ดูแลใจผู้สูญเสีย, เคียงข้างผู้สูญเสีย

หวังดีแต่อาจไม่เป็นมิตร มองความเศร้าอย่างเข้าใจเพื่อปลอบโยนผู้สูญเสีย

บางครั้งการปลอบโยนที่ดีที่สุดอาจไม่ใช่คำพูดที่คอยจูงมือให้ก้าวต่อไป แต่เพียงแค่ใครสักคนที่พร้อมรับรู้ความเสียใจไปด้วยกันก็มีค่ามากพอแล้ว

.

1. คำว่าสู้ๆ อาจทำให้ผู้โศกเศร้ารู้สึกเผชิญปัญหาคนเดียว จะดีกว่าหากคุณแสดงออกว่าคุณพร้อมช่วยเหลือและอยู่ข้างๆ เพื่อบรรเทาความรู้สึกโดดเดี่ยว และทำให้เขาผ่อนคลายได้บ้าง

.

2. การอดกลั้นไม่ให้ร้องไห้ อาจทำให้ผู้โศกเศร้าเก็บความรู้สึกไว้ข้างใน ไม่ระบายออกมา ควรเป็นคำพูดที่ทำให้เขารู้ว่าเราจะอยู่ข้างๆ เขาไปจนกว่าเขาจะรู้สึกดีขึ้นแค่นั้นก็เพียงพอแล้ว

.

3. การพูดถึงสังขารที่ไม่เที่ยงนั้นไม่ได้ช่วยให้ผู้สูญเสียเหล่านั้นดีขึ้นได้ เพราะสุดท้าย เหตุผลของความเศร้าคือการจากไปของคนที่เขารัก ทางที่ดี ควรให้กำลังใจกับการจากไปนั้นมากกว่า

.

4. ผู้สูญเสียต้องการเวลาฟื้นตัวเป็นอย่างมาก การบอกให้เข้มแข็งถือเป็นการกดดันที่ไม่ควร สิ่งที่ทำได้คือการเสนอตัวไปอยู่ข้างๆ ให้เขารู้สึกมีที่พึ่ง และผู้รับฟัง

.

5. การจะพูดถึงเรื่องจิตวิญญาณ หรือความเชื่อ ควรพูดไปในทางที่ดีอย่างเช่น ฉันจะสวดมนต์ หรือ ฉันจะทำบุญให้เขานะ เพื่อแสดงถึงความใส่ใจต่อการสูญเสียครั้งนี้

.

6. ความโกรธถือเป็นขั้นที่ 2 ของการรับมือกับความโศกเศร้า ปล่อยให้เป็นไปตามขั้นตอนนั้น แค่พยายามประคองความรู้สึก และเปิดโอกาสรับฟังเพื่อให้เขาผ่านขั้นตอนนี้ไปให้ได้

.

6. บางทีการไม่ต้องพูดอะไรเลย แค่อยู่ข้างๆ ช่วยเหลือและเสียใจไปกับเขา ให้เขาผ่านวันแสนเศร้าไปได้ก็พอ เพราะสิ่งที่ผู้โศกเศร้าต้องการที่สุดคือเพื่อนที่คอยรับฟังและเข้าใจ

.

#ดูแลใจผู้สูญเสีย #สูญเสียไม่เสียศูนย์

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save