคิดซ้ำๆ ย้ำไปมานี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วน คือ prefrontal cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับความสามารถในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และสมองส่วน hippocampus