ศิลปะ
บทความรายเดือน:
- June 2022 (7)
- March 2022 (3)
- February 2022 (1)
- January 2022 (1)
- December 2021 (6)
- November 2021 (6)
- October 2021 (11)
- September 2021 (16)
- August 2021 (5)
- July 2021 (11)
- June 2021 (7)
- May 2021 (13)
- April 2021 (2)
- March 2021 (1)
- February 2021 (1)
- January 2021 (2)
- November 2020 (1)
- October 2020 (3)
- August 2020 (1)
- July 2020 (12)
- June 2020 (1)
- May 2020 (12)
- April 2020 (65)
- March 2020 (40)
- December 2019 (1)
- November 2019 (1)
- October 2019 (2)
- September 2019 (3)
- August 2019 (3)
- July 2019 (6)
- June 2019 (4)
- May 2019 (1)
- April 2019 (3)
- March 2019 (2)
- February 2019 (1)
- January 2019 (4)
- December 2018 (5)
- November 2018 (3)
- October 2018 (3)
- September 2018 (1)
- August 2018 (2)
- July 2018 (2)
- June 2018 (2)
- May 2018 (3)
- April 2018 (5)
- March 2018 (3)
- February 2018 (4)
- January 2018 (4)
- December 2017 (4)
- November 2017 (2)
- October 2017 (2)
- September 2017 (59)
- August 2017 (41)
- July 2017 (4)
- June 2017 (4)
- May 2017 (5)
- April 2017 (4)
- March 2017 (4)
- February 2017 (5)
- January 2017 (5)
- December 2016 (3)
- November 2016 (5)
- October 2016 (1)
- September 2016 (2)
- August 2016 (1)
- July 2016 (3)
- June 2016 (5)
- May 2016 (6)
- April 2016 (4)
- March 2016 (5)
- February 2016 (3)
- January 2016 (4)
- December 2015 (6)
- November 2015 (9)
- October 2015 (13)
- September 2015 (13)
- August 2015 (11)
- July 2015 (8)
- June 2015 (9)
- May 2015 (9)
- April 2015 (6)
- March 2015 (7)
- February 2015 (4)
- January 2015 (12)
- December 2014 (26)
- November 2014 (14)
- October 2014 (15)
- September 2014 (15)
- August 2014 (15)
- July 2014 (12)
- June 2014 (5)
- May 2014 (10)

พระจันทร์พเนจร ความสุขของคนเล่นเงา
“เราเป็นคนขี้อาย การเล่นหุ่นเงาทำให้เรารู้สึกเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด เพราะไม่ต้องออกไปแสดงหน้าเวที เรารู้สึกสนุกที่ได้ใช้หุ่นเป็นสื่อเพื่อบอกเล่าเรื่องราวปัญหาของสังคมโดยไม่ต้องมีใครมองเห็นเรา”
มณฑาทิพย์ สุขโสภา หรือ ทิพย์บอกถึงเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการเลือกอยู่ด้านหลังฉากสีขาวมาตลอดเวลากว่ายี่สิบปีที่ผ่านมาภายใต้ชื่อคณะละครเงาที่หลายคนคุ้นหูกันดีว่า “พระจันทร์พเนจร” หรือชื่อเต็มว่า “พระจันทร์พเนจร และการเดินทางที่ไม่สิ้นสุด ”
อ่านต่อ...
Music Sharing สร้างดนตรีในหัวใจเด็กด้อยโอกาส
ดนตรีอาจสร้างจุดเปลี่ยนของชีวิตใครหลายคน สำหรับเด็กด้อยโอกาสแล้ว การเล่นดนตรีสักชิ้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่ต้องมีครูมาช่วยสอนและชี้แนะ หากมีใครสักคนนำเครื่องดนตรีมาแบ่งปันพร้อมกับครูสอนในชุมชนของเด็กเหล่านี้ เด็กๆ คงจะมีความสุขไม่น้อยเลยทีเดียว
ศิริพร พรมวงศ์ หรือ "ครูแอ๋ม" หนึ่งในผู้ริเริ่มโครงการ Music Sharing แบ่งปันเครื่องดนตรีให้กับกลุ่มเด็กด้อยโอกาสตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว แม้ว่าเธอจะเรียนสายวิชาชีพสาธารณสุข แต่เธอก็หลงรักการเล่นกีตาร์มาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงรวมกลุ่มกับเพื่อนที่เรียนด้านดนตรีมาทำค่ายเด็กด้วยกัน โดยเปิดรับบริจาคเครื่องดนตรีให้น้องๆ ชนเผ่าในจังหวัดน่าน ผลปรากฎว่าเสียงตอบรับดีมากจนเครื่องดนตรีมากเกินจำเป็นสำหรับเด็กในพื้นที่เดียว
อ่านต่อ...
เรียนรู้นิทานธรรมผ่านศิลปะบนตาลปัตร
เมื่อพูดถึงธรรมะ คนส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ ยิ่งการสอนธรรมะให้เด็กด้วยแล้ว โอกาสที่เด็กจะง่วงหงาวหาวนอนจึงมีมากกว่าจะเข้าใจแก่นธรรมะ ทว่า หากธรรมะถูกนำมาบอกเล่าผ่านนิทานสนุกๆ พร้อมภาพวาดสวยงาม การฟังธรรมะก็คงไม่น่าเบื่ออีกต่อไป
เมื่อ 20 ปี ก่อน พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ ช่วยครูบาอาจารย์ที่วัดจัดโกดัง พบตาลปัตรเก่ามากมายที่ต้องนำออกมาเผาทิ้ง ก็คิดหาทางว่าจะนำมาใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง “ตอนหลังมีโอกาสไปสวนโมกข์ เห็นอาจารย์พุทธทาส ท่านเอาตาลปัตรมาเขียนว่าการทำงานคือการปฏิบัติธรรม เขียนหลายอย่าง เราพอจะวาดภาพเป็นบ้าง ชอบศิลปะ มีการเอาภาพมาวาดบนตาลปัตร ภาพวาด 8 ภาพมีคนชื่นชม หลังจากนั้นมีเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยภาพในตอนนี้”
อ่านต่อ...
ส่งมอบความรักศิลปะสู่คนรุ่นใหม่จากใจครูเป้ สีน้ำ
ณ โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เด็กหนุ่มวัยมัธยมร่างสูงโปร่งสวมแว่นตากำลังนั่งหลังงอก้มหน้ากดดูโทรศัพท์มือถือตามประสาวัยรุ่นทั่วไประหว่างนั่งรอครูสอนศิลปะเตรียมอุปกรณ์วาดรูปอยู่ในบริเวณเดียวกัน พอถึงเวลาเริ่มเรียนพื้นฐานการวาดรูป หนุ่มน้อยเงยหน้าขึ้นมองครูแต่หลังยังโก่งงอเหมือนเดิม ครูจึงกล่าวตักเตือนให้เปลี่ยนอริยาบทใหม่ก่อนเริ่มสอน “นักวาดรูปต้องไม่นั่งก้มหน้า หลังงอ เพราะจะทำให้องศาในการวาดเปลี่ยน เด็กรุ่นใหม่ติดนิสัยก้มหน้ามองมือถือ ชอบนั่งหลังงอ เสียบุคลิกภาพ และส่งผลต่อการวาดรูปด้วย” น้ำเสียงจริงจังของครูทำให้หนุ่มน้อยรีบยืดตัวนั่งหลังตรง แววตาครูสอนศิลปะที่ยืนอยู่เบื้องหน้าแสดงความห่วงใยศิษย์อย่างจริงใจ ไม่ว่านักเรียนที่มาตามหาความสุขจากการวาดรูปที่โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำแห่งนี้จะเป็นรุ่นเล็กวัยอนุบาลหรือรุ่นสูงวัย ทุกคนล้วนสัมผัสได้ถึง “ความปรารถนาดี” จากครูสอนศิลปะที่ชื่อ "ครูเป้ สีน้ำ" ได้เป็นอย่างดี “ครูรู้ดีว่าเด็กไม่ชอบให้โดนตำหนิ แต่มันต้องเป็นความกล้าหาญของครูที่จะยอมให้ลูกศิษย์เกลียดหรือโกรธ ถ้าครูดุเด็กถึงความบกพร่องจนเขาโกรธ แล้วไม่ลืมความบกพร่องตรงนี้ ความโกรธก็จะเป็นประโยชน์ ความยากของการเป็นครู คือ จิตวิญญาณความเป็นครูไม่มีขาย ถ้าเรามีกล่องดวงใจครูใส่ตู้หยอดเหรียญขายก็คงจะดี แค่เอาเหรียญไปหยอดตู้ เอากล่องดวงใจมาใส่ แล้วไปทำหน้าที่ครู ที่เหลือก็คงจะง่าย” [caption id="attachment_7416" align="aligncenter" width="600"] ครูเป้กำลังสอนเด็กๆ ที่มาเรียนศิลปะที่โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำ (ขอบคุณภาพจาก FB โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำ)[/caption]
เรียนรู้สัจธรรมผ่านการวาดรูป
ถ้าใครเคยมี “ปมศิลปะ” บอกกับตัวเองเสมอว่า “วาดรูปไม่สวย” แล้วได้มาเรียนวาดรูปกับครูเป้ รับรองว่า “ปม” ที่เคยถูกมัดไว้ในใจจะได้รับการคลี่คลายกลายเป็นความสุขจากการวาดรูปแทนเพราะครูสอนศิลปะท่านนี้มักจะบอกศิษย์ทุกคนว่า “ไม่มีใครวาดรูปไม่สวย” ในโลกของศิลปะงานทุกชิ้นมีความงามในแบบของตนเอง คนที่กังวลใจคิดว่าตนเองวาดรูปไม่สวย แสดงว่าคนนั้นอยากเป็น “นักก้อปปี้ภาพ” ให้เหมือนต้นแบบ มากกว่า อยากเป็น “จิตรกร” ผู้สร้างสรรค์ผลงานอย่างอิสระ ที่โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำแห่งนี้มีหลักสูตรสอนศิลปะที่ออกแบบโดยครูเป้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะหลักสูตรสั้นวันเดียวจบหรือหลักสูตรยาวหลายวัน เด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ ครูสอนศิลปะท่านนี้สามารถถ่ายทอด “หัวใจ” ของการวาดรูปออกมาได้อย่างลึกซึ้ง จนสามารถ “คลี่คลายปม” ในใจของคนที่อยากวาดรูปแต่ใจไม่กล้าพอได้อย่างง่ายดาย “เราต้องใช้หลักการวาดรูป ถ้าไม่มีหลักการ เราก็จะด้นไปตามที่เราเข้าใจ พอถึงระยะหนึ่งก็จะเริ่มเบื่อ แต่ถ้าเราวาดโดยมีความรู้และความเข้าใจในหลักการ เราจะไม่เคยรู้สึกเบื่อ เพราะเมื่อเราเข้าใจจากภายในจนเราวาดรูปได้แล้ว เราก็จะวาดได้ตลอดไป เหมือนคนว่ายน้ำเป็นหรือถีบจักรยานเป็นแล้วก็จะทำได้ไปตลอดชีวิต เพราะความรู้ไม่ได้หายไปไหน แต่ถ้าใครฝึกเฉพาะทักษะโดยปราศจากความรู้ พอไม่ได้วาดนานๆ จะกลับมาวาดอีกทีอาจวาดไม่ได้แล้ว การทำงานแบบไม่มีหลักการจะไม่สามารถทำซ้ำแล้วได้ผลแบบเดิม กลายเป็นตำราหรือทฤษฎีไม่ได้ เป็นแค่ทักษะส่วนบุคคลที่ไม่สามารถสอนให้คนอื่นทำตามได้” [caption id="attachment_7419" align="aligncenter" width="580"] ครูเป้กำลังสอนเรื่องทฤษฎีการใช้สีน้ำก่อนพาลงเรือในคอร์สล่องเรือวาดรูป (เครดิตภาพ : วันดี สันติวุฒิเมธี)[/caption] หลักสูตรศิลปะของครูเป้จะเน้นการวาดรูปจากสิ่งที่มองเห็นในธรรมชาติ อาทิ ต้นไม้ สายน้ำ หรือวิวทิวทัศน์รอบๆ หลักการวาดรูปที่ทุกคนจะได้เรียน คือการวาดรูปภายในรูปทรงกลม ซึ่งเป็นวิธีฝึกวาดรูปสำหรับมือใหม่ที่ทำได้ไม่ยาก “คำว่า ‘รูป’ คือสิ่งที่เราสัมผัสทางตา เป็น perspective ของแสง ดวงตาจึงเป็นเครื่องมือวาดรูปที่สำคัญ เราต้องบันทึกสิ่งที่สายตาเห็นตามแนวองศา ระยะ มิติ โดยเริ่มจากการวาดวงกลมตามกลุ่มของวัตถุที่ตามองเห็น พอได้กลุ่มแล้ว การทำงานของเราจะง่ายขึ้น เพียงแค่ใส่รายละเอียดย่อยลงไป เปรียบเหมือนการปลูกบ้านต้องกระจายออกทั้ง 360 องศา เพิ่มน้ำหนักไปตามลำดับจากอ่อนไปเข้มตามสิ่งที่สายตามองเห็น ตรงไหนโค้งก็โค้ง หลักการสำคัญคือต้องอยู่ในความกลม เพื่อหาขอบเขตในพื้นที่ที่เราวาด ไม่ใช่เดินทางกลางทะเลทรายแบบไร้จุดหมาย” หลังจากมองเห็นวงกลมของวัตถุซ้อนกันอยู่ในภาพแล้ว ครูเป้จะสอนให้ใส่รายละเอียดของกิ่งก้านใบ โดยทำความเข้าใจเรื่องแสงกับเงาก่อนลงมือวาด เพราะนี่คือ “หัวใจ” ของการวาดรูป ซึ่งหากใครเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถวาดภาพที่มีมิติได้อย่างสนุกมากขึ้น “การสร้างภาพให้มีมิติของแสงที่แตกต่างกันทำได้โดยการเพิ่มความเข้มเข้าไปทีละชั้น ส่วนที่ถูกแสงสว่างมากก็ปล่อยเว้นไว้ ไม่ต้องเพิ่มน้ำหนัก ส่วนที่มีความเข้มก็วาดทับเข้าไปทีละชั้น จนกระทั่งความเข้มและความสว่างเกิดการ “เปรียบเทียบ” ชัดเจนมากขึ้นเอง ถ้าเราใส่น้ำหนักความเข้มอ่อนไม่ครบ ภาพก็จะไม่สมบูรณ์” [caption id="attachment_7407" align="alignnone" width="580"] ครูเป้จะเริ่มต้นจากการมองวัตถุเป็นวงกลมก่อนลงรายละเอียดด้านใน (เครดิตภาพ : วันดี สันติวุฒิเมธี)[/caption] การสอนเรื่องมองทุกอย่างให้อยู่ในวงกลมและมิติของแสงนับเป็นก้าวแรกของการเข้าไปสัมผัสความสนุกจากการวาดรูปที่มือใหม่หัดวาดทุกคนสามารถลงมือทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องกังวลถึงความสวยเหมือนต้นแบบแต่อย่างใด รอยยิ้มผ่อนคลายจากการได้จับดินสอขีดเขียนลงบนกระดาษวาดรูปจึงค่อยๆ ปรากฎขึ้นบนใบหน้าของผู้เรียน เพียงไม่นานทุกคนก็ได้ภาพวาดที่สวยงามในแบบตนเอง ครูเป้จึงมักบอกลูกศิษย์เสมอว่า ทุกคนสามารถวาดรูปได้เพราะสิ่งที่ครูนำมาสอนเป็นทฤษฎีของธรรมชาติที่ทุกคนเข้าไปสัมผัสได้ด้วยตนเองเหมือนดังเช่นการค้นพบสัจธรรมในพุทธศาสนาสิ่งที่เราสอนเป็น “สัจจะ” หรือทฤษฎีของธรรมชาติที่จิตรกรทุกคนทั่วโลกก็รู้สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ทฤษฎีของครูเป้ เหมือนสัจจะไม่ได้เป็นของพระพุทธเจ้า เป็นของกลาง เพียงแต่พระพุทธเจ้าเข้าไปพบแล้วหาวิธีอธิบายได้ ศิลปะจึงใกล้เคียงกับศาสนาด้วยเหตุผลนี้[caption id="attachment_7408" align="aligncenter" width="580"] ครูเป้เป็นทั้งครูสอนศิลปะและคนขับเรือพานักเรียนไปวาดรูปริมน้ำ เจอวิวตรงไหนเหมาะสำหรับสอนวาดรูปวิว ครูเป้จะ "ดับเครื่องชน" ปล่อยเรือติดกอผักตบชวาริมตลิ่ง แล้วเริ่มเปิดคลาสกลางแม่น้ำทันที (เครดิตภาพ : วันดี สันติวุฒิเมธี)[/caption]
ความสุขของครูสอนศิลปะ
จิตรกรบางคนอาจเลือกทำงานวาดภาพและขายภาพวาดเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับครูเป้กลับเลือกทำทั้งสองสิ่งควบคู่กันไป เพราะ “ความเป็นครู” อยู่ในดีเอ็นเอมาตั้งแต่เกิด “ผมโตมาในครอบครัวที่พ่อ พี่ชาย น้องชาย และพี่สะใภ้เป็นครู ทำให้เรามีจิตวิญญาณความเป็นครูเต็มเปี่ยม และผมมีครูเยอะมาก แล้วผมก็รักครู ผมมีสำนึกกตัญญูกับครูที่ทุ่มเทสอนผมอย่างเต็มที่ พอถึงวันที่ผมอยากทำอะไรให้เป็นประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ผมก็เลือกที่จะเป็นครู ทำหน้าที่ถ่ายเทประสบการณ์ ส่งไม้ผลัดให้คนอื่นต่อไป ผมสอนมาเกินยี่สิบปีแล้ว ไม่เคยเบื่อการสอนเลย” ครูเป้ถ่ายทอดสิ่งที่มุ่งหวังจากการเลือกทำหน้าที่ครูสอนศิลปะผ่านแววตามุ่งมั่นที่อยากส่งต่อประสบการณ์และความสุขจากการทำงานศิลปะไปสู่คนรุ่นต่อไปเราชอบส่งต่อประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจต่อเนื่องไป แล้วก็ไม่ได้หวังผลสำเร็จในงานของตนเองว่าจะเป็นศิลปินนามอุโฆษ งานที่เราทำอยู่ มันช่วยเยียวยาจิตใจเราทุกครั้ง ทุกครั้งที่เราจรดพู่กัน เราก็ได้พบกับความสุขจากการจรดพู่กันจากภายในของเราทุกวัน มันเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงจิตใจเราให้มีชีวิตอยู่ในวันต่อไป ถ้าตัดความทะเยอทะยานออกไปได้ ชีวิตก็เป็นสุข ไม่ดิ้นรน ไม่แข่งขัน แต่ในทางศิลปะ เราต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ศิลปะมันมีเสน่ห์ตรงนี้ถ้าใครเคยพาลูกมาเรียนศิลปะกับครูเป้ สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่สัมผัสได้คือ นอกจากครูเป้จะทำหน้าที่ครูสอนศิลปะแล้ว ครูคนนี้ยังทำหน้าที่ “อบรมบ่มนิสัย” ราวกับเป็นพ่อคนหนึ่งเลยทีเดียว “ผมเป็นกลาง ไม่ได้เอาใจเด็ก แล้วก็ไม่ได้ไม่เอาใจเด็ก ทุกคนมีอิสระ เราทำหน้าที่ถ่ายทอดสิ่งต่างๆ พูดในสิ่งที่คิดว่ามีประโยชน์กับเด็ก ถ้าเด็กคนไหนง่วงนอน เราก็บอกให้ไปนอน ไม่ต้องถ่างตาเพราะเกรงใจครู ถ้าหายง่วงแล้วค่อยมาฟังต่อ พอหายง่วงก็สดชื่นขึ้น เราก็แค่บอกเด็กว่า ทีหลังอย่านอนดึก เด็กบางคนบอกว่าผมดุ แต่เราดุเพราะเราหวังดี เราต้องมีความกล้าที่จะยอมให้ลูกศิษย์เกลียดและโกรธ เราก็ใช้สิทธิความเป็นครู ส่วนใหญ่พ่อแม่จะชอบที่ผมดุแทน” (พูดแล้วยิ้มตาม) ครูเป้พูดถึงสิ่งที่ต้องระวังในการสอนศิลปะสำหรับเด็กเล็กว่า ครูบางคนอาจทำให้เด็กหวาดกลัวมากเกินไปจนเด็กไม่มีความสุขกับการทำงานศิลปะ “เวลาครูสอนให้เด็กฝึกวาดรูประบายสีให้อยู่ในภาพ ถ้าระบายเลยไปแล้วครูบอกว่าผิด เด็กคนนั้นอาจกลัวการวาดรูประบายสีไปเลย จริงๆ แล้วการระบายเลยออกไปนอกเส้นไม่ใช่เรื่องผิด เพราะในความเป็นจริง เราจะมองเห็นสีจางๆ อยู่รอบๆ วัตถุเป็นเรื่องปกติ เหมือนน้ำหนักของแสงที่กระจายออกไป” เมื่อถามถึงมุมมองต่อการสร้างจินตนาการในงานศิลปะ ครูผู้มากประสบการณ์ตอบคำถามนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า “จินตนาการไม่ใช่สิ่งที่คิดขึ้นมาแบบเลื่อนลอย แต่มันอาจเป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ในความเป็นจริงอีกชั้นหนึ่ง เพียงแต่เป็นความจริงที่ไม่เคยมีคนศึกษามาก่อน เช่น ถ้าเราใช้กล้องถ่ายภาพเจาะเข้าไปถ่ายใกล้ๆ หนวดของแมลงตัวหนึ่ง แล้วขยายสเกลจากมดแมลงมาเป็นสเกลมนุษย์ คนที่ไม่เคยเห็นภาพใกล้ๆ ของหนวดแมลงก็จะเข้าใจว่านี่มันจินตนาการล้ำลึกมากเลย แต่เมื่อศึกษาสิ่งต่างๆ ไปสู่ความเป็นจริง เราอาจพบว่าจินตนาการมันซ้อนอยู่ในความเป็นจริงอีกที และมันถูกนำมาผสมผสานกับประสบการณ์กลายเป็นสิ่งใหม่ที่เราเรียกว่าจินตนาการ” ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูอยากส่งต่อประสบการณ์ความรักงานศิลปะสู่คนรุ่นต่อไป ครูเป้จึงทำโครงการต้นกล้าศิลปะอบรมเด็กในต่างจังหวัดให้สนใจรักสิ่งแวดล้อมผ่านการทำงานศิลปะมาเป็นเวลาเกือบสิบปีแล้ว และยังคงมุ่งมั่นทำต่อไปเพราะต้องการใช้ความรู้และความรักในงานศิลปะตอบแทนบุญคุณแผ่นดินที่เกิดมา
ทุกวันนี้หลักสูตรกระทรวงศึกษาค่อยๆ ถอดวิชาศิลปะออกไปจากรั้วโรงเรียน แล้วเสริมวิชาที่ทำให้เด็กกลายเป็นหุ่นยนต์ ผมจึงทำโครงการจิตรกรรุ่นจิ๋วและโครงการต้นกล้าศิลปะ สอนให้เด็กรักสิ่งแวดล้อม เอาศิลปะมาเป็นสะพานให้เด็กเข้าไปรับรู้ความงามของธรรมชาติ แล้วเกิดสำนึกหวงแหน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ทำลายล้างธรรมชาติ นี่คืองานที่เราอยากจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ในฐานะที่เราเกิดในประเทศนี้ได้บ้าง[caption id="attachment_7417" align="alignnone" width="600"] ขอบคุณภาพจาก FB โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำ[/caption] ทุกวันนี้ครูเป้ยังคงมีความสุขกับการวาดรูปอยู่เสมอ และใช้การวาดรูปเป็นเครื่องพัฒนาจิตใจตนเองไปสู่หนทางพ้นทุกข์โดยไม่ต้องเข้าวัดปฏิบัติธรรมตามรูปแบบ
ถ้าวาดรูปอย่างมีหลักการ เราจะมีความเข้าใจมากขึ้นทุกครั้งที่ลงมือวาด เรียกว่าสอนตนเองได้ หรือ “จิตอบรมจิต” ผมเติบโตไปเรื่อยๆ ไปในทางดิ้นรนหาวิธีพ้นทุกข์ มันยากที่คนจะพ้นทุกข์ แต่ถ้าเรามีการวาดรูปเป็นสิ่งคุ้มครองใจ ทำให้เราได้อยู่กับการพิจารณาตนเอง พิจารณาความเป็นจริง มันทำให้เรายอมรับความเป็นจริงได้มากขึ้น“การวาดรูปของผมจะใช้จิตที่เป็นกลาง จิตที่มีแรงบันดาลใจจากความงาม การวาดรูปสำหรับผมคือความสุข คนเราควรหาอะไรสักอย่างที่ทำแล้วมีความสุข ผมได้ค้นพบสิ่งนี้มาตั้งแต่วัยเด็กและยังคงมีความสุขกับการวาดรูปจนถึงวันนี้

ครูเบลล่า…เปลี่ยนชีวิตคนด้อยโอกาสผ่านเสียงเพลง
ณ เรือนจำหญิง จังหวัดเชียงใหม่ บทเพลง “คนดีไม่มีวันตาย” ถูกถ่ายทอดผ่านเสียงร้องของผู้ต้องขังหญิงอย่างทรงพลัง ความหมายของบทเพลงลึกซึ้งกินใจจนคนร้องและคนฟังน้ำตาซึม “...จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้าถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย” ครูเบลล่า ครูสอนร้องเพลงวัยกว่าห้าสิบปีมองดูบรรดาลูกศิษย์ถ่ายทอดบทเพลงออกมาได้อย่างซาบซึ้งกินใจจนคนฟังและคนร้องน้ำตาซึมไปพร้อมกัน บทเพลงอันทรงพลังได้โบยบินผ่าน "กรงขังทางกาย" สู่เสรีภาพทางใจเพื่อให้ทุกคนกล้าก้าวเดินบนเส้นทางใหม่ที่มีความดีนำทาง อ่านต่อ...
เพลงสร้างสุขปลุกความสร้างสรรค์
งานวิจัยพบว่าเพลงที่ทำให้คุณมีความสุขจะช่วยปลุกความคิดที่หลากหลายได้ดี ทำให้เราได้ไอเดียและหาทางออกให้กับปัญหาได้ นักจิตวิทยาศึกษาผู้ร่วมทดลอง 155 คน อายุช่วงปลายวัยรุ่น พบว่าความคิดของพวกเขาสัมพันธ์กับเพลงที่เขาฟัง เมื่อพูดถึงความคิด นักวิจัยแบ่งความคิดที่ใช้ในการแก้ปัญหาออกเป็นสองแบบ คือ การคิดแบบลู่เข้า คือ การเอาทางเลือกต่าง ๆ มาประเมินหาคุณค่าและหาสิ่งที่ดีที่สุด เป็นวิธีที่เราใช้ในการจดจ่อกับบางสิ่ง เมื่อเรามีข้อมูลในหัวแล้ว และต้องการข้อสรุปที่ดีที่สุด ส่วนการคิดแบบแตกออก คือ การคิดเพื่อหาโอกาส ความเป็นไปได้ใหม่ๆ การเปิดใจ การฝันเฟื่องถึงไอเดียใหม่ ๆ หรือต่อความคิดในแง่มุมใหม่ ๆ จากที่มีอยู่แล้ว อ่านต่อ...
‘โคริงกะ’ ดอกไม้จัดใจ (ตอนที่ 2)
คำว่า 'โคริงกะ' เป็นภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่า 'ดอกไม้แห่งแสงสว่างที่กระจายออกไปเพื่อช่วยเหลือคนอื่น'ซึ่งการที่ดอกไม้สามารถไปช่วยเหลือผู้คนได้นั้น ก็เป็นเพราะว่าผู้ที่เรียนรู้การจัดดอกไม้โคริงกะนั้น อาจสามารถ 'เปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิตได้....ด้วยการจัดดอกไม้เพียงแจกันเดียว' ด้วยหลักการของการจัดดอกไม้โคริงกะ ที่ฝึกให้ผู้จัดดอกไม้นิ่ง กลับมาอยู่กับตัวเองและปัจจุบัน ทำให้คลื่นสมองของผู้จัดเกิดความสงบ คล้ายกับการนั่งสมาธิ จึงมีผู้นำการจัดดอกไม้ไปใช้กับเด็กกลุ่มพิเศษ เด็กออทิสติก ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ ฯลฯ กระบวนการหลักของการจัดดอกไม้คือการทิ้งความคิด ใช้ความรู้สึก จึงทำให้สมองซีกขวาของเรา ที่เต็มไปด้วยความเบิกบาน สร้างสรรค์ ได้รับการกระตุ้นให้ฟื้นคืนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง จึงทำให้มีคนนำการจัดดอกไม้ไปบำบัดผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ฯลฯ อ่านต่อ...
‘โคริงกะ’ ดอกไม้จัดใจ (ตอนที่ 1)
การจัดดอกไม้โคริงกะ ไม่มีสูตรตายตัว ทุกอย่างเป็นไปตามความงามของดอกไม้ที่แต่ละคนมองเห็น เรียกได้ว่ายิ่งเรียนรู้การจัดดอกไม้โคริงกะมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมองเห็นใจของตนเองชัดขึ้นเท่านั้น
พวกเรามักชอบเปรียบความสุขในใจกับแบตเตอรี่โทรศัพท์
เวลาชีวิตชักไม่ค่อยสุข คำที่ใช้กันบ่อยคือ แบตหมด แบตเสื่อม
หลายคนจึงใช้เวลาออกไปท่องเที่ยวกับธรรมชาติเพื่อ “ชาร์จแบต ให้มีพลังกลับมาสู้ต่อ"
ฟังดูราวกับว่าในธรรมชาติมี 'พลังแห่งความสุข' ให้เราได้ตักตวงอย่างมหาศาล ?
'โมกิจิ โอกาดะ' ศิลปิน – นักปรัชญาชาวญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเอ็มโอเอ ซึ่งมีแนวคิดหลักในการนำธรรมชาติและศิลปะมาเยียวยามนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ ได้เคยพูดถึงธรรมชาติไว้ว่า "มนุษย์หายใจอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และเติบโตได้ด้วยพลังจากธรรมชาติ.....ความงามของทัศนียภาพที่ได้ชมจากการท่องเที่ยวในแต่ละฤดูกาลนั้น จะชำระความขุ่นมัวในแต่ละวัน ทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าและมีจิตใจที่ผ่องแผ้ว" อ่านต่อ...‘ศิลปะจากธรรมชาติ’ เรียนรู้และเยียวยาชีวิต
ธรรมชาติสวยงามและยุติธรรมที่สุด การเข้าใกล้ธรรมชาติ ก็เหมือนเข้าใกล้ธรรมะ ถ้าเราไม่ต้านทาน ไม่ฝืน เราก็จะพบว่าทั้งสุขทั้งทุกข์ในชีวิตมันเป็นธรรมชาติทั้งคู่ ภาพหยดน้ำค้างกลมๆใสๆ ต้องประกายแสงอาทิตย์ กำลังทิ้งตัวลงมาบนใบไม้เรียวยาวสีเขียวสด ตรึงสะกดทุกสายตาให้ต้องหยุดมอง ความรู้สึกขณะจับจ้องเกิดเป็นความนิ่ง สงบ ณ ช่วงเวลานั้นคล้ายความงดงามจากธรรมชาติ กำลังเปิดดวงตาด้านในของเราให้มองเห็นสัจธรรมความจริงในชีวิต ขณะเดียวกันก็ต่อเติมกำลังใจที่เหนื่อยล้าของเรา ให้เต็มเปี่ยมด้วยความหวังและเกิดความสุขขึ้นอีกครั้งหนึ่ง อ่านต่อ...
นางฟ้ากระดาษ…ของขวัญเปลี่ยนชีวิต
คุณอาจคาดไม่ถึงว่า การให้ของขวัญเพียงชิ้นเดียว อาจเป็นจุดเริ่มของการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนได้นับพัน ในสามสิบปีต่อมา
Charles และ Shirley Whites ทำงานให้กับ Salvation Army (องค์กรการกุศลของคริสต์) ในช่วงคริสต์มาสพวกเขามีหน้าที่จัดหาของขวัญและเสื้อผ้าให้เด็ก ๆ ยากไร้ ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในรัฐเวอร์จิเนียร์ พวกเขาริเริ่มโครงการ ด้วยการเขียนชื่อของขวัญที่เด็ก ๆ อยากได้ลงไปบนการ์ดที่มีรูปนางฟ้า นำไปแขวนบนต้นคริสต์มาส และผู้ที่มาชอปปิ้งก็สามารถนำการ์ดไปเพื่อหาซื้อของขวัญให้เด็ก ๆ โครงการนี้เริ่มเมื่อปี 1979 และมีเด็กมากกว่า 700 คนที่ได้รับของขวัญผ่านโปรแกรมนี้ และต่อมาเมื่อสื่อเริ่มสนใจประโคมข่าว โครงการนี้ก็ขยายไปทั่วสหรัฐอเมริกา ที่รัฐนอร์ท แคโรไรนา เด็กน้อยชื่อ Jimmy Wayne ได้รับกีตาร์เมื่ออายุ 8 ขวบผ่านโปรแกรมนี้ ใครจะรู้ว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่ทำให้เขากลายมาเป็นนักร้องเพลงคันทรีชื่อดัง เจ้าของผลงานอันดับ 1 เช่น เพลง Do You Believe Me NowJimmy Wayne บอกว่า เขาคงไม่มีวันนี้ ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีรถขับ ไม่มีเสื้อผ้าใส่ ถ้าวันนั้นเขาไม่ได้กีตาร์และเริ่มเรียนดนตรี
ฟังเพลงเศร้า ๆ อาจทำให้เราเป็นสุข
เพลงเศร้า ๆ มีมากมาย ไม่มีใครอยากเศร้าและทุกข์ระทม แต่ทำไมเราถึงชอบฟังเพลงเศร้า ๆ กันจัง (บางทีก็ไม่ได้สูญเสียอะไรในชีวิตจริงนะ)
จากการศึกษาล่าสุดจากมหาวิทยาลัยโตเกียว นักวิจัยให้คน 44 คน ที่เป็นทั้งนักดนตรีและที่ไม่ใช่นักดนตรี ฟังเพลงเศร้า 2 เพลง และเพลงที่เกี่ยวกับความสุข 1 เพลง หลังจากพวกเขาให้คะแนนการรับรู้เกี่ยวกับดนตรีและอารมณ์ของตนเอง
ผู้เข้าร่วมการทดลองบอกว่า เพลงเศร้ากระตุ้นให้เห็นความแตกต่างทางอารมณ์ของเพลงจากอารมณ์ของตนเองมาก เพราะเพลงเศร้านั้นมีความโศกเศร้ามากกว่าอารมณ์ที่พวกเขารู้สึกจริง ๆ นั่นทำให้พวกเขาไม่เศร้ามากนักในสถานการณ์ของตัวเอง (พูดง่าย ๆ คือ คนฟังรู้สึกว่าชีวิตฉันก็ยังดีกว่าเพลง)
เมื่อศิลปะ ทำให้ค้นพบทางออกของชีวิต : คามิน เลิศชัยประเสริฐ
เมื่อศิลปินที่ทำงานศิลปะมาอย่างต่อเนื่อง มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักทั้งใน และต่างประเทศ
เป็นผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่ 31
(31th Century Museum Contemporary of Spirit),
มูลนิธิที่นา (The Land) ตลอดจน อุโมงค์ศิลปธรรม อย่าง คามิน เลิศชัยประเสริฐ
ต้องตอบคำถามหนึ่งของผู้ฟังเกี่ยวกับวิธีการหาทางออกหรือก้าวข้าม ช่วงเวลาที่ชีวิต “ไม่ปกติ”
ทั้งหมดนี้คือศิลปะบำบัด และทางออก ที่คามิน ตอบผ่าน
Art Talk “ชีวิตแห่งเจตจำนง (Life Specific ) : คามิน เลิศชัยประเสริฐ”
ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้สนใจเข้าฟังจำนวนมาก
อ่านต่อ...
งานศิลปะ ปลุกชีวิตใหม่ให้ชุมชนร้าง จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ถ้าเทียบกับเมืองอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา ดีทรอยท์เป็นเมืองจืดชืดที่ไม่ค่อยจะมีใครสนใจเท่าไร แต่ล่าสุด เมืองหลวงแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์ของอเมริกาแห่งนี้ ก็มีจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนใคร นั่นคือ ชุมชนที่บ้านแต่ละหลังถูกสร้างสรรค์ตกแต่งด้วยงานศิลปะที่ทำจากขยะและของเหลือใช้
โปรเจ็กต์นี้เริ่มต้นขึ้นโดยศิลปินชาวดีทรอยต์ Tyree Guyton ตั้งแต่ในปี 1986 อ่านต่อ...

ความสุขจากงานศิลปะ
เมื่อศิลปะทำให้เราเล็กลง เราจะมีความสุข ณ ชั่วขณะที่เราหยุดอยู่กับการชมศิลปะ หรือโมงยามของการจดจ่ออยู่ที่การสร้างงานศิลป์ คือความรื่นรมย์ที่จรรโลงใจ และมันเป็นเช่นนี้ตลอดมาในทุกห้วงเวลาที่เข้าหาศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นการฟังดนตรี เต้นรำ ดูภาพวาด อ่านวรรณกรรม หรือเป็นผู้ผลิตงานศิลป์ประดิษฐ์หัตถกรรม อ่านต่อ...