การศึกษาเรียนรู้

หลายคนคุ้นเคยกับเรียนรู้ด้วยการอ่านหนังสือ บางคนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ บ้างเรียนรู้ผ่านการฟัง การเรียนรู้ทำให้โลกของเรากว้างใหญ่ ทำให้ตัวเราเล็กลงเพราะตระหนักได้ว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่เราไม่รู้ การเรียนรู้จึงมอบความอ่อนน้อมถ่อมตน การยอมรับความผิดพลาด ยอมรับความล้มเหลว ยอมรับข้อจำกัดและความไม่รู้ของตัวเรา สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีความสุขได้ง่ายขึ้นมาก
การเรียนรู้ไม่ได้เป็นเพียงการเข้าใจเนื้อหา หรือได้รู้เรื่องแปลกใหม่เท่านั้น เมื่อคุณเปิดใจให้กับเรื่องที่ไม่คุ้นเคย วางใจให้ตัวเองได้ลองในสิ่งที่ไม่เคยทำ คุณจะพบความสุขในตัวเองจากการเรียนรู้

เปิดโลกการเรียนรู้คนรุ่นใหม่กับ ดร. อดิศร จันทรสุข

ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี บรรยากาศเปิดปีการศึกษาใหม่คึกคักไปด้วยนักศึกษาที่เพิ่งผ่านรั้วโรงเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัย คนหนุ่มสาวในวัยแสวงหาความหมายต่างก้มหน้าก้มตามองดูหน้าจอมือถือของตนเอง   บ้างอ่านข่าวสารอัพเดทในโลกสังคมออนไลน์ บ้างค้นหาสินค้าไอทีรุ่นใหม่ บ้างค้นหาผลิตภัณฑ์เสริมความงามไปจนถึงสถาบันลดความอ้วน

สนทนาค้นหาความเข้าใจ วิถีไดอะล็อก

บางคนที่เคยเข้าวง ‘ไดอะล็อก’ อาจรู้สึกว่า ก็แค่ตั้งวงสนทนา โดยนั่งล้อมกันเป็นวงกลมเท่านั้น แม้การไดอะล็อกส่วนใหญ่ เราจะนิยมนั่งล้อมพูดคุยเป็นวงกลม ไม่ว่าจะนั่งกับพื้นหรือเก้าอี้ก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียง ‘รูปแบบภายนอก’ เท่านั้น เรียกได้ว่ายังห่างไกลกับ ‘ความพิเศษ’ ของกระบวนการไดอะล็อกอยู่มากทีเดียว ก่อนที่เราจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการสนทนาแบบไดอะล็อก สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือต้องแยกแยะ ‘ความแตกต่าง’ ระหว่างการสนทนาไดอะล็อก กับการสนทนารูปแบบอื่นๆ ในหนังสือ The Magic of Dialogue (2001) โดย Daniel

สถาบันโพชฌงค์ จุดเริ่มต้นสู่ความสุขวงกว้าง

ผมมองความสุขวงใน เหมือนการโยนก้อนหินลงไปในน้ำ เกิดเป็นระลอกน้ำเล็กๆ แล้วก็แผ่ขยายวงกว้างออกไป เริ่มจากตัวเราเองตอนที่มาสอนหรือมาเรียนก็เป็นความสุขเล็กๆ ของเรา และขยายเป็นความสุขวงใหญ่ของกลุ่มคนที่มาเรียนด้วยกัน ท้ายสุดมันก็สะท้อนออกไปเมื่อเรานำความรู้นี้ออกไปใช้ข้างนอก วงความสุขของเราก็จะใหญ่ขึ้น นี่คือทัศนคติเปื้อนยิ้มของคุณธนาทัศน์ เส็งชา ผู้อำนวยการสถาบันโพชฌงค์ สถาบันที่ยกให้ความสมดุล ความสมบูรณ์ ความมีคุณค่า และความเบิกบานเป็นคุณค่าหลักขององค์กร

มา ‘ดูใจ’ กับเราไหม

ดีมาก ขอบคุณ สำหรับวงสนทนาดีๆ ขอบคุณสำหรับ Present perfect มาแล้วรู้สึกสบายใจ บางอย่างก็ abstract (นามธรรม) มาก แต่ดีใจมากๆ กับพี่ๆ น้า ดีใจที่ได้เจอกับทุกๆ คน ขยายโลกของหนู Thanks for Quality

“จริยศิลป์” ศิลปะและสุนทรียะเพื่อการภาวนา

ชายชราวัย ๖๘ ปี เข้ามาจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการเรียนศิลปะ เหล่านักเรียน เดินไปรอบๆ ด้วยความตื่นเต้น เมื่อจัดวางเสร็จเรียบร้อยก็อธิบายสั้นๆ ถึง การลอกลาย ตามอย่างลายครู ที่นอกจากอาศัยความนิ่งของมือแล้ว ยังต้องอาศัยความนิ่งของใจด้วย โดยไม่ได้บรรยายอะไรมากก็ให้ลูกศิษย์ทั้งหลายลงมือ ระหว่างนี้สิ่งที่อาจารย์ชวนคุยชวนทำไม่ใช่เรื่องของการวาดภาพ แต่เป็นการให้ทุกคนย้อนมองตนเอง พูดคุย และตั้งข้อสังเกตบางอย่างระหว่างที่ลูกศิษย์กำลังวาดภาพอย่างขะมักเขม้น

DIY Your Heart คู่มือออกแบบความสุขด้วยตนเอง

  ร่างกายต้องการน้ำ อากาศ และปัจจัยสี่ ส่วนจิตใจต้องการความสุข หากขาดน้ำ อากาศ และปัจจัยสี่ ชีวิตอยู่ไม่ได้ฉันใด หากขาดความสุข ก็ไม่อยากมีชีวิตอยู่ฉันนั้น คนจำนวนมากแม้มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย แต่เมื่อหาความสุขไม่พบ ก็หมดกำลังใจในการมีชีวิต และเลือกที่จะจากโลกนี้ไป

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save