Month: May 2017

คุยอย่างไร ให้เข้าใจและไม่ให้โกรธกัน

Family Conflict

ที่เราไม่เข้าใจกันอาจไม่ใช่เพราะคุยคนละเรื่องแต่เพราะคุยคนละรูปแบบต่างหาก มาเข้าใจการสนทนาสองรูปแบบกัน…

การสนทนาอาจเป็น “พร” หรือ “คำสาป” ก็ได้ และเป็นปัญหาที่พบบ่อยสุดในความสัมพันธ์ เพราะการสื่อสารเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์แต่ก็มีความซับซ้อนที่จะทำอย่างถูกต้อง หลายคนพยายามศึกษาเทคนิคในการสื่อสารสารพัดซึ่งก็ชวนสับสน

เราขอสรุปรวบยอดว่าการพูดคุยมีสองรูปแบบใหญ่ ๆ เท่านั้น คือ การแลกเปลี่ยน และ เพื่อแก้ปัญหา โดยการสนทนาสองแบบนี้มีจุดหมายต่างกัน

  • คุยแบบแลกเปลี่ยน ก็เพื่อแบ่งปันความรู้สึก มุมมอง หรือ ประสบการณ์
  • คุยแบบการแก้ปัญหา ก็เพื่อหาทางออกให้กับปัญหา

คู่รักส่วนมากมักมีปัญหา เพราะพวกเขาพูดคุยกันคนละแบบ ทำให้พวกเขาพลาดโอกาสที่จะให้กำลังใจ เข้าใจกัน และผูกพันกัน

อ่านต่อ “คุยอย่างไร ให้เข้าใจและไม่ให้โกรธกัน”

เคล็ดลับถนอมความสัมพันธ์


canola-1963802_1280

“…เมื่อความสัมพันธ์เดินทางมาถึงจุดเปราะบางที่สุด

คุณมีเคล็ดลับถนอมความสัมพันธ์ของคุณอย่างไร?…”

มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม ส่วนใหญ่เราไม่ชอบที่จะอยู่คนเดียวนักหรอก เราชอบที่จะมีความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง  ความสัมพันธ์ที่ว่าเป็นไปได้หลายรูปแบบ ทั้งพ่อแม่ พี่น้อง เจ้านายลูกน้อง เพื่อนสนิท คนรัก คู่สามีภรรยา ฯลฯ พลังของความสัมพันธ์ที่ดีจะกระตุ้นชีวิตของเราให้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขและมีชีวิตชีวา

Harvard Study of Adult Development คือชื่อของงานวิจัยที่ยาวนานที่สุดในโลก ใช้ระยะเวลาค้นคว้าวิจัยถึง 75 ปี  เพื่อค้นหาความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ ตลอดงานวิจัยเปลี่ยนผู้ควบคุมงานวิจัยไปถึง 4 รุ่น ติดตามชีวิตของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาชายจากมหาวิทยาลัย Harvard กับวัยรุ่นชายทั่วไปจำนวนทั้งหมดถึง 724 คน ตั้งแต่วัยรุ่น พัฒนาสู่วัยทำงาน จนกระทั่งก้าวสู่วัยชรา (และแน่นอนว่ามีบางคนเสียชีวิตไปก่อนที่งานวิจัยจะจบ) ผลสรุปท้ายสุดของงานวิจัยชิ้นนี้ฟันธงได้ว่า คำตอบของความสุขที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์นั่นคือ ‘การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง’ หาใช่การมีเงินทองหรือชื่อเสียงโด่งดังอย่างที่หลายคนเข้าใจ

อ่านต่อ “เคล็ดลับถนอมความสัมพันธ์”

สามล้อหัวใจทองคำ

Bai-Fang-Li

เมื่อพูดถึงการเป็น ‘ผู้ให้’ หลายคนมักจะพูดถึงความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของร่างกาย เงินทอง เวลา ความรู้ ฯลฯ และมักจะรอเวลาหรือรออะไรบางอย่าง เพื่อให้เรามีพร้อมแล้วจึงจะเริ่มเป็น ‘ผู้ให้’

ทั้งที่จริงแล้ว ความพร้อมที่ว่านี้ เป็นเรื่องที่หลายคนเองก็ยังไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่ามันจะมาถึงเมื่อไร?

บางทีหลังจากอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ อาจมีบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป….

ย้อนกลับไปที่เมืองเทียนจิน ประเทศจีน เย็นย่ำของวันหนึ่งในปี ค.ศ.1987 ชายชราวัย 74 ปีนาม ไบฟางลี (Bai Fang Li) เดินทางกลับบ้านด้วยความเหนื่อยล้า วันนี้เป็นวันสำคัญในชีวิตเขา เพราะเป็นวันที่เขาตัดสินใจว่าจะเลิกอาชีพถีบสามล้อรับจ้างที่ทำมาตลอดชีวิตเสียที เป็นการปลดเกษียณตัวเองจากการทำงานหนัก และจะเริ่มต้นใช้ชีวิตบั้นปลายกับเงินที่เก็บหอมรอมริบมาตลอดชีวิตกับลูก ๆ อย่างสงบสุข

แต่ระหว่างทางที่กำลังเดินทางกลับบ้านเย็นนั้นเอง สองตาของชายชรากลับมองเห็นภาพชีวิตของเด็กน้อยจำนวนมากที่ต้องทำงานหนักอยู่ข้างถนน เพียงเพราะไม่มีเงินพอที่จะไปเรียนหนังสือได้ ภาพชีวิตซ้ำ ๆ ของเด็กยากไร้ด้อยโอกาสที่ใคร ๆ ต่างก็ต้องเคยผ่านตา กลับเป็นแรงผลักดันให้ไบฟางลีตัดสินใจเริ่มงานอันยิ่งใหญ่ของเขา

อ่านต่อ “สามล้อหัวใจทองคำ”

ภาวนากับความทุกข์

doll-1636128_1280

บอกสิ่งที่คุณทำเป็นอย่างแรกเมื่อเจอ ‘ความทุกข์’

ก. นั่งจ่อมจมขังตัวเองอยู่กับความทุกข์ ร้องไห้ให้สาสมใจ

ข. พาตัวเองออกไปปาร์ตี้ยันสว่าง ราตรีเต็มไปด้วยสีสัน

ค. ไปเม้าท์มอยกับเพื่อนฝูง กินบุฟเฟ่ต์ให้สาแก่ใจ

ง. ออกไปผลาญเงินช้อปปิ้ง เทกันให้หมดกระเป๋า

ถ้าใครพยักหน้าว่าเคยทำครบทุกข้อ แต่ก็ยังไม่เจอทางออกจากทุกข์เสียที วันนี้ชวนมาลองใช้วิธีใหม่เพื่อรับมือกับความทุกข์กันดีกว่า กับ นพ.สตางค์ ศุภผล เจ้าของรางวัล The Giver สาขาความสุขจากการภาวนา จากโครงการ Mahidol Day of Service

อ่านต่อ “ภาวนากับความทุกข์”

เปิดใจใสๆ กับวิชา ‘ความสุข’

อ.จงดี แก้ไข

‘ชีวิต คือ การเรียนรู้’ เป็นวลีฮิตที่เราได้ยินกันบ่อยมาก ซึ่งถ้าไม่นับการเรียนวิชาการในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่หลายคนรู้สึกแสนจะหนักและเหน็ดเหนื่อย ลองย้อนกลับไปดู ‘วิชาชีวิต’ ที่เราได้เรียนรู้จากโลกนอกห้องเรียนอันกว้างใหญ่กันบ้างดีกว่า ประสบการณ์ชีวิตครั้งไหนที่ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงความสุขที่แท้จริงบ้าง?

ถ้ายังนึกไม่ออก….ขอให้ลองกลับไปนึกถึงครั้งที่คุณได้มีโอกาสเป็น ‘ผู้ให้’

เพราะนั่นคือบทเรียนสำคัญที่สุดบทหนึ่งของการเรียนรู้วิชา ‘ความสุข’ ที่แท้จริง…

วันนี้ความสุขประเทศไทย ชวนคุณมาเปิดใจใส ๆ เรียนรู้ความสุขจากการเป็นผู้ให้กับ ผศ.ดร.จงดี โตอิ้ม อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล ในฐานะตัวแทนงานกิจการนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของรางวัล The Giver สาขาความสุขจากการศึกษาเรียนรู้ โครงการ Mahidol Day of Service ปีที่ผ่านมา

อ่านต่อ “เปิดใจใสๆ กับวิชา ‘ความสุข’”

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    ใช้ Google analytics สำหรับเก็บข้อมูลการใช้งานเพื่อวิเคราะห์การใช้งานภายในเว็บไซต์

Save