มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก

สายใยรักกลางชุมชนแออัด

เมื่อเอ่ยคำว่า “ชุมชนแออัด”  ภาพที่คนทั่วไปนึกถึงคือเด็กหน้าตามอมแมม บ้านมุงสังกะสีเรียงต่อกันเป็นแนวยาว ผู้ใหญ่มีอาชีพหาเช้ากินค่ำ เด็กส่วนใหญ่เรียนหนังสือแค่จบชั้นประถมก็ต้องออกมาช่วยพ่อแม่ทำงาน หลายคนมีลูกตั้งแต่วัยทีน ทิ้งให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลาน เมื่อเงินไม่พอใช้ก็เข้าสู่วงจรของยาเสพติดวนเวียนเป็นวัฎจักรเช่นนี้จนเป็นเรื่องธรรมดา โอกาสที่เด็กสักคนจะหลุดพ้นออกจากวังวนปัญหาเหล่านี้จึงเปรียบได้กับแสงเทียนริบหรี่ที่พร้อมจะถูกลมพัดให้วูบดับในชั่ววินาที ชุมชนวัดดวงแขข้างสถานีรถไฟหัวลำโพงนับเป็นชุมชนที่มองหาแสงสว่างแห่งความหวังสำหรับเด็กเยาวชนให้ก้าวเดินออกจากวัฎจักรของเด็กวิ่งยาจนกลายเป็นทาสยาเสพติดได้ยาก  แต่ด้วยเพราะมีผู้หญิงสองคนที่คอยช่วยดูแลสอดส่องให้ความรู้และความรักกับเด็กๆ แทนพ่อแม่ที่ไม่มีเวลาเอาใจใส่   จนเด็กๆ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คิดดี พูดดี ทำดี เปลี่ยนภาพลักษณ์ “เด็กสลัม”

อุ๊ มดงานตัวจิ๋วแต่แจ๋ว

ณ หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ย้อนกลับไปเมื่อ 32 ปีก่อน  เด็กหญิงกรองแก้ว ชัยอาคม หรือ อุ๊ ลืมตาดูโลกด้วยขนาดตัวใหญ่กว่าฝ่ามือเพียงนิดเดียว ด้วยขนาดตัวเล็กจิ๋ว หูได้ยินเสียงแผ่วเบา และเสียงเล็กแหลมเหมือนเด็กน้อย เธอจึงรู้สึกอายไม่กล้าคุยกับใครจนคนส่วนใหญ่คิดว่าเธอเป็นคนใบ้ เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยเรียน เด็กหญิงตัวจิ๋วมักกลับถึงบ้านพร้อมคราบน้ำตาเปรอะเปื้อนบนสองแก้ม เพราะถูกเพื่อนล้อเลียน แกล้งตีและผลักเป็นประจำจนกลายเป็นตัวตลกประจำห้อง แต่หากย่างเท้ากลับเข้าบ้านเมื่อไหร่

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save