2019 June
บทความรายเดือน:
- January 2021 (2)
- November 2020 (1)
- October 2020 (3)
- August 2020 (1)
- July 2020 (12)
- June 2020 (1)
- May 2020 (12)
- April 2020 (65)
- March 2020 (40)
- December 2019 (1)
- November 2019 (1)
- October 2019 (2)
- September 2019 (3)
- August 2019 (3)
- July 2019 (6)
- June 2019 (4)
- May 2019 (1)
- April 2019 (3)
- March 2019 (2)
- February 2019 (1)
- January 2019 (4)
- December 2018 (5)
- November 2018 (3)
- October 2018 (3)
- September 2018 (1)
- August 2018 (2)
- July 2018 (2)
- June 2018 (2)
- May 2018 (3)
- April 2018 (5)
- March 2018 (3)
- February 2018 (4)
- January 2018 (4)
- December 2017 (4)
- November 2017 (2)
- October 2017 (2)
- September 2017 (59)
- August 2017 (41)
- July 2017 (4)
- June 2017 (4)
- May 2017 (5)
- April 2017 (4)
- March 2017 (4)
- February 2017 (5)
- January 2017 (5)
- December 2016 (3)
- November 2016 (5)
- October 2016 (1)
- September 2016 (2)
- August 2016 (1)
- July 2016 (3)
- June 2016 (5)
- May 2016 (6)
- April 2016 (4)
- March 2016 (5)
- February 2016 (3)
- January 2016 (4)
- December 2015 (6)
- November 2015 (9)
- October 2015 (13)
- September 2015 (13)
- August 2015 (11)
- July 2015 (8)
- June 2015 (9)
- May 2015 (9)
- April 2015 (6)
- March 2015 (7)
- February 2015 (4)
- January 2015 (12)
- December 2014 (26)
- November 2014 (14)
- October 2014 (15)
- September 2014 (15)
- August 2014 (15)
- July 2014 (12)
- June 2014 (5)
- May 2014 (10)

จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด
“จุดสำคัญคือความรู้สึก มันเป็นเรื่องปกติที่เราจะคุ้นเคยกับการทำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา ต้องย้ำว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนที่เราไปทำเรื่องของคนอื่น มองดีๆ มันเป็นเพราะโอกาสที่เราได้มี โอกาสที่เราเกิดคิดเรื่องนี้ขึ้นมา ถ้าไม่มีโอกาสนั้นเราก็ทำแต่เรื่องของตัวเราเอง โอกาสจะมากขึ้นด้วยความรู้สึก ฉะนั้นในห้องเรียนจะทำยังไงให้ความรู้สึกเหล่านั้นปรากฏ มันมีหน้าที่เหล่านั้นอยู่ในห้องเรียน มันได้ทำให้ความรู้ถูกใช้ไปในลักษณะที่มันแตกต่าง ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ถึงคิดแต่ตัวเลขไม่ค่อยได้สนใจเรื่องอื่น ต้องตอบว่าเพราะเราใส่ความรู้สึกไปไม่มากพอในเนื้อหา ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญและเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์”
ข้อความข้างต้นคือ “ความรู้สึก” ของเดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีต่อการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์ในบ้านเราที่ให้ความสำคัญแต่กับความรู้ หลงลืมความรู้สึก จนสร้างนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจแต่ตัวเลขไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นไปอื่นในสังคม เขาพยายามสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นในห้องเรียนเพื่อให้เกิดนักเศรษฐศาสตร์สายพันธุ์ใหม่ที่มองเห็นโลกว้างไกลกว่าตัวเลข และเครื่องมือที่เขาหยิบมาใช้เพื่อเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนของเขาคือเกม ที่เขาเรียกว่า “เถื่อนเกม” ที่ทำให้เนื้อหายากๆ กลายเป็นการเรียนรู้ด้วยความสนุก เต็มด้วยกระบวนการที่ไม่เพียงส่งเสริมให้เกิดความรู้ แต่รวมถึงมุมมอง ทัศนคติ และความคิดที่เปลี่ยนแปลงไป
อ่านต่อ...
เยียวยากายและใจด้วยอาชาเพื่อนรัก
เมื่อเอ่ยชื่อครูอุ้ย-อภิสิรี จรัลชวนะเพท คนในวงการศึกษาทางเลือกต่างเคยได้ยินชื่อเสียงของเธอกันมานานกว่าสามสิบปี เพราะเธอคือผู้ก่อตั้งอนุบาลบ้านรัก และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาแนววอลดอร์ฟรุ่นบุกเบิกของเมืองไทย รวมทั้งยังได้รับรางวัลอาโชก้า ในฐานะ "นักบริหารงานเพื่อสร้างสรรค์สังคม” และได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรด้านการศึกษามานับไม่ถ้วน
ภาพความสำเร็จในชีวิตของผู้หญิงผมสั้นสีสีดอกเลาท่าทางทะมัดทแมงคนนี้ ก้าวเข้ามาในชีวิตตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีไม่นาน วงรอบชีวิตการทำงานของเธอหมุนเร็วกว่าเพื่อนวัยเดียวกันทั่วไป เพราะเธอทำทุกอย่างด้วยหัวใจและทุ่มเทจนสุดกำลัง
ทว่า ความสำเร็จที่ได้เปรียบเสมือนเหรียญสองด้านที่สามารถทำให้ชีวิตพลิกผันได้เสมอ เมื่อโชคชะตาเล่นตลกกับผู้หญิงทะมัดทแมง ทำอะไรคล่องแคล่วว่องไว ใจเดินเร็วกว่าสองเท้า ต้องกลายเป็นคนที่ถูกบังคับให้เดินช้าลงและทรมานจากอาการเจ็บปวดตั้งแต่กระดูกก้นกบ สะโพก เข่า ลงมาจนถึงปลายขา ครูอุ้ยจึงเริ่มมองหาหนทางบำบัดเยียวยาร่างกายของตนเองให้กลับสู่สมดุลอีกครั้ง โดยเลือกเส้นทางของอาชาบำบัด...บนเส้นทางสายนี้ เธอได้ค้นพบ “เพื่อนรักสี่ขา” ที่พร้อมช่วยพยุงร่างกายและหัวใจของเธอให้ก้าวข้ามความหวาดกลัวต่างๆ ที่อยู่ตรงหน้า เรียนรู้การสื่อสารผ่าน “ภาษากาย” ไปด้วยกันจนกระทั่งเธอและอาชาเพื่อนรักเคลื่อนไหวกลายเป็นหนึ่งเดียว
อ่านต่อ...
เพชร มโนปวิตร ความสุขของนักอนุรักษ์จากภูเขาถึงทะเล
เด็กชายที่ชอบอ่านหนังสือและดูสารคดีชีวิตสัตว์โลก ใช้เวลาส่วนใหญ่ในรั้วมหาวิทยาลัยหมดไปกับกิจกรรมชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ เริ่มงานแรกในชีวิตด้วยการเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ข้ามฟ้าไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านนิเวศวิทยาเขตร้อน ที่มหาวิทยาลัยเจมส์คุ๊ก ประเทศออสเตรเลีย ขณะทำวิจัยเรื่องนกกินแมลงในป่าฝนเขตร้อนก็หาเวลาไปเรียนดำน้ำและท่องโลกใต้ทะเลที่เกรทแบริเออรีฟไปด้วย พอกลับมาเมืองไทยสานต่องานอนุรักษ์กับองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติหลายแห่งตั้งแต่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society) สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wide Fund for Nature) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ปัจจุบันกลับไปทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่องเครือข่ายพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในประเทศไทย ที่มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ประเทศแคนาดา
เพชร มโนปวิตร ชายหนุ่มวัย 40 กลางๆ คือเจ้าของประวัติชีวิตนี้ ชีวิตที่เต็มไปด้วยการเดินทางท่ามกลางธรรมชาติและกิจกรรมการอนุรักษ์ ชีวิตที่ความสุขวนเวียนอยู่กับผืนป่าและท้องทะเล
อ่านต่อ...
ส่งความรักผ่านการออกกำลังกายจากแม่สู่ลูกภาวะออทิสติก
ณ สนามกีฬาโรงเรียนแห่งหนึ่งย่านจังหวัดนนทบุรี ชายหนุ่มร่างท้วมวัยสามสิบปีกำลังฝึกซ้อมวิ่งด้วยแววตามุ่งมั่น รอยยิ้มเหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสาส่งให้หญิงวัยหกสิบปีที่ยืนอยู่ข้างสนามด้วยความรัก หลังฝึกจบ ชายหนุ่มเดินมากอดและหอมหญิงสูงวัยผู้ทุ่มเทชีวิตทุกลมหายใจเพื่อทำให้ลูกชายที่มีภาวะออทิสติกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
วรรณวิชญ์ เหล่าตระกูลงาม หรือ ปาล์ม เป็นลูกชายคนโตของทรรศน์วรรธ์น เหล่าตระกูลงาม หรือแม่อู๊ด แม่เลี้ยงเดี่ยวลูกสองผู้ตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อทุ่มเทเวลาดูแลลูกตั้งแต่ลูกอายุได้ 8 ปี แม่อู๊ดเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของลูกตั้งแต่อายุ 4 ขวบ เพราะลูกไม่พูดและไม่สบตาใคร สนใจบางเรื่องเป็นพิเศษ หลังจากพาลูกไปตรวจกับแพทย์จึงพบว่าลูกชายเป็นภาวะออทิสติก ด้วยสมัยนั้นความรู้เกี่ยวกับภาวะออทิสติกยังไม่แพร่หลาย แม่อู๊ดจึงต้องแสวงหาวิธีบำบัดลูกด้วยตนเองแบบ “บ้านๆ” ด้วยการหาของใช้ในบ้านมาช่วยฝึกพัฒนาการให้ลูก อาทิ การฝึกให้สบตาคนด้วยการหากล่องทีวีขนาดใหญ่ หันฝาด้านบนลงมาตั้งกับพื้น แล้วให้ลูกเข้าไปนั่งอยู่ในนั้นเพื่อสบตามองแม่ระหว่างพูด ไม่วอกแวกไปไหน เป็นต้น
อ่านต่อ...