Month: November 2015

ความสุขเรียบง่ายที่ชุมชนสามแพร่ง

ช่วงเวลา 2 วันของการจัดงานคือการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้คนในเมืองหลวงที่มีวิถีชีวิตเร่งรีบเคร่งเครียด ได้ย้อนกลับมาเรียนรู้วิถีชีวิตที่ง่ายๆ สบายๆ เต็มไปด้วยรอยยิ้ม การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน เกื้อกูลกันด้วยน้ำใจไมตรีอย่างที่ชุมชนแห่งนี้เคยเป็นมาตลอดนับร้อยปี

ft8

ถ้าเราบินได้เหมือนนก แล้วมีโอกาสอยู่บนฟากฟ้า มองลงมายังพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อกวาดสายตาหา ‘พื้นที่ของความสุข’ เราคงเห็นผู้คนมากมายกระจุกตัวอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมติดแอร์ที่เรียกว่าห้างสรรพสินค้า แต่เราจะใจชื้นขึ้น เมื่อมองมายังจุดเล็กๆ ใจกลางเมืองหลวงแล้วพบว่า ยังมีพื้นที่ของความสุขที่เรียบง่าย เปี่ยมด้วยรอยยิ้ม ดุจดังโอเอซิสที่มอบความชุ่มชื้นให้กับผู้อยู่อาศัย และผู้ที่มาเยี่ยมเยือนผ่านข้ามกาลเวลามาแล้วเป็นเวลาเนิ่นนาน พื้นที่นี้ถูกขนานนามว่า ‘ชุมชนสามแพร่ง’

ชุมชนสามแพร่ง คือชื่อเรียกชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณถนนอัษฎางค์ทอดตัวยาวไปจรดกับถนนตะนาวหน้าศาลเจ้าพ่อเสือใจกลางกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย แพร่งภูธร แพร่งนรา และแพร่งสรรพศาสตร์ นับเป็นย่านการค้าประวัติศาสตร์ ที่เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยรัชกาลที่ 5

อ่านต่อ “ความสุขเรียบง่ายที่ชุมชนสามแพร่ง”

ใช้ใจแทนเงิน – Gift Economy

image (3)

เมื่อปี 2012 Brice Royer นอนซมอยู่บนเตียงด้วยความเจ็บปวดอย่างมากและเขาคิดจะฆ่าตัวตาย ทุกวันนี้ความเจ็บปวดนั้นยังอยู่ มะเร็งในกระเพาะอาหารของเขาก็ไม่ได้เล็กลง แต่เขาไม่เคยมีความสุขมากเท่านี้มาก่อน เมื่อปีที่ผ่านมา เขาตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ คือ “ให้และรับโดยไม่ใช้เงิน” เพื่อที่จะสร้างชุมชนที่ไม่พึ่งพาเงินตราเพื่อการแลกเปลี่ยน

อยู่กับความเจ็บปวดครั้งละ 1 นาที

ย้อนกลับไปที่ปี 2012 หมอวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร และเมื่อความเจ็บปวดมีมากขึ้น ๆ เขาพบว่ามันช่างยากที่จะตื่นขึ้นมาในแต่ละวัน

เช้าวันหนึ่ง เขาบอกตัวเองว่า เขาไม่อยากตื่นขึ้นมาอีก และ เขาวางแผนที่จะฆ่าตัวตาย โดยเขาวางแผนจะเดินทางไปยังประเทศที่สามารถทำ “การุณยฆาต” ได้อย่างถูกกฎหมาย  แต่มันก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เขาจึงบอกกับตัวเองว่า

“เอาล่ะผมจะมีชีวิตอยู่ต่ออีก 1 นาที ผมมองนาฬิกาและจับเวลา ในช่วงหนึ่งนาทีนั้น ผมนั่งนิ่งๆ… หายใจและรับรู้ยอมรับความเจ็บปวดที่มี หลังจากอีก 1 นาทีผ่านไป ผมมองดูนาฬิกาและบอกกับตัวเองว่า ผมมีชีวิตรอดอยู่ได้ 2 นาทีแล้ว”

เขาทำเช่นนี้ จนได้ 5 นาที 10 นาที และหลังจาก 1 ชั่วโมงผ่านไป เขาตัดสินในที่จะมีชีวิตอยู่ทั้งวัน

อ่านต่อ “ใช้ใจแทนเงิน – Gift Economy”

ความสุขลูกโป่ง สุขนี้ไม่อยู่ที่ใจ

ว่ากันว่า สุขทุกข์อยู่ที่ใจ หากสุขอยู่ที่ใจจริง ๆ แล้ว การมีความสุขไม่น่าจะยากอะไร อยากสุขเมื่อไรก็ย่อมทำได้ แต่คนส่วนมากทำใจให้เป็นสุขไม่ได้ หรือ มีความสุขไม่เป็น ทั้งชีวิตอาจรู้จักแต่ “ความสุขลูกโป่ง” เท่านั้น เอ๊ะ เป็นอย่างไร มาฟังท่านผู้รู้เรื่องความสุข วิเคราะห์เรื่องนี้กัน

clown-782544_640

สุขสมบัติ : ความสุขขั้นสามัญชน

อันความสุขทางจิตใจนี้ คิดๆดูก็น่าเห็นว่าหาได้ไม่ยากอีก เพราะความสุขอยู่ที่จิตใจของตนเอง จักต้องการให้จิตเป็นสุขเมื่อใด ก็น่าจะได้ ใครๆเมื่อคิดดูก็จักต้องยอมรับว่า น่าคิดเห็นอย่างนั้น แต่ก็ต้องยอมรับอีกว่าสามัญชนก็ทำไม่ได้เสมอไป เพราะยังต้องการ “เครื่องอุปกรณ์แห่งความสุข” หรือเรียกว่า “เครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุข” มีเงิน มีทอง มีเครื่องอุปโภค บริโภค เป็นต้น ถ้าเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุขขาดไป หรือมีไม่เพียงพอก็ทำให้เป็นสุขมิได้ นี้เรียกว่ายังต้องปล่อยใจให้เป็นไปตามเหตุการณ์อยู่ข้อนี้เป็นความจริง…

ผู้ปรารถนาสุขจึงสมควรจับเหตุให้ได้ก่อน ว่าอะไรเป็นเหตุของความสุข และอะไรเป็นเหตุของความทุกข์ บางคนอาจเห็นว่า เหตุของความสุขความทุกข์อยู่ภายนอก คือ สุขเกิดจากสิ่งภายนอก มีเงินทอง ยศ ชื่อเสียง บ้านที่สวยงาม เป็นต้น ส่วนความทุกข์ก็เกิดจากสิ่งภายนอกนั้นเหมือนกัน บางคน อาจเห็นว่าความสุขความทุกข์เกิดจากเหตุภายใน จักพิจารณาความ เห็นทั้งสองนี้ต่อไป

อ่านต่อ “ความสุขลูกโป่ง สุขนี้ไม่อยู่ที่ใจ”

ทำไมเงินซื้อความสุขไม่ได้?

เราทุกคนติดกับดักความเชื่อที่ว่า การได้ทำงานตำแหน่งใหญ่โต มีบ้านหรู จะนำมาซึ่งความสุขในชีวิต ความเชื่อในความสุขแบบผิดๆ นอกจากจะทำให้ออกห่างจากความสุขที่แท้จริงแล้ว ยังส่งผลให้เรามองหามันผิดที่ การไปยึดติดกับสิ่งของหรือคนอื่น เพื่อจะทำให้เรามีความสุขนั้น นับเป็นสิ่งที่ฉาบฉวยชั่วคราว ไม่อาจใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจเราได้

ว่ากันว่า เงินถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้นมา มนุษย์ก็เริ่มวิ่งไล่ไขว่คว้าเงินกันอย่างอุตลุด เชื่อว่าใครถือครองได้มากเท่าไร ก็จะมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น ทว่ามีคนบางกลุ่มกลับพบว่า แม้จะมีเงินอยู่มากมาย ท้ายที่สุดกลับพบแต่ความว่างเปล่า

            มีบล็อกเกอร์คนหนึ่งใช้ชื่อว่า Happy Way เธอสนใจศึกษาเรื่องศิลปะและวิทยาศาสตร์เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ค้นคว้าทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เธอเชื่อว่านอกจากมนุษย์จะต้องรู้จักความสุขที่แท้จริงแล้ว ยังควรที่จะเรียนรู้วิธีที่จะไปถึงความสุขนั้นด้วย และนี่บางส่วนจากข้อเขียนของเธอ ที่พยายามตอบคำถามว่า ทำไมเงินซื้อความสุขไม่ได้

43e39040_cr

 

อ่านต่อ “ทำไมเงินซื้อความสุขไม่ได้?”

ความสุขของมนุษย์ล้อ

วรยุทธ1

ผมรู้สึกว่าศักดิ์ศรีของคนอยู่ที่ค่าของงาน ผมชอบริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ มีความสุขทุกครั้งที่เห็นคนพิการได้ทำงาน ตอนที่ผมกลับมาทำงานได้อีกครั้งในฐานะคนพิการ ผมมีความสุขมากกว่าสมัยที่ผมเดินได้เสียอีก เพราะมันมีความภูมิใจว่าเราทำได้ เราเอาชนะมันได้

หากใครเคยจินตนาการว่าบรรยากาศการทำงานของผู้พิการจะเต็มไปด้วยความซึมเซา รันทดหรือยากลำบาก เมื่อได้มาเยี่ยมชมการทำงานที่บริษัทสยามนิชชินแล้วความคิดของคุณจะเปลี่ยนไป เพราะที่นี่แม้จะมีพนักงานเป็นคนพิการ 22 คน ซึ่งเป็นอัตราส่วนถึง 60% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับร่าเริงแจ่มใส เคลื่อนไหวร่างกายบนวีลแชร์ได้อย่างคล่องแคล่ว ดวงตาเปล่งประกายความสุข โดยเฉพาะผู้ก่อตั้งบริษัทคือ คุณวรยุทธ กิจกูล มนุษย์ล้อผู้ที่ฝ่าฝันมรสุมชีวิตบนวีลแชร์มาแล้วกว่า 30 ปี

คุณวรยุทธ กิจกูล ถูกลอบยิงเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2527 (โดยไม่ทราบสาเหตุ) หลังสิ้นเสียงปืนที่คนร้ายลั่นไก อนาคตของคนหนุ่มวัย 29 ปีที่เพิ่งแต่งงานได้เพียง 8 เดือนก็ดูจะมืดดับลงไปพร้อมกัน

อ่านต่อ “ความสุขของมนุษย์ล้อ”

Q : ตั้งแต่เป็นโรคซึมเศร้า ไม่เคยรับรู้ถึงความสุขและความรัก ที่คนรอบข้างส่งมาให้เลยค่ะ พอมองไปทางไหนก็เจอแต่คนที่ไม่เข้าใจ เจอแต่คำพูดที่ทำให้รู้สึกแย่ ทั้งๆที่คำพูดเหล่านั้น สำหรับคนที่ไม่ป่วย มันก็คงไม่รุนแรงอะไร รู้สึกว่าเข้ากับใครในสังคมไม่ได้ และคิดอยู่เสมอว่า การหลับไปตลอดกาล น่าจะเป็นทางออก ควรทำอย่างไรดีคะ?

A : คุณมิอาจรับรู้ถึงความสุขและความรักของคนรอบข้างได้

คงเป็นเพราะคุณมองเห็นแต่คนที่ไม่เข้าใจคุณ หรือได้ยินแต่คำพูดที่ทำให้รู้สึกแย่

อาตมาเชื่อว่าคนที่รักคุณ เข้าใจคุณ และชื่นชมคุณมีอยู่ไม่น้อย

แต่คุณมองไม่เห็น เพราะมัวแต่จดจ่อแต่สิ่งที่เป็นลบดังที่กล่าวมาข้างต้น

ใจของคนเราเหมือนแก้ว  ถ้ามีน้ำเต็มแล้ว จะเติมน้ำใหม่ลงไปเท่าไหร่ มันก็ล้นออกหมด อ่านต่อ “Q : ตั้งแต่เป็นโรคซึมเศร้า ไม่เคยรับรู้ถึงความสุขและความรัก ที่คนรอบข้างส่งมาให้เลยค่ะ พอมองไปทางไหนก็เจอแต่คนที่ไม่เข้าใจ เจอแต่คำพูดที่ทำให้รู้สึกแย่ ทั้งๆที่คำพูดเหล่านั้น สำหรับคนที่ไม่ป่วย มันก็คงไม่รุนแรงอะไร รู้สึกว่าเข้ากับใครในสังคมไม่ได้ และคิดอยู่เสมอว่า การหลับไปตลอดกาล น่าจะเป็นทางออก ควรทำอย่างไรดีคะ?”

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    ใช้ Google analytics สำหรับเก็บข้อมูลการใช้งานเพื่อวิเคราะห์การใช้งานภายในเว็บไซต์

Save