8 ช่องทางความสุข

ทำไมคน Gen Y ถึงไม่มีความสุข  ?

ก่อนจะไล่ลงไปอ่านมาทำความรู้จักกับคนแต่ละเจเนอเรชั่นกันก่อน ในบทความนี้จะมีตัวละครจากสามรุ่น นั่นคือ
1. Greatest Generation คนยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2444-2467
2. Baby Boomer คนรุ่นหลังสองครามโลกเพิ่งจบ  พ.ศ. 2489-2507
3. Generation Y พวกเรา ๆ ท่าน ๆ ที่เกิดช่วง  พ.ศ. 2523-2540 นี่แหละครับ   อายุราวๆ 17 – 34 ปี

ต้นฉบับภาษาอังกฤษใช้การเล่าเรื่องนี้ผ่านตัวละครสมมติชื่อว่าลูซี่
ลูซี่คือตัวภาพวาดขี้ก้างด้านล่างตัวนี้ เป็นมนุษย์โลกที่เกิดในช่วงปลายยุค 70s-กลางยุค 90s
ตัวแทนของเด็กยุคเจเนอเรชั่น วาย (ขอเรียกสั้น ๆ ว่า เจนวาย)


แล้วทำไมลูซี่ถึงไม่มีความสุข? คนเขียนก็เลยอธิบายสมการความสุขของชีวิตแบบง่าย ๆ เอาไว้ว่า
ความสุข = ความจริง – ความคาดหวัง นั่นก็คือ อะไรที่มันดีกว่าที่หวังไว้ นั่นคือความสุข
แล้วทำไมลูซี่ถึงไม่มีความสุข ก็ต้องย้อนไปดูกันถึงโคตรเหง้าของลูซี่กันเลยทีเดียว
ก็จะมีตัวละครเพิ่มขึ้นมาอีกสองตัวคือพ่อแม่ของลูซี่ เป็นมนุษย์โลกตัวแทนของคนยุคเบบี้บูมเมอร์จากยุค 50s
พ่อแม่ของลูซี่ถูกเลี้ยงดูจากคนรุ่นที่เพิ่งผ่านสงครามโลกครั้งที่สองและได้เห็นความโหดร้ายของสงครามมา
lucy

คนกลุ่มนี้จะหมกหมุ่นอยู่กับเรื่องของความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ก็เลยสอนลูกหลานรุ่นเบบี้บูมเมอร์
ให้ก่อร่างสร้างตัวและมีงานที่มั่นคงกว่าตัวเองเพื่อความสบายในอนาคต โดยเปรียบเทียบเป็นการปลูกหญ้า
คนรุ่นทวดต้องการให้ลูกหลานปลูกหญ้าให้เขียวกว่าที่ตัวเองเคยมีนั่นเอง

คนยุคเบบี้บูมเมอร์อย่างพ่อแม่ของลูซี่ถูกสอนว่าไม่มีสิ่งใดจะมาขัดขวางการก้าวไปสู่เป้าหมายนั้นได้
แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการทำงานหนักในช่วงแรก
เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของชีวิตที่มีเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเงิน
ถ้าเปรียบเทียบออกมาเป็นกราฟระดับความคาดหวังในความสำเร็จของคนยุคเบบี้บูมเมอร์ก็จะออกมาภาพด้านล่างนี้
จะเห็นได้ว่าพวกเขาใช้เวลาของการเริ่มต้นชีวิตหมดไปกับการทำงานหนัก
ก่อนจะได้มาซึ่งสนามหญ้าสีเขียวขจีแบบที่พวกเขาต้องการ/ถูกสอนมา
baby boomer

ทีนี้พอเข้าสู่ช่วงที่คนยุคเบบี้บูมเมอร์ต้องทำงานหนัก ช่วงยุค 70s, 80s, 90s เศรษฐกิจมันก็ดันดีวันดีคืน
แบบเป็นประวัติการณ์ ก็เลยกลายเป็นว่าคนยุคเบบี้บูมเมอร์ส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จมากเกินกว่าที่ได้คาดหวังไว้
กลับไปที่สมการเมื่อตอนต้นบทความว่า ความสุข = ความจริง – ความคาดหวัง เมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นบวก
นั่นก็หมายความว่าคนยุคเบบี้บูมเมอร์เป็นคนที่มีความสุขซะเป็นส่วนใหญ่
baby boomer2

หลังจากที่คนยุคเบบี้บูมเมอร์อย่างพ่อแม่ของลูซี่ประสบความสำเร็จได้มากกว่าคนยุค Greatest Generation แล้ว
พวกเขาก็เลยสอนคนเจนวายต่อไปจากประสบการณ์ความสำเร็จของตัวเองว่า
อยากเป็นอะไรก็ย่อมเป็นได้ ดูพ่อแม่สิลูก ปลูกฝังความฝันให้คนเจนวายมากขึ้นไปอีก จากแค่สนามหญ้า
กลายเป็นว่าคนเจนวายคิดไปถึงการปลูกดอกไม้กันแล้ว
และจุดนี้นำพาเราไปพบกับความจริงที่ว่า คนเจนวายเป็นพวกที่มีความทะเยอทะยานสูงมาก

i suppose
คนเจนวายมีความต้องการที่มากกว่าคนรุ่นพ่อแม่ทั้งด้านความสำเร็จและความมั่นคง
คนเจนวายมีเป้าหมายของตัวเองอย่างชัดเจนว่าต้องการ ‘เป็นอะไร’
ความคาดหวังในแบบของพ่อแม่พวกเขาเหล่านั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนเจนวาย
เพราะมันดูไม่ค่อยจะ unique เท่าไหร่ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่า
คนยุคเบบี้บูมเมอร์ต้องการจะมีแบบที่คนอเมริกันอยากจะมีกันทั่วไป (The American Dream)
แต่คนเจนวายกลับต้องการไปให้ถึงความฝันของตัวเอง (Their Own PersonalDream) กันแบบสุดโต่ง

คาล นิวพอร์ตจากเว็บไซต์ฮาร์เวิร์ด บิสซีเนส รีวิว เขียนเอาไว้ว่าวลีอย่าง “follow your passion”
กลายเป็นวลียอดฮิตที่ถูกตีพิมพ์ในหนังสือตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา
(จากการค้นหาด้วย Google Book Ngram Viewer)
และคำอย่าง “a fulfilling career”  (อาชีพที่ใฝ่ฝัน/สมปรารถนา)  ก็ก้าวขึ้นมาเป็นคำยอดนิยมในหนังสือ
แทนที่คำว่า “a secure career” (อาชีพที่มั่นคง มีหลักประกัน) ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วในช่วงเวลาที่คนเจนวายเติบโตกันมา
graph1 graph2

 

แต่อย่าเพิ่งเข้าใจกันไปว่าคนเจนวายจะล่าท้าฝันกันจนไม่ต้องการหน้าที่การงานที่มั่นคง
เหมือนคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ต้องการกัน พวกเขายังคงต้องการความมั่นคงอยู่
เพียงแต่ว่าพวกเขาต้องการงานที่จะมา ‘เติมเต็ม’ ให้ชีวิตด้วย ในแบบที่ผู้ปกครอง
ซึ่งเป็นคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ไม่ได้คิดกัน คิดแค่ความมั่นคงจากการทำงานหนักอย่างเดียว

นอกจากการปลูกฝังที่คนเจนวายได้รับมาจนก่อให้เกิดเป็นความทะเยอทะยานแล้ว
ยังมีอีกคำหนึ่งที่ลูซี่และคนเจนวายมากมายได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย นั่นคือ
พอได้รับการอบรมสั่งสอน เลี้ยงดู ปลูกฝังว่าตัวเองเป็นคนพิเศษกัน ก็เลยกลาเป็น fact
ขึ้นมาอีกข้อว่า คนเจนวายเป็นพวกหลงผิด (Delusional) เข้าใจไปเองว่าตัวเองอยู่เหนือกว่าคนอื่น
ยกตัวอย่างเช่นกราฟของลูซี่ตัวละครสมมติของเราที่ด้านล่างที่คนเขียนยกตัวอย่างให้เห็นว่า
ในหัวของคนเจนวาย 1 คน วางตำแหน่งหน้าที่การงานของตัวเองไว้ในระดับไหน และมองคนอื่นอยู่ในระดับไหน
lucy 's career

แล้วทำไมถึงบอกว่าคนเจนวายเป็นพวกหลงผิด นั่นก็เพราะว่า ในตัวคนเจนวาย (แทบ) ทุกคนคิดแบบนี้
เนื่องจากถูกฝังหัวมาอัดแน่นมาด้วยคำว่า “special” ซึ่งตามนิยามของมันแล้ว ความพิเศษตัวนี้ก็คือ

better, greater, or otherwise different from what is usual.

จากความหมายของคำว่า special ด้านบน แนวคิดของคนเจนวายมักจะคิดเพียงแค่ว่า
คนส่วนมากไม่ได้มีความพิเศษอะไรในตัว ความพิเศษของคนอื่นไม่ได้มีความหมายอะไรหรอก

แม้แต่จนถึงตอนนี้บรรดาเจนวายที่กำลังอ่านอยู่ก็คงคิดว่า
“เป็นประเด็นที่น่าสนใจ แต่ฉันก็ยังเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีความพิเศษกว่าคนอื่นอยู่ดีนั่นแหละ”

ความหลงผิดลำดับถัดมาของบรรดาเจนวายจะเปิดขึ้นเมื่อพวกเขาเข้าสู่โลกของการทำงาน
ในขณะที่พ่อแม่ของลูซี่คาดหวังเพียงแค่การทำงานหนักในช่วงต้นเพื่อให้ได้พบกับอาชีพที่มั่นคงในอนาคต
ลูซี่ก็คิดไปถึงอาชีพที่มั่นคงที่เหมาะสมกับคนยอดเยี่ยมอย่างเธอแค่เพียงคนเดียวเท่านั้น
และในมโนภาพกราฟความคาดหวังในชีวิตการทำงานของลูซี่ก็จะออกมาหน้าตาประมาณภาพด้านล่างนี้
lucy expect

ถ้าย้อนกลับไปดูกราฟของพ่อแม่ลูซี่ที่ช่วงต้นบนความ จะเห็นได้ว่าความชันในตอนเริ่มต้นของการทำงาน
มันไม่ได้ชันแบบก้าวกระโดดขนาดนี้ และก็ไม่ได้มีดอกไม้หรือยูนิคอร์นอะไรมาตกแต่งให้เวอร์แบบนี้
มีเพียงแค่หญ้า (ที่คนเขียนบทความนี้เลือกมาใช้แทนความมั่นคง) อย่างเดียว
คนเจนวายมักจะลืมคิดไปว่าโลกมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น แม้แต่การจะใช้ชีวิตเพื่อให้ได้มาซึ่งกราฟชีวิต
ที่มั่นคงอย่างเดียวยังไม่ใช่เรื่องง่าย นี่เล่นไปหวังถึงสำเร็จแบบ ‘ไกลตัว’
เกินไปจนลืมนึกไปว่าแม้แต่คนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกนี้หลาย ๆ คน
ก็แทบจะไม่มีผลงานอะไรเจ๋ง ๆ ออกมาเลยในช่วงอายุ 20 ต้น ๆ

จากงานวิจัยของพอล ฮาร์วีย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเจนวายจากมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์
เขาได้บอกเอาไว้ว่าคนเจนวายเป็นพวกที่คาดหวังอะไรเกินจริง รับไมไ่ด้กับคอมเมนต์ถึงตัวเองในแง่ลบ
มองตัวเองในมุมมองที่สูง และยังบอกอีกว่าคนพวกนี้มักจะไม่พอใจที่ไม่ได้รับความเคารพ
และผลตอบแทนตามที่ตัวเองคาดหวังทั้งที่จริง ๆ แล้วพวกเขาไม่มีความสามารถ
และความพยายามมากพอที่จะไปให้ถึงระดับที่หวังไว้

สำหรับคนที่กำลังจะจ้างงานบรรดามนุษย์เจนวาย ฮาร์วีย์ได้แนะนำคำถามสำหรับถามคนเหล่านี้ไว้หนึ่งข้อใหญ่
แบ่งเป็นสองข้อย่อย นั่นคือ “คุณคิดว่าตัวเองอยู่เหนือกว่าเพื่อนร่วมงาน/เพื่อนร่วมชั้นเรียน ฯลฯ หรือเปล่า?
ถ้าใช่ ทำไมถึงคิดแบบนั้น?” ถ้าคำตอบที่ได้รับในพาร์ทแรกคือ ‘ใช่’
แต่ติดขัดตอนที่ถูกถามต่อว่าเพราะอะไร แสดงว่าเริ่มไม่เข้าท่าแล้ว

และหลังจากที่ลูซี่กระโดดเข้ามาสู่โลกของการทำงานได้ซักพัก
กราฟของเธอก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง แล้วเธอก็พบว่าตัวเธอเองอยู่ห่างไกลจากความคาดหวัง
ที่เคยตั้งเป้าเอาไว้แบบ ‘ห่างไกลเหลือเกิน’
expect

จากสมการความสุขอันเดิมที่เขียนไว้ตอนต้น ความสุข = ความจริง – ความคาดหวัง
คนเจนวายส่วนใหญ่กำลังอยู่ในจุดเดียวกับลูซี่ตอนนี้นั่นคือ คาดหวังสูง (เกินความสามารถของตัวเอง)
ไป ผลก็เลยออกมาเป็น ไม่มีความสุข นั่นเอง

และสิ่งที่ทำให้ลูซี่และคนเจนวายอีกมากมาย ‘unhappy’ มากขึ้นไปอีกนั่นก็คือโลกของโซเชียลมีเดีย
โลกที่ผู้คนพากันเล่าถึงความสำเร็จของตัวเอง หรือบางทีนำเสนอออกมาให้ดูดีกว่าความเป็นจริง
และมักจะมีแค่ผู้คนที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหรือความสัมพันธ์กำลังไปได้สวยซะเป็นส่วนใหญ่
ที่จะโอ้อวดชีวิตตัวเองลงบนเฟซบุ๊ก ในขณะที่คนที่ชีวิตกำลังแย่มักจะไม่ค่อยโพสต์อะไรเกี่ยวกับชีวิตตัวเองให้ใครรับรู้
นั่นยิ่งทำให้ลูซี่รู้สึกไม่มีความสุขเข้าไปอีกเนื่องจากเธอมองเห็นแต่ความสำเร็จของคนอื่น
ทุก ๆ คนกำลังไปได้สวยกันหมดเลย ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพชัด ๆ ก็คงจะต้องให้ภาพกราฟด้านล่างพูดแทน

 

ความคาดหวังที่ ‘สูงเกินไป’ ของบรรดา ‘ลูซี่’ หรือคนเจนวายในปัจจุบันนี่แหละครับ
ที่ทำให้คนรุ่นเราในทุกวันนี้ไม่มีความสุข ผมไม่ได้จะบอกว่าการตั้งเป้าหมายให้สูงไว้มันไม่ดี เพียงแต่ว่า
ถ้าตั้งเป้าโดยไม่ได้ประเมินความสามารถของตัวเอง หรือคอยแต่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
มันก็จะไม่มีความสุขแบบที่คุณ, คุณ, คุณ แล้วก็คุณ แล้วก็ผมกำลังเป็นกันอยู่นี่แหละครับ
lucy 's peers

เจ้าของบทความเขียนคำแนะนำไว้ให้ลูซี่ด้วยสามข้อ แน่นอนว่า
ลูซี่ที่เขาหมายถึงก็คือพวกเราเจนวายนี่แหละครับ

1. ทะเยอทะยานให้มากเข้าไว้เหมือนเดิม โลกนี้ยังมีหนทางไปสู่ความสำเร็จให้กับคนที่มีความทะเยอะทะยานสูงอยู่
ถึงหนทางอาจจะยังไม่แน่ชัด แต่ก็คุ้มที่จะสู้
2. เลิกคิดว่าตัวเองพิเศษ ความเป็นจริงก็คือ

“คุณเป็นแค่คนคนนึงที่ไม่ได้มีความสามารถพิเศษอะไรเลย”
“คุณคือไอ้เด็กที่ไหนก็ไม่รู้ที่ไม่มีประสบการณ์มากพอ”
“คุณจะเป็นคนพิเศษได้ก็ต่อเมื่อทำงานหนักมาเป็นเวลานาน ”
3. เลิกสนใจคนอื่น หญ้าบ้านคนอื่นเขียวกว่าบ้านตัวเองไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ทุกวันนี้โลกมันสร้างภาพกันง่ายกว่าเดิม
บางทีหญ้าบ้านคนอื่นอาจจะดูเหมือนทุ่งเลยก็ได้จากมุมมองของเรา ความจริงก็คือทุก ๆ คนเป็นเพียงพวกที่ยังลังเล,
สงสัยในตัวเองและมีความผิดหวังเหมือนที่คุณเป็นนั่นแหละ
เพียงแค่คุณทำหน้าที่ของคุณไปให้ดี ๆ คุณก็ไม่จำเป็นต้องอิจฉาคนอื่นอีกเลย

 

credit :  http://fjsk.in.th/2014/03/why-generation-y-yuppies-are-unhappy
: http://pantip.com/topic/31735034

การทำงาน

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save