8 ช่องทางความสุข

ทำงานแล้วความคิดตีบตัน ลองปล่อยใจฝันตามคำแนะนำของนักวิจัยดู

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ daydreaming

ความสามารถในการจดจ่อ การมีสมาธิกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวผลักดันสำคัญสู่ความเป็นเลิศ เทคนิคต่างๆ ที่เราใช้กัน เช่น การทำรายการสิ่งที่ต้องทำ การทำตารางการทำงาน การแจ้งเตือนจากปฏิทิน ล้วนช่วยให้เราทำงานลุล่วง เหล่านี้เป็นสิ่งที่คงไม่มีใครค้านแน่นอน แถมยังมีหลักฐานว่า การทำสมาธิแค่วันละ 10 นาที ช่วยเพิ่มประสิทธิผลของความเป็นผู้นำ โดยช่วยให้คุณสามารถจัดการกับอารมณ์และเข้าใจเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วได้ดีขึ้น

เอาล่ะ แม้ความสามารถในการมีสมาธิจดจ่อจะเป็นเรื่องดีแน่นอน แต่ก็มีข้อน่ากังวล เพราะการจดจ่อมากเกินไป ทำให้วงจรในสมองของคุณอ่อนล้า และทำให้คุณหมดพลังและเสียการควบคุมตนเอง นอกจากนั้นยังทำให้คุณวู่วาม และให้ความช่วยเหลือและร่วมมือกับผู้อื่นน้อยลง แล้วตกลงจะให้ทำอย่างไร จดจ่อ หรือ ไม่จดจ่อ?

งานวิจัยแนะว่า ทั้งการจดจ่อ และ ไม่จดจ่อ ล้วนมีความสำคัญยิ่ง สมองทำงานได้ที่ที่สุดเมื่อมีการสลับกันระหว่างการ จดจ่อ และ ไม่จดจ่อ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีความยืดหยุ่น มีความคิดสร้างสรรค์ และตัดสินใจได้ดีขึ้น

นักวิจัยพบว่าเมื่อคุณไม่พยายามจดจ่อกับอะไรเลย วงจรสมองส่วนที่เรียกว่า DMN จะเริ่มทำงาน แม้ในขณะที่คุณพักวงจรสมองส่วนนี้ก็ใช้พลังงานถึง 20% ของพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายใช้ เพราะในช่วงพักนี้ สมองจะมีการเรียกความทรงจำเก่าๆ กลับคืนมา คิดไปมาระหว่างอดีต ปัจจุบัน อนาคต หรือ เอาความคิดต่าง ๆ มารวมกันใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้คุณมีความสึกรู้ตัวตนที่ดีขึ้นและช่วยให้คุณสามารถหาคำตอบให้กับปัญหา หรือคาดเดาสิ่งที่จะเกิดในอนาคตได้ ทำให้การตัดสินใจดีขึ้น และสมองส่วนนี้ยังช่วยให้เราเข้าถึง เข้าใจแนวคิดของคนอื่น ๆ ได้ ทำให้ช่วยเพิ่มความร่วมมือระหว่างทีม

ในระหว่างวันที่เราทำงาน เราจะมีวิธีสามารถกระตุ้นวงจรสมองส่วนนี้ได้อย่างไร

1. positive constructive daydreaming (PCD) เป็นการปล่อยใจที่ไม่ใช่การฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ  เริ่มจากการทำโดยใช้กิจกรรมที่ใช้พลังงานต่ำๆ เช่น การถักไหมพรม การทำสวน การอ่านหนังสืออ่านเล่นเบา ๆ จากนั้นค่อยๆ ปล่อยใจไป แต่สิ่งนี้ไม่ใช่การฝันกลางวันเรื่อยเปื่อย คุณอาจเริ่มจากการจินตนาการถึงสิ่งที่น่าสนุก เช่น การวิ่งไปในป่า หรือ การนอนพักบนเรือยอร์ช จากนั้นเอาความสนใจของคุณจากโลกข้างนอกไปไว้ที่โลกด้านใน ขณะที่ทำกิจกรรมเบา ๆ นั้นไปด้วย จากการศึกษาหลายทศวรรษ พบว่าการทำเช่นนี้ เทียบได้กับการเปลี่ยนอุปกรณ์กินอาหาร การจดจ่อนั้นเปรียบเหมือนกับการใช้ส้อมจิ้มความคิดที่คุณมีสติรับรู้ขึ้นมา แต่ PCD เหมือนกับการใช้ตักอาหารหรือที่เป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของคุณ เช่น กลิ่นของบุคคลใกล้ชิด หรือเหมือนกับ ตะเกียบ ที่ช่วยเชื่อมโยงความคิดเข้าด้วยกัน หรือ เหมือนกับช้อนไขกระดูกที่สามารถแทรกตัวไปในส่วนเล็กๆ ของสมอง เพื่อดึงความทรงจำที่เป็นส่วนหนึ่งของตัวคุณที่อาจจะลืมไปแล้วให้กลับมา ดังนั้น การกระทำเช่นนี้จะทำให้คุณตระหนักถึงตัวตนของตนเองมากขึ้น จำได้ว่าตัวเองคือใคร มาจากไหน เคยผ่านอะไรมาบ้าง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความเป็นผู้นำ

2. งีบหลับ นักวิจัยพบว่า หลังจากการนอน 10 นาที สมองจะโปร่งและมีความตื่นตัวสูงขึ้น แต่หากมีงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ คุณอาจต้องการการหลับยาวถึง 90 นาที เพื่อจะทำให้สมองสดชื่นเหมือนใหม่ เพราะสมองต้องการเวลานานขึ้นเพื่อจะเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และขุดเอาไอเดียที่ซุกซ่อนอยู่ขึ้นมา

3. แสร้งทำเป็นคนอื่น หากคุณคิดอะไรไม่ออก การเลิกจดจ่ออาจช่วยได้เมื่อคุณลองเล่นเป็นคนอื่นที่มีบุคลิกแตกต่างจากคุณ งานวิจัยเมื่อปี 2016 พบว่า บุคคลจะสามารถแก้ปัญหาที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ได้ดี เมื่อลองทำตัวเป็นกวีที่ทำตัวเพี้ยนๆ จะแก้ปัญหาได้ดีกว่าคนที่ลองทำตัวเป็นบรรณารักษ์ โดยนักวิจัยให้พวกเขาพยายามหาวิธีใช้วัตถุชิ้นหนึ่งให้ได้มากวิธีที่สุด พบว่าคนที่สวมบทบาทเป็นพวกหลุดโลกสามารถหาวิธีใช้วัตถุได้มากกว่า

เมื่อหัวตันลองใช้วิธีนี้ดู มันช่วยให้คุณหลุดจากกรอบความคิดของตัวเอง และให้คุณคิดจากมุมมองของคนอื่น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ daydreaming

การจดจ่อถูกจัดว่าเป็นความสามารถที่สำคัญมานานหลายปี เพราะเราใช้เวลา 46.9% ปล่อยใจล่องลอยไปที่อื่น ที่ไม่ใช่งานตรงหน้า ทำให้พวกเราอยากเพิ่มความจดจ่อให้มากขึ้น แต่กระนั้น หากเราทำ PCD งีบหลับบ้าง และ ลองเล่นเป็นคนอื่นบ้าง เราก็จะสามารถรักษาความสามารถในการจดจ่อในเวลาที่มันเป็นที่ต้องการจริง ๆ และใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ที่สำคัญว่านั้น การไม่จดจ่อจะช่วยอัพเดทข้อมูลในสมองและให้เราเข้าถึงส่วนที่ลึกๆ ในตัวตนของเรา เพิ่มความว่องไว ความคิดสร้างสรรค์และช่วยการตัดสินใจให้ดีขึ้น

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก

https://hbr.org/2017/05/your-brain-can-only-take-so-much-focus

http://www.cameronherold.com/blog/wp-content/uploads/2016/06/Focus.png

การทำงาน

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save