2018 May
บทความรายเดือน:
- March 2021 (1)
- February 2021 (1)
- January 2021 (2)
- November 2020 (1)
- October 2020 (3)
- August 2020 (1)
- July 2020 (12)
- June 2020 (1)
- May 2020 (12)
- April 2020 (65)
- March 2020 (40)
- December 2019 (1)
- November 2019 (1)
- October 2019 (2)
- September 2019 (3)
- August 2019 (3)
- July 2019 (6)
- June 2019 (4)
- May 2019 (1)
- April 2019 (3)
- March 2019 (2)
- February 2019 (1)
- January 2019 (4)
- December 2018 (5)
- November 2018 (3)
- October 2018 (3)
- September 2018 (1)
- August 2018 (2)
- July 2018 (2)
- June 2018 (2)
- May 2018 (3)
- April 2018 (5)
- March 2018 (3)
- February 2018 (4)
- January 2018 (4)
- December 2017 (4)
- November 2017 (2)
- October 2017 (2)
- September 2017 (59)
- August 2017 (41)
- July 2017 (4)
- June 2017 (4)
- May 2017 (5)
- April 2017 (4)
- March 2017 (4)
- February 2017 (5)
- January 2017 (5)
- December 2016 (3)
- November 2016 (5)
- October 2016 (1)
- September 2016 (2)
- August 2016 (1)
- July 2016 (3)
- June 2016 (5)
- May 2016 (6)
- April 2016 (4)
- March 2016 (5)
- February 2016 (3)
- January 2016 (4)
- December 2015 (6)
- November 2015 (9)
- October 2015 (13)
- September 2015 (13)
- August 2015 (11)
- July 2015 (8)
- June 2015 (9)
- May 2015 (9)
- April 2015 (6)
- March 2015 (7)
- February 2015 (4)
- January 2015 (12)
- December 2014 (26)
- November 2014 (14)
- October 2014 (15)
- September 2014 (15)
- August 2014 (15)
- July 2014 (12)
- June 2014 (5)
- May 2014 (10)

Paper Ranger ฮีโร่จิตอาสาสมุดเพื่อน้อง
เมื่อพูดถึงคำว่า “ฮีโร่” เรามักนึกถึงผู้นำยามวิกฤติที่ช่วยเหลือผู้คนให้รอดพ้นจากอันตราย แต่สำหรับฮีโร่ที่ชื่อ “Paper Ranger” ตัวนี้ เขาจะมาทำหน้าที่บอกกับเราว่า ทุกคนสามารถเป็นฮีโร่จิตอาสาช่วยกันเปลี่ยน “กระดาษเอสี่ใช้แล้วหน้าเดียว” ให้กลายเป็น “สมุดเพื่อน้อง” ได้ด้วยสองมือของเราภายในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น
พูลยศ กัมพลกัญจนา หรือ พี อดีตนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้เริ่มต้นโครงการ “Paper Ranger จิตอาสาสมุดเพื่อน้อง” เมื่อสิบปีที่ผ่านมากล่าวถึงเป้าหมายของโครงการนี้ว่า
“โครงการของเราอยากสื่อสารให้คนในสังคมรู้ว่าการทำเพื่อผู้อื่นนั้นสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากเรื่องใกล้ตัว โดยเรามองเรื่องของกระดาษเอสี่ใช้แล้วด้านเดียวที่หลายๆ คนมีเหลือใช้ รวบรวมแล้วนำกลับมาทำให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง ผ่านเรื่องราวของการทำสมุดทำมือที่เปรียบเสมือนตัวแทนส่งต่อความความสุขไปยังน้องๆ ที่ขาดแคลนได้”
อ่านต่อ...
ภาวนาเปลี่ยนข้างใน : ความสุขไม่มีลิขสิทธิ์
“การเจริญสติเป็นแกนกลางการอบรมทุกกิจกรรมของเสมสิกขาลัย การภาวนาต้องอยู่ในทุกขุมขนของสิ่งที่เราทำ”
ปรีดา และพูลฉวี เรืองวิชาธร ยืนยันในแนวทางเดียวกัน
ทั้งคู่เป็นกระบวนกร หรือผู้นำการอบรมของเสมสิกขาลัย องค์กรพัฒนาเอกชนที่เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางเลือก ที่ใช้การภาวนาเป็นแกนหลักของทุกกิจกรรมที่ทำ
กระบวนกรทั้งคู่ย้อนความเป็นมาของแนวคิดและแนวทางที่ดำเนินมาให้ฟังว่า กระบวนการอบรมสร้างการเรียนรู้โดยทั่วไปมักมุ่งแต่ด้านเนื้อหา ใส่ข้อมูลให้เกิดความรู้ผ่านการอ่าน การบรรยาย ซึ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่ง แต่เขาเห็นว่ายังไม่น่าพอใจเพราะนั่นเป็นการรู้แต่ในหัว ซึ่งโดยหลักการทั่วไปทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร อะไรที่ควรทำ แต่หากไม่ได้เปลี่ยนมาจากข้างในจิตสำนึกจะไม่ค่อยเปลี่ยนอย่างเรื่องสิ่งแวดล้อมเรารู้หมดแหละว่าจะลดการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีไหนได้บ้าง จะดูแลรักษาอย่างไร เห็นชาวบ้านทุกข์ยากก็รู้อยู่ว่าเขาควรได้รับอะไร เราสนใจประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม แต่ถึงจุดหนึ่งพอมีคนเห็นต่างก็เริ่มอึดอัดจนรู้สึกทนไม่ไหว ไปโจมตีเขา ทำให้เสมฯ ต้องมานั่งทบทวนว่ามันต้องมีอะไรสักอย่างหายไปหรือเปล่า ก็พบคำตอบว่าถ้าไม่เห็นข้างในของตัวเอง ไม่ว่าจะรู้อะไรมันก็กลับไปสู่จุดเดิมได้หมด คืนกลับร่องอัตตาเดิม สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การเอาความรู้สึกตัวหรือการมีสติมาเป็นแกนกลางของทุกกิจกรรม การภาวนาต้องอยู่ในทุกขุมขุนของสิ่งที่เราทำ ภาวนาจึงเป็นพื้นฐานของทุกคอร์สที่เราจัดอบรมอ่านต่อ...
