2018 October
บทความรายเดือน:
- January 2021 (2)
- November 2020 (1)
- October 2020 (3)
- August 2020 (1)
- July 2020 (12)
- June 2020 (1)
- May 2020 (12)
- April 2020 (65)
- March 2020 (40)
- December 2019 (1)
- November 2019 (1)
- October 2019 (2)
- September 2019 (3)
- August 2019 (3)
- July 2019 (6)
- June 2019 (4)
- May 2019 (1)
- April 2019 (3)
- March 2019 (2)
- February 2019 (1)
- January 2019 (4)
- December 2018 (5)
- November 2018 (3)
- October 2018 (3)
- September 2018 (1)
- August 2018 (2)
- July 2018 (2)
- June 2018 (2)
- May 2018 (3)
- April 2018 (5)
- March 2018 (3)
- February 2018 (4)
- January 2018 (4)
- December 2017 (4)
- November 2017 (2)
- October 2017 (2)
- September 2017 (59)
- August 2017 (41)
- July 2017 (4)
- June 2017 (4)
- May 2017 (5)
- April 2017 (4)
- March 2017 (4)
- February 2017 (5)
- January 2017 (5)
- December 2016 (3)
- November 2016 (5)
- October 2016 (1)
- September 2016 (2)
- August 2016 (1)
- July 2016 (3)
- June 2016 (5)
- May 2016 (6)
- April 2016 (4)
- March 2016 (5)
- February 2016 (3)
- January 2016 (4)
- December 2015 (6)
- November 2015 (9)
- October 2015 (13)
- September 2015 (13)
- August 2015 (11)
- July 2015 (8)
- June 2015 (9)
- May 2015 (9)
- April 2015 (6)
- March 2015 (7)
- February 2015 (4)
- January 2015 (12)
- December 2014 (26)
- November 2014 (14)
- October 2014 (15)
- September 2014 (15)
- August 2014 (15)
- July 2014 (12)
- June 2014 (5)
- May 2014 (10)
โนรา…รอยยิ้ม…และการโบยบินของผีเสื้อวัยเยาว์
อย่าให้ชุมชนขาดศิลปะ เพราะศิลปะช่วยขัดเกลาจิตใจคนให้มีความสุขได้เสียงกลอง ฉิ่ง ฉับ กรับ โทน ที่ประสานกันดังขึ้นจากฝีมือการบรรเลงของกลุ่มผู้สูงอายุ ส่งเสียงเรียกร้องให้สายตาหลายคู่หันไปจับจ้องด้วยความสนใจ หลายครอบครัวจูงลูกจูงหลานเดินยิ้มร่าเข้าไปให้กำลังใจถึงหน้าเวทีจำลองเล็ก ๆ ที่เป็นเพียงแผ่นไม้ยกสูงขึ้นกว่าสนามหญ้าเพียงไม่กี่นิ้ว เสียงปรบมือดังขึ้นรัวเมื่อเพลงพื้นบ้านภาคใต้เพลงสุดท้ายบรรเลงจบ ก่อนที่รอยยิ้มผู้ชมจะคลี่บานขึ้นอีกครั้ง พร้อม ๆ กับการมาถึงของเด็กหญิงตัวน้อยผู้ออกมาทั้งร้องและร่ายรำท่วงทำนอง 'โนรา' ศิลปะประจำถิ่นของภาคใต้ เทริดน้อย ๆ บนศีรษะขยับไหวเป็นจังหวะ พร้อมผ้าห้อยสีสันสดสวยที่ปลายเล็บของนิ้วน้อย ๆ ขยับกรีดกรายคลี่ให้บานสวยราวกับปีกของผีเสื้อที่พร้อมจะโบยบินไปตามความฝัน สมดังชื่องานพัทลุงยิ้มปีนี้ ....'ปล่อยให้ผีเสื้อโบยบิน'.... สำหรับผู้มาเยือน ภาพการแสดงโนราของเด็กน้อยที่เห็นนี้ อาจเป็นเพียงความเพลิดเพลินที่จุดรอยยิ้มด้วยความเอ็นดู แต่สำหรับ 'นธี แสงอำไพ' แกนนำเยาวชนอาสาเครือข่ายพัทลุงยิ้ม จ.พัทลุง แล้ว โนราที่เด็กน้อยกำลังร่ายรำ คือ 'สื่อสร้างสรรค์' ที่เป็นเหมือนสะพานเชื่อมร้อยศรัทธาของชุมชนและความฝันของเยาวชนเข้าไว้ด้วยกัน
เราต้องถ่ายทอดโนราต่อให้เด็ก สร้างพื้นที่ให้เด็กได้มีโอกาส ถ้าเด็กมาเรียนรู้วัฒนธรรม มาทำงานศิลปะ มาทำงานอาสาสมัคร มันจะช่วยลดปัญหาความรุนแรงได้จากเยาวชนจิตอาสา...สู่โนรามืออาชีพ ย้อนกลับไปเมื่อ 13 ปีที่แล้ว ด.ช.นธี แสงอำไพ ก็เหมือนเด็กคนอื่น ๆ ใน ต.นาโหนด ที่วิถีชีวิตวนเวียนอยู่กับการเรียนและเล่นสนุก จนกระทั่งได้มาพบกับกลุ่มเครือข่ายพัทลุงยิ้ม ที่เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนอย่างนธีได้พบตัวตนและความฝันอีกด้านหนึ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน "เริ่มแรกเรามาเป็นเด็กค่าย ค่ายเป็นพื้นที่อิสระให้เด็กได้ค้นหาและพัฒนาตัวเอง การเรียนในระบบโรงเรียนทำให้เราได้เรียนรู้ส่วนหนึ่ง แต่กิจกรรมทำให้เราได้ค้นพบและพัฒนาตัวเอง" นธีเล่าถึงจุดเริ่มต้น งานของเครือข่ายพัทลุงยิ้ม โดยการสนับสนุนของ สสส. คือการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชนให้เด็กและเยาวชนอาสาสมัครในชุมชน ได้มีพื้นที่ทั้งเชิงกายภาพและพื้นที่ทางความคิดในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ครั้งนั้นนธีและเพื่อน ๆ ทำกิจกรรมลงไปค้นหา 'ขุมทรัพย์' ในชุมชน จนได้ค้นพบกับศิลปะการร่ายรำที่เต็มไปด้วยพลังและสีสันของท่วงทำนองเร้าใจที่ชื่อว่า 'โนรา' ศิลปะการแสดงล้ำค่าที่อยู่คู่กับชาวพัทลุงมาเนิ่นนาน "ตอนที่เราเห็นโนราครั้งแรก ตอนนั้นเราค้นพบตัวเองว่าเราชอบ 2 อย่างแน่ ๆ หนึ่งคืองานอาสาสมัคร เรารู้สึกว่างานอาสาสมัครช่วยพัฒนาตัวเรา สองคืองานศิลปวัฒนธรรม ทีนี้พอเราได้ลงไปเรียนรู้เห็นข้อมูลโนราชัดเจน เราก็หลงรักในทันที" เมื่อความชอบเดินทางมาพร้อมกับโอกาส ก็ไม่มีอะไรที่จะหยุดความฝันของนธีอีกต่อไป นธีเดินหน้าไขว่คว้าหาความฝันและเส้นทางของตัวเอง หนึ่งเส้นทางคือการเป็นจิตอาสาทำงานพัฒนาชุมชน สองคือการทำอาชีพที่ตัวเองรัก และแน่นอน 'โนรา' คือสิ่งที่เชื่อมทั้งสองเรื่องเข้าไว้ด้วยกัน "เราขอเลือกเส้นทางที่เรารักคือการเป็นโนราและทำงานเพื่อชุมชนไปด้วยพร้อมกัน เราใช้โนราเป็น 'สื่อ' เอาโนราเข้าไปในการทำงานเพื่อชุมชน แล้วก็เอาการทำงานเพื่อชุมชนเข้ามาในอาชีพโนรา เราพบว่าเวลาไปทำงานอาสาเพื่อชุมชน โนราจะเป็นสื่อที่เชื่อมใจของคนในชุมชนไว้ด้วยกัน" โนราวันนี้....ทุกพื้นที่คือเวทีและโอกาส การเดินไปจนบรรลุความฝันของตัวเอง อาจไม่ท้าทายเท่าการได้ไปจุดประกายให้คนอื่นได้เดินตามฝัน วันนี้นธีในวัย 26 ปี ออกร่ายรำในฐานะโนราอาชีพและแกนนำกลุ่มพัทลุงยิ้ม เขย่าเคลื่อนความฝันให้น้อง ๆ ในชุมชน ได้ออกเดินทางค้นหาความฝันของตัวเองด้วยเช่นกัน วันนี้พื้นที่บ้านลานยางยิ้ม เกาะทัง จ.พัทลุง เกิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนโนรา ดึงโนรามืออาชีพมาสอนรำและร้องให้กับเด็กและเยาวชน ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะของโนราสายท่าแค พัทลุง ที่เน้นการเรียนเฉพาะเป็นรายบุคคลทั้งร้องและรำในคนเดียวกัน ทำให้วันนี้โนราน้อยในชุมชนสามารถนำความสามารถด้านโนราที่ร่ำเรียนไปใช้แสดงด้วยตนเองได้ในทุกที่ "น้องเยาวชนที่แสดงในงานพัทลุงยิ้มชื่อน้องพลับพลึง" นธีเล่าให้เราฟังถึงเด็กหญิงตัวน้อยที่แสดงเดี่ยวโนราในงานพัทลุงยิ้ม
คุณพ่อของน้องเป็นอัยการจังหวัด น้องพลับพลึงเคยไปแสดงรำโนราให้คนในคุกได้ดู เพราะคุณพ่อของน้องเชื่อว่า ศิลปวัฒนธรรมจะช่วยลดความรุนแรงในสังคมได้นธีเรียนรู้ว่าเขาและชุมชนได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่ใจดีมากมาย ทั้งองค์กรอย่าง สสส. เครือข่ายพื้นทีนี้ดีจัง เครือข่ายพัทลุงยิ้ม เปิดโอกาสให้เยาวชนอย่างเขาได้เห็นโลกกว้าง ให้ลูกหลานในชุมชนได้เติบโตเป็นคนดี นธีเชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่เด็กและเยาวชนต้องการคือ 'โอกาส' คนในชุมชนเองก็ต้องการโอกาส วันนี้เขาจะใช้โอกาสที่เขามีสื่อสารออกไปเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ชุมชนและสังคม
ผมหวังว่าวันหนึ่งงานพัฒนาชุมชนที่เราทำ ศิลปวัฒนธรรมที่เราช่วยกันสืบทอด จะช่วยจรรโลงคนในชุมชนและสังคมได้ เสียงดนตรีจะดังมากกว่าเสียงปืนหรือเสียงตีกันของน้อง ๆ เยาวชน หวังให้วัฒนธรรมยังคงอยู่เป็นสุนทรียะในชุมชน อย่าให้ชุมชนขาดศิลปะ เพราะศิลปะช่วยขัดเกลาจิตใจคนให้มีความสุขได้

ส่งมอบความรักศิลปะสู่คนรุ่นใหม่จากใจครูเป้ สีน้ำ
ณ โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เด็กหนุ่มวัยมัธยมร่างสูงโปร่งสวมแว่นตากำลังนั่งหลังงอก้มหน้ากดดูโทรศัพท์มือถือตามประสาวัยรุ่นทั่วไประหว่างนั่งรอครูสอนศิลปะเตรียมอุปกรณ์วาดรูปอยู่ในบริเวณเดียวกัน พอถึงเวลาเริ่มเรียนพื้นฐานการวาดรูป หนุ่มน้อยเงยหน้าขึ้นมองครูแต่หลังยังโก่งงอเหมือนเดิม ครูจึงกล่าวตักเตือนให้เปลี่ยนอริยาบทใหม่ก่อนเริ่มสอน “นักวาดรูปต้องไม่นั่งก้มหน้า หลังงอ เพราะจะทำให้องศาในการวาดเปลี่ยน เด็กรุ่นใหม่ติดนิสัยก้มหน้ามองมือถือ ชอบนั่งหลังงอ เสียบุคลิกภาพ และส่งผลต่อการวาดรูปด้วย” น้ำเสียงจริงจังของครูทำให้หนุ่มน้อยรีบยืดตัวนั่งหลังตรง แววตาครูสอนศิลปะที่ยืนอยู่เบื้องหน้าแสดงความห่วงใยศิษย์อย่างจริงใจ ไม่ว่านักเรียนที่มาตามหาความสุขจากการวาดรูปที่โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำแห่งนี้จะเป็นรุ่นเล็กวัยอนุบาลหรือรุ่นสูงวัย ทุกคนล้วนสัมผัสได้ถึง “ความปรารถนาดี” จากครูสอนศิลปะที่ชื่อ "ครูเป้ สีน้ำ" ได้เป็นอย่างดี “ครูรู้ดีว่าเด็กไม่ชอบให้โดนตำหนิ แต่มันต้องเป็นความกล้าหาญของครูที่จะยอมให้ลูกศิษย์เกลียดหรือโกรธ ถ้าครูดุเด็กถึงความบกพร่องจนเขาโกรธ แล้วไม่ลืมความบกพร่องตรงนี้ ความโกรธก็จะเป็นประโยชน์ ความยากของการเป็นครู คือ จิตวิญญาณความเป็นครูไม่มีขาย ถ้าเรามีกล่องดวงใจครูใส่ตู้หยอดเหรียญขายก็คงจะดี แค่เอาเหรียญไปหยอดตู้ เอากล่องดวงใจมาใส่ แล้วไปทำหน้าที่ครู ที่เหลือก็คงจะง่าย” [caption id="attachment_7416" align="aligncenter" width="600"] ครูเป้กำลังสอนเด็กๆ ที่มาเรียนศิลปะที่โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำ (ขอบคุณภาพจาก FB โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำ)[/caption]
เรียนรู้สัจธรรมผ่านการวาดรูป
ถ้าใครเคยมี “ปมศิลปะ” บอกกับตัวเองเสมอว่า “วาดรูปไม่สวย” แล้วได้มาเรียนวาดรูปกับครูเป้ รับรองว่า “ปม” ที่เคยถูกมัดไว้ในใจจะได้รับการคลี่คลายกลายเป็นความสุขจากการวาดรูปแทนเพราะครูสอนศิลปะท่านนี้มักจะบอกศิษย์ทุกคนว่า “ไม่มีใครวาดรูปไม่สวย” ในโลกของศิลปะงานทุกชิ้นมีความงามในแบบของตนเอง คนที่กังวลใจคิดว่าตนเองวาดรูปไม่สวย แสดงว่าคนนั้นอยากเป็น “นักก้อปปี้ภาพ” ให้เหมือนต้นแบบ มากกว่า อยากเป็น “จิตรกร” ผู้สร้างสรรค์ผลงานอย่างอิสระ ที่โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำแห่งนี้มีหลักสูตรสอนศิลปะที่ออกแบบโดยครูเป้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะหลักสูตรสั้นวันเดียวจบหรือหลักสูตรยาวหลายวัน เด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ ครูสอนศิลปะท่านนี้สามารถถ่ายทอด “หัวใจ” ของการวาดรูปออกมาได้อย่างลึกซึ้ง จนสามารถ “คลี่คลายปม” ในใจของคนที่อยากวาดรูปแต่ใจไม่กล้าพอได้อย่างง่ายดาย “เราต้องใช้หลักการวาดรูป ถ้าไม่มีหลักการ เราก็จะด้นไปตามที่เราเข้าใจ พอถึงระยะหนึ่งก็จะเริ่มเบื่อ แต่ถ้าเราวาดโดยมีความรู้และความเข้าใจในหลักการ เราจะไม่เคยรู้สึกเบื่อ เพราะเมื่อเราเข้าใจจากภายในจนเราวาดรูปได้แล้ว เราก็จะวาดได้ตลอดไป เหมือนคนว่ายน้ำเป็นหรือถีบจักรยานเป็นแล้วก็จะทำได้ไปตลอดชีวิต เพราะความรู้ไม่ได้หายไปไหน แต่ถ้าใครฝึกเฉพาะทักษะโดยปราศจากความรู้ พอไม่ได้วาดนานๆ จะกลับมาวาดอีกทีอาจวาดไม่ได้แล้ว การทำงานแบบไม่มีหลักการจะไม่สามารถทำซ้ำแล้วได้ผลแบบเดิม กลายเป็นตำราหรือทฤษฎีไม่ได้ เป็นแค่ทักษะส่วนบุคคลที่ไม่สามารถสอนให้คนอื่นทำตามได้” [caption id="attachment_7419" align="aligncenter" width="580"] ครูเป้กำลังสอนเรื่องทฤษฎีการใช้สีน้ำก่อนพาลงเรือในคอร์สล่องเรือวาดรูป (เครดิตภาพ : วันดี สันติวุฒิเมธี)[/caption] หลักสูตรศิลปะของครูเป้จะเน้นการวาดรูปจากสิ่งที่มองเห็นในธรรมชาติ อาทิ ต้นไม้ สายน้ำ หรือวิวทิวทัศน์รอบๆ หลักการวาดรูปที่ทุกคนจะได้เรียน คือการวาดรูปภายในรูปทรงกลม ซึ่งเป็นวิธีฝึกวาดรูปสำหรับมือใหม่ที่ทำได้ไม่ยาก “คำว่า ‘รูป’ คือสิ่งที่เราสัมผัสทางตา เป็น perspective ของแสง ดวงตาจึงเป็นเครื่องมือวาดรูปที่สำคัญ เราต้องบันทึกสิ่งที่สายตาเห็นตามแนวองศา ระยะ มิติ โดยเริ่มจากการวาดวงกลมตามกลุ่มของวัตถุที่ตามองเห็น พอได้กลุ่มแล้ว การทำงานของเราจะง่ายขึ้น เพียงแค่ใส่รายละเอียดย่อยลงไป เปรียบเหมือนการปลูกบ้านต้องกระจายออกทั้ง 360 องศา เพิ่มน้ำหนักไปตามลำดับจากอ่อนไปเข้มตามสิ่งที่สายตามองเห็น ตรงไหนโค้งก็โค้ง หลักการสำคัญคือต้องอยู่ในความกลม เพื่อหาขอบเขตในพื้นที่ที่เราวาด ไม่ใช่เดินทางกลางทะเลทรายแบบไร้จุดหมาย” หลังจากมองเห็นวงกลมของวัตถุซ้อนกันอยู่ในภาพแล้ว ครูเป้จะสอนให้ใส่รายละเอียดของกิ่งก้านใบ โดยทำความเข้าใจเรื่องแสงกับเงาก่อนลงมือวาด เพราะนี่คือ “หัวใจ” ของการวาดรูป ซึ่งหากใครเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถวาดภาพที่มีมิติได้อย่างสนุกมากขึ้น “การสร้างภาพให้มีมิติของแสงที่แตกต่างกันทำได้โดยการเพิ่มความเข้มเข้าไปทีละชั้น ส่วนที่ถูกแสงสว่างมากก็ปล่อยเว้นไว้ ไม่ต้องเพิ่มน้ำหนัก ส่วนที่มีความเข้มก็วาดทับเข้าไปทีละชั้น จนกระทั่งความเข้มและความสว่างเกิดการ “เปรียบเทียบ” ชัดเจนมากขึ้นเอง ถ้าเราใส่น้ำหนักความเข้มอ่อนไม่ครบ ภาพก็จะไม่สมบูรณ์” [caption id="attachment_7407" align="alignnone" width="580"] ครูเป้จะเริ่มต้นจากการมองวัตถุเป็นวงกลมก่อนลงรายละเอียดด้านใน (เครดิตภาพ : วันดี สันติวุฒิเมธี)[/caption] การสอนเรื่องมองทุกอย่างให้อยู่ในวงกลมและมิติของแสงนับเป็นก้าวแรกของการเข้าไปสัมผัสความสนุกจากการวาดรูปที่มือใหม่หัดวาดทุกคนสามารถลงมือทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องกังวลถึงความสวยเหมือนต้นแบบแต่อย่างใด รอยยิ้มผ่อนคลายจากการได้จับดินสอขีดเขียนลงบนกระดาษวาดรูปจึงค่อยๆ ปรากฎขึ้นบนใบหน้าของผู้เรียน เพียงไม่นานทุกคนก็ได้ภาพวาดที่สวยงามในแบบตนเอง ครูเป้จึงมักบอกลูกศิษย์เสมอว่า ทุกคนสามารถวาดรูปได้เพราะสิ่งที่ครูนำมาสอนเป็นทฤษฎีของธรรมชาติที่ทุกคนเข้าไปสัมผัสได้ด้วยตนเองเหมือนดังเช่นการค้นพบสัจธรรมในพุทธศาสนาสิ่งที่เราสอนเป็น “สัจจะ” หรือทฤษฎีของธรรมชาติที่จิตรกรทุกคนทั่วโลกก็รู้สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ทฤษฎีของครูเป้ เหมือนสัจจะไม่ได้เป็นของพระพุทธเจ้า เป็นของกลาง เพียงแต่พระพุทธเจ้าเข้าไปพบแล้วหาวิธีอธิบายได้ ศิลปะจึงใกล้เคียงกับศาสนาด้วยเหตุผลนี้[caption id="attachment_7408" align="aligncenter" width="580"] ครูเป้เป็นทั้งครูสอนศิลปะและคนขับเรือพานักเรียนไปวาดรูปริมน้ำ เจอวิวตรงไหนเหมาะสำหรับสอนวาดรูปวิว ครูเป้จะ "ดับเครื่องชน" ปล่อยเรือติดกอผักตบชวาริมตลิ่ง แล้วเริ่มเปิดคลาสกลางแม่น้ำทันที (เครดิตภาพ : วันดี สันติวุฒิเมธี)[/caption]
ความสุขของครูสอนศิลปะ
จิตรกรบางคนอาจเลือกทำงานวาดภาพและขายภาพวาดเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับครูเป้กลับเลือกทำทั้งสองสิ่งควบคู่กันไป เพราะ “ความเป็นครู” อยู่ในดีเอ็นเอมาตั้งแต่เกิด “ผมโตมาในครอบครัวที่พ่อ พี่ชาย น้องชาย และพี่สะใภ้เป็นครู ทำให้เรามีจิตวิญญาณความเป็นครูเต็มเปี่ยม และผมมีครูเยอะมาก แล้วผมก็รักครู ผมมีสำนึกกตัญญูกับครูที่ทุ่มเทสอนผมอย่างเต็มที่ พอถึงวันที่ผมอยากทำอะไรให้เป็นประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ผมก็เลือกที่จะเป็นครู ทำหน้าที่ถ่ายเทประสบการณ์ ส่งไม้ผลัดให้คนอื่นต่อไป ผมสอนมาเกินยี่สิบปีแล้ว ไม่เคยเบื่อการสอนเลย” ครูเป้ถ่ายทอดสิ่งที่มุ่งหวังจากการเลือกทำหน้าที่ครูสอนศิลปะผ่านแววตามุ่งมั่นที่อยากส่งต่อประสบการณ์และความสุขจากการทำงานศิลปะไปสู่คนรุ่นต่อไปเราชอบส่งต่อประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจต่อเนื่องไป แล้วก็ไม่ได้หวังผลสำเร็จในงานของตนเองว่าจะเป็นศิลปินนามอุโฆษ งานที่เราทำอยู่ มันช่วยเยียวยาจิตใจเราทุกครั้ง ทุกครั้งที่เราจรดพู่กัน เราก็ได้พบกับความสุขจากการจรดพู่กันจากภายในของเราทุกวัน มันเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงจิตใจเราให้มีชีวิตอยู่ในวันต่อไป ถ้าตัดความทะเยอทะยานออกไปได้ ชีวิตก็เป็นสุข ไม่ดิ้นรน ไม่แข่งขัน แต่ในทางศิลปะ เราต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ศิลปะมันมีเสน่ห์ตรงนี้ถ้าใครเคยพาลูกมาเรียนศิลปะกับครูเป้ สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่สัมผัสได้คือ นอกจากครูเป้จะทำหน้าที่ครูสอนศิลปะแล้ว ครูคนนี้ยังทำหน้าที่ “อบรมบ่มนิสัย” ราวกับเป็นพ่อคนหนึ่งเลยทีเดียว “ผมเป็นกลาง ไม่ได้เอาใจเด็ก แล้วก็ไม่ได้ไม่เอาใจเด็ก ทุกคนมีอิสระ เราทำหน้าที่ถ่ายทอดสิ่งต่างๆ พูดในสิ่งที่คิดว่ามีประโยชน์กับเด็ก ถ้าเด็กคนไหนง่วงนอน เราก็บอกให้ไปนอน ไม่ต้องถ่างตาเพราะเกรงใจครู ถ้าหายง่วงแล้วค่อยมาฟังต่อ พอหายง่วงก็สดชื่นขึ้น เราก็แค่บอกเด็กว่า ทีหลังอย่านอนดึก เด็กบางคนบอกว่าผมดุ แต่เราดุเพราะเราหวังดี เราต้องมีความกล้าที่จะยอมให้ลูกศิษย์เกลียดและโกรธ เราก็ใช้สิทธิความเป็นครู ส่วนใหญ่พ่อแม่จะชอบที่ผมดุแทน” (พูดแล้วยิ้มตาม) ครูเป้พูดถึงสิ่งที่ต้องระวังในการสอนศิลปะสำหรับเด็กเล็กว่า ครูบางคนอาจทำให้เด็กหวาดกลัวมากเกินไปจนเด็กไม่มีความสุขกับการทำงานศิลปะ “เวลาครูสอนให้เด็กฝึกวาดรูประบายสีให้อยู่ในภาพ ถ้าระบายเลยไปแล้วครูบอกว่าผิด เด็กคนนั้นอาจกลัวการวาดรูประบายสีไปเลย จริงๆ แล้วการระบายเลยออกไปนอกเส้นไม่ใช่เรื่องผิด เพราะในความเป็นจริง เราจะมองเห็นสีจางๆ อยู่รอบๆ วัตถุเป็นเรื่องปกติ เหมือนน้ำหนักของแสงที่กระจายออกไป” เมื่อถามถึงมุมมองต่อการสร้างจินตนาการในงานศิลปะ ครูผู้มากประสบการณ์ตอบคำถามนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า “จินตนาการไม่ใช่สิ่งที่คิดขึ้นมาแบบเลื่อนลอย แต่มันอาจเป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ในความเป็นจริงอีกชั้นหนึ่ง เพียงแต่เป็นความจริงที่ไม่เคยมีคนศึกษามาก่อน เช่น ถ้าเราใช้กล้องถ่ายภาพเจาะเข้าไปถ่ายใกล้ๆ หนวดของแมลงตัวหนึ่ง แล้วขยายสเกลจากมดแมลงมาเป็นสเกลมนุษย์ คนที่ไม่เคยเห็นภาพใกล้ๆ ของหนวดแมลงก็จะเข้าใจว่านี่มันจินตนาการล้ำลึกมากเลย แต่เมื่อศึกษาสิ่งต่างๆ ไปสู่ความเป็นจริง เราอาจพบว่าจินตนาการมันซ้อนอยู่ในความเป็นจริงอีกที และมันถูกนำมาผสมผสานกับประสบการณ์กลายเป็นสิ่งใหม่ที่เราเรียกว่าจินตนาการ” ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูอยากส่งต่อประสบการณ์ความรักงานศิลปะสู่คนรุ่นต่อไป ครูเป้จึงทำโครงการต้นกล้าศิลปะอบรมเด็กในต่างจังหวัดให้สนใจรักสิ่งแวดล้อมผ่านการทำงานศิลปะมาเป็นเวลาเกือบสิบปีแล้ว และยังคงมุ่งมั่นทำต่อไปเพราะต้องการใช้ความรู้และความรักในงานศิลปะตอบแทนบุญคุณแผ่นดินที่เกิดมา
ทุกวันนี้หลักสูตรกระทรวงศึกษาค่อยๆ ถอดวิชาศิลปะออกไปจากรั้วโรงเรียน แล้วเสริมวิชาที่ทำให้เด็กกลายเป็นหุ่นยนต์ ผมจึงทำโครงการจิตรกรรุ่นจิ๋วและโครงการต้นกล้าศิลปะ สอนให้เด็กรักสิ่งแวดล้อม เอาศิลปะมาเป็นสะพานให้เด็กเข้าไปรับรู้ความงามของธรรมชาติ แล้วเกิดสำนึกหวงแหน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ทำลายล้างธรรมชาติ นี่คืองานที่เราอยากจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ในฐานะที่เราเกิดในประเทศนี้ได้บ้าง[caption id="attachment_7417" align="alignnone" width="600"] ขอบคุณภาพจาก FB โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำ[/caption] ทุกวันนี้ครูเป้ยังคงมีความสุขกับการวาดรูปอยู่เสมอ และใช้การวาดรูปเป็นเครื่องพัฒนาจิตใจตนเองไปสู่หนทางพ้นทุกข์โดยไม่ต้องเข้าวัดปฏิบัติธรรมตามรูปแบบ
ถ้าวาดรูปอย่างมีหลักการ เราจะมีความเข้าใจมากขึ้นทุกครั้งที่ลงมือวาด เรียกว่าสอนตนเองได้ หรือ “จิตอบรมจิต” ผมเติบโตไปเรื่อยๆ ไปในทางดิ้นรนหาวิธีพ้นทุกข์ มันยากที่คนจะพ้นทุกข์ แต่ถ้าเรามีการวาดรูปเป็นสิ่งคุ้มครองใจ ทำให้เราได้อยู่กับการพิจารณาตนเอง พิจารณาความเป็นจริง มันทำให้เรายอมรับความเป็นจริงได้มากขึ้น“การวาดรูปของผมจะใช้จิตที่เป็นกลาง จิตที่มีแรงบันดาลใจจากความงาม การวาดรูปสำหรับผมคือความสุข คนเราควรหาอะไรสักอย่างที่ทำแล้วมีความสุข ผมได้ค้นพบสิ่งนี้มาตั้งแต่วัยเด็กและยังคงมีความสุขกับการวาดรูปจนถึงวันนี้

ก้าวย่างเพื่อชีวิตไร้สารพิษของปรกชล อู๋ทรัพย์
คุณรู้หรือไม่ว่าทุกวันนี้มีทารกบางคนเกิดมาพร้อมกับสารเคมีจากยาฆ่าหญ้าตกค้างในขี้เทา หรืออุจจาระของทารกแรกคลอดที่สะสมตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอายุสามเดือนและคนใกล้ตัวของเราต่างเป็นโรคมะเร็งกันมากขึ้นทุกวัน เพราะเราอยู่ท่ามกลางอาหารที่มีสารพิษรอบตัว และดูเหมือนเราจะหลีกเลี่ยงชีวิตที่เต็มไปด้วยสารพิษได้ยากเหลือเกิน ท่ามกลางปัญหาที่ดูยากจะแก้ไข ปรกชล อู๋ทรัพย์ หญิงสาวตัวเล็กผมซอยสั้นแววตามุ่งมั่นกลับมีความฝันอยากเห็นคนไทยห่างไกลจากสารพิษมากขึ้น เธอตัดสินใจเข้ามาทำงานรณรงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของภาครัฐเพื่อชีวิตไร้สารพิษของคนไทยในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไทยแพน (Thai-PAN) อ่านต่อ...