การสัมผัสธรรมชาติ

เมื่อพูดถึงธรรมชาติเรามักนึกถึงป่า ภูเขา ทะเล สวนสาธารณะ หรือการดูดาว การได้ใช้เวลาให้กับสิ่งเหล่านี้เป็นระยะๆ ย่อมดีต่อใจเรา แต่หากเราใช้ชีวิตในเมืองและไม่มีโอกาสแบบนั้น เราก็ยังสามารถสัมผัสธรรมชาติได้ตลอดเวลา เพราะธรรมชาติอยู่ใกล้เรากว่าที่คิด
ลองให้เวลากับตัวเองสัก 5 นาที มองต้นไม้ใบหญ้าใกล้ตัว ชมดอกไม้ เงยหน้ามองฟ้า วางโทรศัพท์มือถือแล้วฟังเสียงที่เกิดขึ้นรอบตัว เสียงลม เสียงของความเงียบ หรือเสียงของความคิด ลองเปิดดวงตา เปิดหู เปิดประสาทสัมผัสของเราให้รู้จักผืนดิน ไอแดด หยดน้ำ สิ่งเหล่านี้คือการได้สัมผัสกับธรรมชาติ

ถ่ายรูปท้องฟ้า 5 ขั้นตอน ใน 7 วัน

 

ท้องฟ้าไม่เคยเหมือนกันเลยสักวัน และเรากำกับท้องฟ้าไม่ได้ บางวันท้องฟ้าสีคราม บางวันฟ้าหม่น บางวันฟ้าใส บางวันเมฆเยอะ บางวันมีพระอาทิตย์ทรงกลด

 

อ่านต่อ

 

 

โรงเรียนแปลงผักอินทรีย์ (ตอนที่ 1)

“พวกเรามาทำงานก็เหมือนมาโรงเรียน ปลูกผักอินทรีย์ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก“ ในบ่ายวันที่แดดร้อนเปรี้ยงจนแทบจะละลาย ทีมงานความสุขประเทศไทยนั่งพักหลบแดดสนทนาสบายๆ ใต้อาคารเล็กหลังหนึ่งในบริเวณวัดนักบุญอักเนส จ.ราชบุรี กับ 3 นักเรียนโรงเรียนชีวิต เจ๊มะ เจ๊แจ๋ว และพี่วีระ ทีมงานโครงงานพัฒนาต้นแบบแหล่งผลิตพืชผักปลอดสารเคมี ชุมชนคาทอลิก นักบุญอักแนส สนับสนุนโดย สสส. ซึ่งประโยคข้างต้นคือประโยคที่เจ๊แจ๋ว – เพยาว์

‘โคริงกะ’ ดอกไม้จัดใจ (ตอนที่ 1)

การจัดดอกไม้โคริงกะ ไม่มีสูตรตายตัว ทุกอย่างเป็นไปตามความงามของดอกไม้ที่แต่ละคนมองเห็น เรียกได้ว่ายิ่งเรียนรู้การจัดดอกไม้โคริงกะมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมองเห็นใจของตนเองชัดขึ้นเท่านั้น พวกเรามักชอบเปรียบความสุขในใจกับแบตเตอรี่โทรศัพท์ เวลาชีวิตชักไม่ค่อยสุข คำที่ใช้กันบ่อยคือ แบตหมด แบตเสื่อม หลายคนจึงใช้เวลาออกไปท่องเที่ยวกับธรรมชาติเพื่อ “ชาร์จแบต ให้มีพลังกลับมาสู้ต่อ” ฟังดูราวกับว่าในธรรมชาติมี ‘พลังแห่งความสุข’ ให้เราได้ตักตวงอย่างมหาศาล ? ‘โมกิจิ โอกาดะ‘ ศิลปิน

‘ศิลปะจากธรรมชาติ’ เรียนรู้และเยียวยาชีวิต

ธรรมชาติสวยงามและยุติธรรมที่สุด การเข้าใกล้ธรรมชาติ ก็เหมือนเข้าใกล้ธรรมะ ถ้าเราไม่ต้านทาน ไม่ฝืน เราก็จะพบว่าทั้งสุขทั้งทุกข์ในชีวิตมันเป็นธรรมชาติทั้งคู่ ภาพหยดน้ำค้างกลมๆใสๆ ต้องประกายแสงอาทิตย์ กำลังทิ้งตัวลงมาบนใบไม้เรียวยาวสีเขียวสด ตรึงสะกดทุกสายตาให้ต้องหยุดมอง ความรู้สึกขณะจับจ้องเกิดเป็นความนิ่ง สงบ ณ ช่วงเวลานั้นคล้ายความงดงามจากธรรมชาติ กำลังเปิดดวงตาด้านในของเราให้มองเห็นสัจธรรมความจริงในชีวิต ขณะเดียวกันก็ต่อเติมกำลังใจที่เหนื่อยล้าของเรา ให้เต็มเปี่ยมด้วยความหวังและเกิดความสุขขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

เปิดหัวใจใน ‘ห้องเรียนธรรมชาติ’

….วันนี้อยากจะมาชวนคุยเรื่อง ดิน ฟ้า อากาศ…. สมัยก่อนหากวงสนทนาใด เปิดประเด็นว่าด้วยการคุยเรื่องดินฟ้าอากาศ คงมีความหมายแค่การคุยเรื่องสัพเพเหระทั่วไป แต่ในสมัยนี้ที่ดินฟ้าอากาศของเราช่างแปรปรวนนัก ฤดูกาลต่างๆ ทั้ง ร้อน ฝน หนาว สลับสับสน ยังมีภัยแล้ง น้ำท่วม พายุหิมะ แผ่นดินไหว สึนามิ ผลัดกันเข้ามาย่ำยีให้โลกของเรากลายสภาพเหมือนผู้ป่วยหนัก

ธรรมชาติช่วยให้เรามีความเอื้ออาทรมากขึ้น

ลองดูภาพสองภาพนี้นิ่งๆ สักพัก….แต่ละภาพทำให้คุณรู้สึกต่างกันอย่างไรบ้างครับ นักวิจัยพบว่าธรรมชาติช่วยให้เรามีความเอื้ออาทรกันมากขึ้น นักวิจัยจาก University of California Berkeley ให้ผู้ร่วมทดลองดูภาพวิวธรรมชาติที่สวยงามและสังเกตพฤติกรรมระหว่างการเล่มเกมทางเศรษฐศาสตร์สองเกม คือ Dictator Game และ Trust Game ซึ่งวัดความเอื้อเฟื้อและความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ตามลำดับ พบว่าผู้ที่ชมภาพธรรมชาติที่ยิ่งสวยเท่าไรก็จะมีความเอื้อเฟื้อและความไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้นเท่านั้น ในอีกการทดลองหนึ่งที่ญี่ปุ่น ผู้ร่วมทดลองได้ถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม

เส้นทางความสุข : การสัมผัสธรรมชาติ

การพัฒนาอะไรก็ตามที่ทำให้ยากขึ้น ซับซ้อนขึ้น มักนำไปสู่ความเสื่อม แต่การพัฒนาที่ทำให้ง่ายขึ้น เบาขึ้น ถือเป็นการทำให้ดีขึ้น การดูแลใจของเราก็เช่นกัน วิถีธรรมชาติที่พาให้เราสงบ เบา สบาย ย่อมทำให้เราเกิดสุขภาวะทางปัญญาได้ แม้มนุษย์และธรรมชาติจะพึ่งพาอาศัยกันมาเนิ่นนาน ทว่าวิถีการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันกลับกำลังค่อยๆ แยกมนุษย์ให้ห่างไกลออกจากธรรมชาติไปทุกที จนหลายครั้งทำให้เราหลงลืม วิ่งวนเพื่อค้นหาวิธีเอาชนะ ขัดขืน ฝืนธรรมชาติ จนลืมไปว่านั่นคือหนทางที่พาเราให้ออกห่างจากความสุขที่แท้จริงไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้ตัว

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save