8 ช่องทางความสุข

ไทชิบำบัด : Tai Chi Therapy อ่อนช้อย เนิบนาบชีวิตสมดุล

ไทชิ(หรือที่บ้านเรานิยมเรียกว่า “ไทเก๊ก” ผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กคือนักบวชจางซานฟง ซึ่งมีชีวิตอย่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12-14) ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าวิชาเพลงมวยโบราณของประเทศจีน อันมีการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง ผ่อนคลาย นุ่มนวล และโอนอ่อน

แม้ว่าจัดเป็นศิลปะการต่อสู้ก็ตาม แต่ด้วยความผ่อนคลายสุขุมและโดดเด่นด้วยคุณสมบัติในการบำบัดโรคทางกายและใจ(mind-body therapy) จึงเป็นที่นิยมแก่ผู้คนทั่วทั้งโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงวัยทั้งหลาย

สมาธิ และ ลมปราณ คือ 2 สิ่งที่ไทชินำมารวมพลังกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแห่งการชะลอวัย การไหลเวียนโลหิต โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ใดๆ หนำซ้ำยังประหยัดกว่าการออกกำลังกายประเภทใดๆ

และแม้จะเนิบนาบนุ่มนวลในการเคลื่อนไหว แต่ทว่าการใช้พลังงานก็มิได้ด้อยไปกว่าการเต้นแอโรบิค(แบบแรงปานกลาง(moderate intensity) ประโยชน์ทางด้านช่วยการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น การลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดก็มีความโดดเด่น โดยไม่ต้องเหนื่อยแบบการออกกำลังกายที่หักโหม และยังไม่ต้องเสี่ยงต่อการกระทบกระแทกใดๆ

ความอ่อนช้อย แช่มช้าของท่วงท่านั้น ช่วยทั้งการหายใจเข้าออกที่ลึกและยาว ทำให้การไหลเวียนเลือดราบรื่นส่งผลดีต่อหัวใจ กระบังลม ตับ ปอด เซลล์เกิดการฟื้นฟูและแข็งแรง

ผลคือความสดชื่นกระชุมกระชวยแก่ช้า อายุยืนยาว

 

How …?

 

ชั้นเรียนไทชิบำบัด เขาสอนอะไรบ้าง ?

ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นที่บำบัดการเจ็บป่วยของร่างกาย ปวดหลังไหล่ ไมเกรน ระบบลำไส้ ระบบการหายใจ มีปัญหาเรื่องการทรงตัว ฝึกสมาธิในการเคลื่อนไหว ฟื้นความทรงจำให้ดีขึ้นและความเป็นหนุ่มสาวในจิตใจและร่างกาย รักษาสมดุลในอารมณ์ฯ เน้นการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม การฝึกสมาธิบำบัดและการเปลี่ยนแปลงร่างกายด้วยจิตใจ เข้าใจพลังธรรมชาติ (พลัง ฟ้าดิน) การสะสม “ชี่” หรือ “ปราณ” ในร่างกาย

  1. หลักการรำมวยไทชิที่ถูกต้อง (ตระกูลหยาง) 81 ท่า และ รำซ้าย-ขวา เพื่อฝึกประสาททั้ง 2 ซีกของสมองและร่างกาย
  2. เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกาย – กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็น เส้นประสาท จนถึงผิวหนัง / ฝึกปรับท่าทาง การทรงตัว จัดระเบียบความสมดุลของร่างกายซ้ายขวา (Posture Healing)
  3. ฝึกปรับเปลี่ยนและเยียวยาร่างกายด้วยจิตสมาธิ (สมาธิบำบัด) เพื่อให้มีทักษะและความว่องไวในการตระหนักรู้ผ่านร่างกาย- Body Awareness
  4. ฝึกฟังเสียงของร่างกาย ผ่านการเคลื่อนไหว ภายใต้สมาธิ และจิตที่สงบนิ่ง (Listen to Your Body)
  5. ทำความเข้าใจพลังหยินและพลังหยางในตัวเรา ในตัวคนอื่น และในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  6. เชื่อมโยง”ไทชิ”(ไท่จี๋หรือไท่เก็ก)กับชีวิตประจำวัน และปรับใช้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆในสายสมาธิบำบัด

 

Where… ?

 

Tai Chi Therapy Center ชั้น 17 อาคารพญาไทพลาซ่า ติด BTS พญาไท (และแอร์พอร์ตลิงค์)
อ.ธรรมศักดิ์ 081-906-8081/ ครูส้ม 083-250-0085

 


 

แหล่งข้อมูล

การเคลื่อนไหวร่างกาย

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save