2018 April
บทความรายเดือน:
- January 2021 (2)
- November 2020 (1)
- October 2020 (3)
- August 2020 (1)
- July 2020 (12)
- June 2020 (1)
- May 2020 (12)
- April 2020 (65)
- March 2020 (40)
- December 2019 (1)
- November 2019 (1)
- October 2019 (2)
- September 2019 (3)
- August 2019 (3)
- July 2019 (6)
- June 2019 (4)
- May 2019 (1)
- April 2019 (3)
- March 2019 (2)
- February 2019 (1)
- January 2019 (4)
- December 2018 (5)
- November 2018 (3)
- October 2018 (3)
- September 2018 (1)
- August 2018 (2)
- July 2018 (2)
- June 2018 (2)
- May 2018 (3)
- April 2018 (5)
- March 2018 (3)
- February 2018 (4)
- January 2018 (4)
- December 2017 (4)
- November 2017 (2)
- October 2017 (2)
- September 2017 (59)
- August 2017 (41)
- July 2017 (4)
- June 2017 (4)
- May 2017 (5)
- April 2017 (4)
- March 2017 (4)
- February 2017 (5)
- January 2017 (5)
- December 2016 (3)
- November 2016 (5)
- October 2016 (1)
- September 2016 (2)
- August 2016 (1)
- July 2016 (3)
- June 2016 (5)
- May 2016 (6)
- April 2016 (4)
- March 2016 (5)
- February 2016 (3)
- January 2016 (4)
- December 2015 (6)
- November 2015 (9)
- October 2015 (13)
- September 2015 (13)
- August 2015 (11)
- July 2015 (8)
- June 2015 (9)
- May 2015 (9)
- April 2015 (6)
- March 2015 (7)
- February 2015 (4)
- January 2015 (12)
- December 2014 (26)
- November 2014 (14)
- October 2014 (15)
- September 2014 (15)
- August 2014 (15)
- July 2014 (12)
- June 2014 (5)
- May 2014 (10)

ธนัญธร เปรมใจชื่น…รับฟังด้วยหัวใจ
“เราจะพบโจทย์เรื่องความสัมพันธ์ได้ในมนุษย์เกือบทุกคน ทั้งมิติของการงาน ครอบครัว คนรัก ลูก แต่คนมักมองไม่เห็นว่าต้นตอของปัญหามาจากไหน เวลาครอบครัวมีปัญหา เขากลับชี้ไปที่คนนั้น เรื่องนั้น ซึ่งบางทีมันเกี่ยวข้องกับภายในของเขาที่มีทัศนคติจำกัดในการเชื่อมต่อกับผู้คน มันก็เลยส่งผลกระทบในมิติที่หลากหลาย เราเป็นคนเชื่อเรื่องกระบวนการที่ทำให้เขาเห็นตนเอง มันจะไปเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์รอบตัวของเขา แล้วจะแผ่ขยายไปสู่สังคม”
ธนัญธร เปรมใจชื่น หรือ อาจารย์น้อง กระบวนกร (วิทยากรกระบวนการ) ผู้มีประสบการณ์จัดอบรมด้านการพัฒนาตนเองจากภายในผ่านการจัดอบรมด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ให้ผู้คนหลากหลายช่วงวัยมานานกว่ายี่สิบปีบอกเล่าถึงที่มาของปัญหาความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ซึ่งเรามักมองไม่เห็นว่าแท้จริงแล้วจุดเริ่มต้นของปัญหาอยู่ที่ตัวเราเองที่อาจยังไม่เคยรับฟังเสียงจากภายในตัวเราอย่างลึกซึ้งว่า แท้จริงแล้วเราเป็นคนอย่างไรและต้องการก้าวเดินไปสู่เป้าหมายอะไรในชีวิต
อ่านต่อ...
เปลี่ยนสังคมด้วยโอกาสให้เด็กพิการเปี่ยมสุข
เพราะยากที่คนปรกติจะชัดเจนภาพชีวิตของคนพิการ งานสื่อสารจึงสำคัญ
“ก่อนหน้านี้เราไม่เคยเกี่ยวข้องกับเด็กพิการมาก่อน แต่มีเป้าหมายว่าอยากทำงานกับมูลนิธิสักแห่ง ครั้งหนึ่งได้ไปจังหวัดลำปางกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม รู้สึกประทับใจเจ้าหน้าที่ผู้หญิงซึ่งมีกัน 3 คน ต้องแบ่งงานรับผิดชอบคนละ 3 หมู่บ้าน กลับจากที่นั่นเราไปเป็นครูที่โรงเรียนบ้านห้วยจะกือ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กินอยู่ฟรี มีเงินเดือน 3,000 บาท แต่กลับบ้านทีเงินเดือนก็หมดไปกับการเดินทาง ซึ่งถ้าไม่กลับทั้งเราและพ่อแม่ก็คงเป็นห่วงกันและกัน ทำให้ไตร่ตรองว่าแม้จะชอบทางนี้แต่คงไม่สามารถทิ้งครอบครัว พอรู้ข่าวว่ามูลนิธิเพื่อเด็กพิการเปิดรับเจ้าหน้าที่จึงสมัคร เราอยากเป็นครูบนดอย อยากสอนเกี่ยวกับศิลปะ งานประดิษฐ์ อาชีพ คิดว่าอาจได้นำความชอบส่วนตัวมาประยุกต์ใช้กับงานที่นี่”
อภิรดี วานิชกร ย้อนจุดเริ่มเมื่อ 15 ปีก่อนจะเข้ามาคลุกคลีอยู่กับครอบครัวและชุมชนที่มีเด็กๆ บกพร่องทางการใช้ชีวิตร่วมอาศัย เริ่มจากเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสำนักงานของมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ กระทั่งเป็นผู้จัดการฝ่ายสื่อสารและแบ่งปันเพื่อเด็กพิการ
อ่านต่อ...
คนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว
“เร่เข้ามา เร่เข้ามา น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้าของแท้ แบ่งขาย จ่ายน้อย ช่วยลดขยะจ้า ซื้อเท่าไหร่ก็ได้ เข้ามาดูก่อนได้นะคะ ”
เสียงนักศึกษาสาวว่าที่ด็อกเตอร์กำลังตะโกนเรียกลูกค้าเข้ามาใช้บริการร้าน “Refill Station” กลางตลาดนัดย่านธุรกิจใจกลางกรุง ผู้คนที่เดินผ่านหันมามองสินค้าด้วยใบหน้าแปลกใจเพราะบนโต๊ะเรียงรายไปด้วยแกลลอนน้ำยาทำความสะอาดหลากหลายยี่ห้อติดตั้งหัวปั๊มไว้ด้านบนแทนฝาปิด ใกล้กันมีตาชั่งไว้ให้ลูกค้าชั่งปริมาณน้ำยาที่ต้องการซื้อตามความต้องการ
“เราพยายามหาทางลดการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันด้วยการนำขวดน้ำหรือขวดพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วมาเติมน้ำยาทำความสะอาดที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันโดยเราแบ่งขายให้ตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ”
สุภัชญา เตชะชูเชิด หรือ “แอน” นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชื่อดังย่านศาลายาบอกเล่าความเป็นมาของธุรกิจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ลองลงมือทำตามความฝันของคนหนุ่มสาวไฟแรง แม้ว่าเธอและเพื่อนจะไม่มีใครเรียนด้านการตลาดโดยตรง แต่แรงบันดาลใจอยากทำสิ่งที่ฝันก็ผลักดันให้คนหนุ่มสาวกล้าลองผิดลองถูกด้วยตนเองเสมอ
อ่านต่อ...
โคริงกะ…มองเห็นใจตนเองผ่านการจัดดอกไม้สไตล์ญี่ปุ่น
“การจัดดอกไม้แบบโคริงกะเป็นเรื่องของการพัฒนาจิตวิญญาณที่อยู่ด้านใน เราจึงต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน ตั้งแต่ฝึกฝนวิธีจัดดอกไม้จนเห็นการสื่อสารของพืชและเห็นคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดดอกไม้ จนกระทั่งเราเริ่มเกิดความมั่นใจว่าพลังธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่และสามารถช่วยทำให้คนมีความสุขได้ เราจึงขยับขึ้นมาเป็นวิทยากรสอนคนอื่นต่อไป”
อาจารย์รัตนาภรณ์ ศรีอร่ามมณี หรือครูนุช อธิบายถึงหัวใจสำคัญของการจัดดอกไม้แบบโคริงกะด้วยรอยยิ้มสดใสพร้อมทั้งอธิบายถึงความหมายของคำว่า “โคริงกะ” โดยละเอียดว่า “โค”แปลว่า แสงสว่าง, “ริง” แปลว่า วงกลม ส่วนคำว่า “กะ” มาจากคำว่า ดอกไม้ เมื่อนำสามคำมารวมกันจึงแปลได้ว่า “ดอกไม้แห่งแสงสว่าง”
คุณโมกิจิ โอกาดะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเอ็มโอเอไทยเป็นผู้บัญญัติคำว่า “โคริงกะ” ขึ้นมาเป็นคนแรก โดยท่านกล่าวไว้ว่า ความงามที่เรามองเห็นในธรรมชาติไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความงามทางสายตา แต่เป็นพลังธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่สามารถเยียวยาจิตใจของมนุษย์ได้ เพราะเมื่อครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านเคยผ่านความทุกข์มามากมาย จึงเริ่มแสวงหาทางเยียวยาจากธรรมชาติด้วยการเริ่มต้นจัดดอกไม้ที่ปลูกไว้ในบ้าน ทำให้ค้นพบว่าพลังธรรมชาติสามารถช่วยให้ผ่านพ้นความทุกข์ได้ ท่านจึงนำประสบการณ์นั้นมาช่วยคนอื่นให้พ้นทุกข์และมีความสุขโดยเผยแพร่การจัดดอกไม้ออกไป
อ่านต่อ...