Search Results for: 2016/03

กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา

เรื่องโดย ทีมงานความสุขประเทศไทย

มหาวิทยาลัยนาโรปะ (มลรัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา) ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ.1947 โดยผู้นำจิตวิญญาณชาวทิเบต นามว่าเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช เป็นแหล่งที่ริเริ่มแนวคิดเรื่องจิตปัญญาศึกษา สถาบันการศึกษาแห่งนี้โดดเด่นในด้านการยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย เคารพต่อเพื่อนมนุษย์ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การรับฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง การสืบค้นสำรวจภายในตนเอง เพื่อนำสู่การหยั่งรู้อย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาที่ใช้แนวคิดจิตปัญญาในการจัดการเรียนการสอนยังมีที่ California Institute

“ศิลปะบำบัด” (Art Therapy) : เยียวยาจิตวิญญาณให้สมดุล

เรื่องโดย ทีมงานความสุขประเทศไทย

มนุษย์พบแล้วว่า “ศิลปะ” มิใช่เป็นเพียงกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีไว้ผ่อนคลายหรือเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ยังสามารถนำศิลปะมาเยียวยาปัญหาด้านจิตใจได้อย่างดีเยี่ยม เป็นเวลาเนิ่นนานมากแล้วที่ในต่างประเทศได้ใช้ “ศิลปะบำบัด” (Art Therapy) รักษาผู้ป่วยทาง กายและจิตใจ กระทั่งในประเทศไทยเราก็ใช้ ศิลปะบำบัดมานานกว่า 20 ปี แต่กลับเป็นที่รู้จักในวงแคบๆเท่านั้น ผมคิดว่าศิลปะเป็นเรื่องลึกซึ้งมาก ยิ่งเรียนรู้มากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งรู้สึกว่าไม่มีจุดสิ้นสุดและศิลปะก็ทำงานกับจิตใจของคนได้น่าสนใจทีเดียวเพราะศิลปะมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงมนุษย์ได้… – อนุพันธ์ พฤกษ์พันธ์ขจี

ผสานพลังการทำสมาธิ + การวิ่ง ลดความคิดฟุ้งซ่านและอาการซึมเศร้าได้

เรื่องโดย ทีมงานความสุขประเทศไทย

เสริมพลังต้านความฟุ้งซ่าน ด้วยการผนวกการทำสมาธิเข้ากับการออกกำลังกาย งานวิจัยใหม่พบว่าการผสมผสานการทำสมาธิและการวิ่งจะช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยได้ และทำให้คนธรรมดามีสมาธิดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นด้วยเช่นกัน มาลองทำกันดูไหม…? อาการอย่างหนึ่งที่พบในผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า คือ ไม่สามารถหยุดคิดถึงเรื่องที่เศร้าๆ และความหลังฝังใจได้ อาการคิดซ้ำๆ ย้ำไปมานี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วน คือ prefrontal cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับความสามารถในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และสมองส่วน hippocampus

เติมสุขในบ้านด้วยการภาวนา

เรื่องโดย ทีมงานความสุขประเทศไทย

การภาวนาต้องทำด้วยความสุข ความสุขจากการภาวนาจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครบังคับ พอเกิดขึ้นแล้วเราจะใช้ชีวิตสบายขึ้น มีความสุขง่ายขึ้น มันจะไม่มีความรู้สึกต้องไปตามหาอะไรมากมายอีกแล้ว   หลายปีก่อน ‘การภาวนา’ มักนิยมปฏิบัติกันเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย คุณปู่-คุณย่า คุณตา-คุณยาย ไปวัด ลูกหลานก็อยู่บ้านกันไป . ต่อมากลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มสนใจการภาวนา ลูกวัยทำงานเริ่มมาฝึกภาวนา พ่อแม่ก็อยู่บ้าน บางบ้านคุณแม่มาฝึกภาวนา ทิ้งให้พ่อลูกอยู่บ้านดูแลกัน .

การถ่ายภาพเชิงภาวนา

เรื่องโดย ทีมงานความสุขประเทศไทย

การถ่ายภาพเชิงภาวนา คือการฝึกภาวนาด้วยการมอง เรียนรู้การมองเห็นโลกด้วยมุมมองที่สดใหม่ เกิดเป็นสุขภาวะทางปัญญา มองเห็นความง่ายงามจากสิ่งธรรมดาๆ ที่อยู่รอบตัว หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ เมื่อเราออกเดินทางกับเพื่อนสักคน ต่างคนต่างถ่ายภาพระหว่างทาง แต่ทั้งๆ ที่ไปที่เดียวกันแท้ๆ ภาพที่ได้กลับไม่เหมือนกัน ของธรรมดาๆ บางอย่างที่เราไม่เคยสังเกตเห็น เช่น ดอกไม้ริมกำแพง หยดน้ำค้างบนยอดหญ้า เงาของเสาไฟฟ้าที่ทอดยาวบนพื้นถนน บางครั้งคนอื่นกลับมองเห็น และถ่ายทอดออกมาสวยงามจนคาดไม่ถึง

เทคนิคการฝึกสติตลอดวันทำงานของคุณ

เรื่องโดย ทีมงานความสุขประเทศไทย

คุณอาจเคยมีประสบการณ์เช่นนี้ ตอนเช้าคุณมาถึงที่ทำงานพร้อมแผนการอย่างดีว่าจะทำอะไรบ้าง เวลาผ่านไปมารู้สึกตัวอีกทีก็ตอนกำลังเดินทางกลับบ้านแล้ว เวลากว่า 9 – 10 ชั่วโมงที่ผ่านไป คุณทำงานตามที่ตั้งใจไว้ได้ไม่กี่อย่าง หรือจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าได้ทำอะไรไปบ้างในแต่ละวัน ถ้าคุณเคยเป็นแบบนี้ก็ไม่แปลก เพราะงานวิจัยชี้ว่า คนทั่วไปใช้เวลาเกือบครึ่งหนึ่ง (47%) คิดถึงเรื่องอื่นมากกว่าสิ่งที่กำลังทำตรงหน้า หรือพูดง่าย ๆ คนส่วนมากทำสิ่งต่าง ๆ ไปตามความเคยชินโดยไม่รู้สึกตัว

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save