2019 September
บทความรายเดือน:
- March 2021 (1)
- February 2021 (1)
- January 2021 (2)
- November 2020 (1)
- October 2020 (3)
- August 2020 (1)
- July 2020 (12)
- June 2020 (1)
- May 2020 (12)
- April 2020 (65)
- March 2020 (40)
- December 2019 (1)
- November 2019 (1)
- October 2019 (2)
- September 2019 (3)
- August 2019 (3)
- July 2019 (6)
- June 2019 (4)
- May 2019 (1)
- April 2019 (3)
- March 2019 (2)
- February 2019 (1)
- January 2019 (4)
- December 2018 (5)
- November 2018 (3)
- October 2018 (3)
- September 2018 (1)
- August 2018 (2)
- July 2018 (2)
- June 2018 (2)
- May 2018 (3)
- April 2018 (5)
- March 2018 (3)
- February 2018 (4)
- January 2018 (4)
- December 2017 (4)
- November 2017 (2)
- October 2017 (2)
- September 2017 (59)
- August 2017 (41)
- July 2017 (4)
- June 2017 (4)
- May 2017 (5)
- April 2017 (4)
- March 2017 (4)
- February 2017 (5)
- January 2017 (5)
- December 2016 (3)
- November 2016 (5)
- October 2016 (1)
- September 2016 (2)
- August 2016 (1)
- July 2016 (3)
- June 2016 (5)
- May 2016 (6)
- April 2016 (4)
- March 2016 (5)
- February 2016 (3)
- January 2016 (4)
- December 2015 (6)
- November 2015 (9)
- October 2015 (13)
- September 2015 (13)
- August 2015 (11)
- July 2015 (8)
- June 2015 (9)
- May 2015 (9)
- April 2015 (6)
- March 2015 (7)
- February 2015 (4)
- January 2015 (12)
- December 2014 (26)
- November 2014 (14)
- October 2014 (15)
- September 2014 (15)
- August 2014 (15)
- July 2014 (12)
- June 2014 (5)
- May 2014 (10)

ความสุขไร้กรอบเพศภาวะของอวยพร เขื่อนแก้ว
เมื่อเอ่ยชื่ออวยพร เขื่อนแก้ว นักสตรีนิยมในสังคมไทยคงคุ้นหูกันดี เพราะผู้หญิงคนนี้ก้าวเดินบนถนนสายนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศมานานกว่าสามสิบปีแล้ว ความสนใจเรื่องประเด็นผู้หญิงของเธอเริ่มขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน ตอนที่รัฐบาลออกนโยบายตั้งกลุ่มแม่บ้านทั่วประเทศ ทำให้เกิดคำถามในใจว่า “รัฐบาลตั้งกลุ่มแม่บ้านนี่มันส่งผลต่อชีวิตผู้หญิงไหม คำตอบที่พบคือมันไม่ได้ช่วย แต่มันผลักให้ผู้หญิงไปอยู่ในกรอบการเป็นภรรยาเป็นแม่ที่ดี ไม่ได้สนับสนุนผู้หญิงให้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ทางการเมือง สังคมและการทำงานที่ดีขึ้น”
นโยบายนั้นจุดประกายให้เธอหยิบหนังสือเกี่ยวกับสิทธิสตรีขึ้นมาอ่าน “นั่นเป็นครั้งแรกที่อ่านหนังสือเฟมินิสต์ พออ่านก็ยิ่งชัด เราเห็นความไม่เป็นธรรมทางเพศมาตั้งแต่เล็กๆ ได้เรียนรู้กับเพื่อนเฟมินิสต์ตะวันตกที่เขาจริงจังเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสิทธิสตรี ซึ่งบ้านเรายังไม่มีขบวนการเคลื่อนไหวเรื่องนี้เลย สังคมเรามีการกดขี่ผู้หญิงอยู่ในทุกระบบ”
อ่านต่อ...
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ มิสเตอร์เตือนภัยพิบัติ
ย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน คนไทยเพิ่งรู้สึกสึนามิเป็นครั้งแรก เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตนับไม่ถ้วน หลายคนเดินทางลงไปช่วยเป็นอาสาสมัครกู้ภัยในรูปแบบต่างๆ ที่ตนเองถนัด ทว่าในอีกซีกโลกหนึ่งของดินแดนอเมริกา นักศึกษาปริญญาเอกด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากประเทศไทยคนหนึ่งกลับไม่ได้นิ่งเฉยกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในแผ่นดินเกิด เขาตั้งคำถามว่า ถ้าเราห้ามแผ่นดินไหวไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้คือการมีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแผ่นดินไหวล่วงหน้าเพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นน้อยที่สุด
“ผมทำบอร์ดไดอารี่ประจำวันเพื่อเก็บข้อมูลด้านภัยพิบัติ วันนี้เกิดพายุที่ไหน ไฟป่าที่ไหน ตื่นเช้าขึ้นมาตีห้าครึ่งจะนั่งหาข่าวก่อนเลย นั่งโพสต์เก็บรวบรวมสถานการณ์ทั่วโลกเลย ผมรู้ว่าแผ่นดินไหวที่ไหน พายุทั่วโลกเป็นยังไง ติดตามเส้นทางเดินพายุเป็นยังไง ตอนนั้นคือทำเองเหมือนงานอดิเรกแทนที่เราจะตื่นเช้าขึ้นมาตีห้าครึ่งเพื่อใส่บาตรเป็นตื่นเช้าตีห้าครึ่งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้วิทยาทาน”
อ่านต่อ...
เดอะเรนโบว์รูม ครอบครัวหัวใจสีรุ้ง
“ความสุขของเราคือการที่เราได้เห็นการเติบโตของครอบครัว ของตัวเด็กเอง ของพ่อแม่ที่มีความเข้าใจ แล้วเราได้ชื่นชมกับพัฒนาการของเขาที่ขยับขึ้นไปข้างหน้าเรื่อยๆ ในจังหวะเวลาของตัวเอง” คุณโรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์ ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ เดอะ เรนโบว์ รูม กล่าวถึงความสุขจากการสร้างเครือข่ายเพื่อครอบครัวเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในสังคมให้กับครอบครัว
คุณโรสค้นพบด้วยประสบการณ์ตรงว่า ความเข้าใจทั้งในระดับครอบครัวและสังคม เริ่มต้นจากคำพูดและทัศนคติ “ก่อนที่จะมีลูกคนเล็ก ลูกคนโต 5 ขวบ เดินมาบอกว่า มัมมี๊ หนูอยากได้น้องสาว เราก็บอกว่าก็ขอพระเจ้าสิ อธิษฐาน หนูลองอธิษฐานดู เขาอธิษฐานไปได้ไม่เท่าไหร่ก็ตั้งท้อง ก็เลยบอกเขา นี่ไงพระเจ้าฟังหนูนะ น้องมาแล้ว เพราะงั้นตอนที่คลอดกเบรียล แล้วมีคำวินิจฉัยว่ามีดาวน์ซินโดรมก็เครียดเหมือนกันว่าจะบอกกับพี่ยังไง ว่าน้องจะไม่เหมือนเด็กคนอื่นๆ”
อ่านต่อ...