8 ช่องทางความสุข

ฮ่องกงคนขยันเดินที่สุดในโลกและช่วยส่งเสริมสุขภาพ

ทุกๆ ปีมีผู้คนราว 5.3 ล้านคนตายจากสาเหตุง่าย ๆ คือ เคลื่อนไหวร่างกายน้อยเกินไป ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากรูปแบบการทำงานที่วันๆ นั่งทำงานเฉยๆ และการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันที่น้อยเกินไป องค์การอนามัยโลกพบว่าการนั่ง ๆ นอนๆ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน  เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ ความดันโลหิตสูง กระดูกผุ และมีผลทางใจ ทำให้เป็นโรคซึมเศร้าและกังวล

นักวิจัยจาก Standford ใช้โทรศัพท์มือถือในการติดตามระดับกิจกรรมของคนหลายแสนคนทั่วโลกผ่าน application Azumio Argus พบว่าโรคอ้วนในแต่ละประเทศมีความสัมพันธ์กับระดับการเคลื่อนไหวร่างกายในแต่ละวัน งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature โดยใช้ข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือของคนจำนวน 717,527 ใน 111 ประเทศ เป็นเวลา 95 วัน

nature23018-f1_cr

จากข้อมูลพบว่าชาวฮ่องกงมีอัตราการเดินเฉลี่ยสูงเป็นอันดับหนึ่งที่ 6,880 ก้าวต่อวัน อันดับสองคือชาวจีนแผ่นดินใหญ่ มีอัตราการเดินเฉลี่ย 6,189 ก้าวต่อวัน และอันดับสามคือชาวยูเครน มีอัตราการเดินเฉลี่ย 6,107 ก้าวต่อวัน ส่วนชาวอินโดนีเซียถูกจัดอยู่ในอันดับสุดท้ายด้วยอัตราการเดินเฉลี่ยเพียง 3,513 ก้าวต่อวัน เมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 4,961 ก้าวต่อวัน


ผลการสำรวจยังพบว่า “ความไม่เท่าเทียมทางการเดิน” (activity inequality) ซึ่งหมายถึงช่องว่างระหว่างคนที่เดินมากที่สุดกับคนที่เดินน้อยที่สุดในประเทศหรือภูมิภาคแห่งใดแห่งหนึ่งจะสะท้อนความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วน ประเทศที่คนมีความไม่เท่าเทียมทางการเดินสูงสุด จะมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนมากกว่าคนในประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมทางการเดินต่ำ ห้าประเทศแรกที่ประชากรส่วนมากขยันเดิน คือ ฮ่องกง จีน สวีเดน เกาหลีใต้ และ สาธารณรัฐเชค ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่ 22 ส่วนประเทศที่แย่สุด 5 อันดับสุดท้าย คือ ซาอุดิอาระเบีย ออสเตรเลีย แคนาดา อียิปต์ และ สหรัฐอเมริกา

Image result for people walking san francisco

ดำเนินสะดวกก็จะเดินมาก

นักวิจัยยังพบว่าการเดินมากหรือน้อยในแต่ละเมืองขึ้นกับ “ความสะดวกในการเดิน” หรือความน่าเดินของแต่ละเมืองด้วย ดังนั้น การออกแบบเมืองจึงมีผลต่อสุขภาพของผู้คนด้วย ตัวอย่างเช่น เมืองสามเมืองในแคลิฟอร์เนียที่อยู่ใกล้กัน คือ ซาน ฟรานซิสโก, ซาน โฮเซ่ และ ฟรีมอนต์ พบว่า ซาน ฟรานซิสโก มีความน่าเดินที่สุดจึงมีระดับของ “ความไม่เท่าเทียมทางการเดิน” ต่ำ หมายความว่าทุกคนสามารถเดินได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก คนแก่ หรือแม้แต่คนอ้วน

ทั้งนี้ คณะนักวิจัยหวังว่าการศึกษาดังกล่าวจะช่วยให้บรรดานักวางนโยบายรอบโลกออกแบบชุมชนหรือเมือง ที่ส่งเสริมกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย (physical activity) มากขึ้น เพื่อสุขพลานามัยที่แข็งแรงของประชาชน

ที่มา
http://activityinequality.stanford.edu/
http://www.nature.com/nature/journal/vaop/ncurrent/full/nature23018.html?foxtrotcallback=true

Counting steps via smartphones reveals intriguing clues about obesity


http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9600000072301
ภาพ https://sf.curbed.com/2016/6/17/11966668/walkability-san-francisco-pedestrian-friendly-best

การเคลื่อนไหวร่างกาย

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save