สื่อสารกับเด็กในวันที่ต้องสูญเสีย
หากคนในครอบครัวเสียชีวิต การสื่อสารกับเด็กเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงมีแนวทางการสื่อสารเรื่องความตายกับพวกเขาดังนี้
หากคนในครอบครัวเสียชีวิต การสื่อสารกับเด็กเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงมีแนวทางการสื่อสารเรื่องความตายกับพวกเขาดังนี้
.
1. เด็กทารกยังไม่รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับความตาย แต่รับรู้ความเปลี่ยนแปลงได้ ครอบครัวไม่ต้องสื่อสารเรื่องความตายกับเด็ก ให้คงความรัก รักษากิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ ให้ความรัก ความมั่นใจว่าเด็กจะไม่ถูกทอดทิ้ง
.
2. เด็กวัยอนุบาลจะยังไม่เข้าใจความตาย ควรสื่อสารเรื่องการจากไปจากสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น เขาตายแล้ว ต่อไปจะไม่หายใจหรือตื่นขึ้นมาอีก ควรเลี่ยงคำพูดที่ทำให้เด็กสับสน เช่น “เขาไปเที่ยว เขานอนหลับ” เพราะจะทำให้เด็กกลัวการไปเที่ยวหรือนอนหลับ เมื่อบอกความจริง ควรเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความรู้สึก ให้ความมั่นใจว่าเด็กจะได้รับความรัก ไม่ถูกทอดทิ้ง เด็กอาจมีความคิดว่าตนเองเป็นสาเหตุให้คนรักตาย จึงควรแก้ความเข้าใจ และสื่อสารให้เด็กรู้ว่า ไม่ใช่ความผิดเขา
.
3. เด็กวัยประถมจะเริ่มเข้าใจความตายมากขึ้น ผู้ใหญ่จึงสามารถสื่อสาร หรือให้ข้อมูลง่ายๆ ว่าความตายเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่น่ากลัว ไม่จำเป็นต้องเจ็บปวด และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อเด็กถามเพิ่ม
.
4. ในวัยรุ่น เด็กเข้าใจความตายในลักษณะเดียวกับผู้ใหญ่แล้ว สามารถแลกเปลี่ยนพูดคุยสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับความตายและการสูญเสียได้
.
5. ไม่ควรปิดบังว่าคนรักของเด็กตายแล้ว เพราะเด็กจะรู้ความจริงอยู่ดี และรู้สึกเสียดายที่เด็กไม่ได้บอกลา ควรถามเด็กว่าต้องการมีส่วนร่วมในงานอำลา หรือร่วมพิธีศพหรือไม่ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความรู้สึก กล่าวอำลา หรือมีส่วนร่วมในพิธีไว้อาลัย
.
6. พูดความจริง ไม่โกหก ใช้คำพูดที่ง่าย ชัดเจน อ่อนโยน สื่อสารตามวัย พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กถามหรือแสดงความรู้สึก ถ้าหากเด็กถามเรื่องชีวิตหลังความตาย กับผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่อาจเล่าความเชื่อของตนเองได้แบบไม่ยัดเยียด
.
#ดูแลใจผู้สูญเสีย #สูญเสียไม่เสียศูนย์