8 ช่องทางความสุข

สมาธิการเดินทางครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต : สมาธิเพื่อการตื่นรู้อันผ่องพิสุทธิ์

องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 6 สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันสมาธิโลก”

นับได้ว่าการทำสมาธิ (Meditation) เป็นภูมิปัญญาของชาวพุทธซึ่งเผยแผ่ไปทั่วโลกได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูง โดยชาวอเมริกันและผู้คนภาคพื้นทางยุโรปให้ความนิยมยิ่งขึ้นทุกขณะ หลังจากที่พบว่า ช่วยแก้ปัญหาความเครียด อาการนอนไม่หลับ ลดความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ลงอย่างน่าอัศจรรย์

ทั้งนี้การทำสมาธิได้รับการทดลอง พิสูจน์และได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งพบว่าการทำสมาธิจะทำให้เกิดสมดุลทั้งทางกายและจิตใจ โดยร่างกายจะหลั่งสาร Endorphins หรือสารแห่งความสุข ซึ่งช่วยให้การทำงานของระบบต่างๆในร่างกายสมดุลขึ้น จิตใจสงบและสดชื่นขึ้นมาก แม้แต่ทางกระทรวงสาธารณสุขของไทยเราก็สนับสนุนคนไทยให้ฝึกสมาธิเป็นกิจวัตร เพราะตระหนักถึงผลดีดังกล่าว

แท้แล้ว การทำสมาธิก็คือ การเดินทางครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต เพราะเป็นการเดินทางสู่ภายในจิตใจของตนเอง เพื่อค้นพบตัวตนที่แท้ด้วยความสร้างสรรค์และสงบเย็น ก่อเกิดการตื่นรู้ เข้าถึงกฎแห่งธรรมชาติและระเบียบแห่งจิตวิญญาณ เชื่อมโยงกับพลังและจิตสำนึกที่บริสุทธิ์สูงสุด ซึ่งทุกคนที่ฝึกสมาธิมีสิทธิที่จะได้รับประสบการณ์อันผ่องพิสุทธิ์นี้

 

How…?

 

รูปแบบของสมาธิที่นำมาประยุกต์ใช้กับสังคมยุคนี้ ที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ การนำมาใช้กับการทำงานในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่ไม่ได้ต้องการให้คนทำงานแค่มีความสุขอย่างผิวเผิน (สุขแบบโลกๆที่พอกไปด้วยกิเลส) แต่ปรารถนาให้มีความ ปิติสุขอย่างยั่งยืน (Happy Soul) ซึ่งนำมาทั้งความดีงาม ความรัก ความเมตตา และมีความสุขเย็นอย่างแท้จริง

หลายหน่วยงานเน้นเรื่องของการมีสติและการทำสมาธิ หลายหน่วยงานสนับสนุนการทำสมาธิก่อนการประชุม ในขณะที่อีกหลายองค์กรถึงกับออกเป็นกฎกติกาโดยเน้นเรื่องสติสมาธิเป็นสำคัญ เช่น

  1. ให้มีการทำสมาธิก่อน และหลังเลิกงาน
  2. ให้มีการทำสมาธิก่อน และหลังการประชุม
  3. ให้ทำงาน พูดคุย และรับฟังกันอย่างมีสติ

ด้วยว่าหน่วยงานหรือองค์กรเหล่านั้นมั่นใจว่า นี่คือเครื่องมืออันสำคัญที่จะทำให้การประชุมและความสัมพันธ์ระหว่างคนในหน่วยงานเป็นไปอย่างกัลยาณมิตร เพิ่มพูนการเรียนรู้ มีความสร้างสรรค์ เน้นแก้ปัญหาทุกอย่างได้อย่างลุล่วง ทั้งยังจะสร้างความสุขและความสำเร็จ ลดความเครียดหรือความว้าวุ่นที่สะสมไว้ในจิตสำนึก ส่งผลให้การทำงานมีคุณภาพ และประสบความสำเร็จ บรรลุถึงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างของหน่วยงานที่นำหลักพัฒนาจิตมาใช้ในองค์กร ซึ่งแพทย์หญิงวนิดา สาดตระกูลวัฒนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงห์บุรี ได้กล่าวว่า

การนำสติสมาธิมาใช้ในการอยู่ร่วมกันของคนในองค์กร ทำให้การอยู่ร่วมกันมีความเอื้ออาทร รับฟังกันมากขึ้น ถ้ามีการทำสมาธิก่อนการประชุม จะลดความขัดแย้งไปได้เยอะ คนจะฟังกันมากขึ้น

การฝึกสติสมาธินั้น ผู้ฝึกควรรู้ก่อนว่า มีหลายระดับขั้น และควรเริ่มที่ระดับแรก ก่อนที่จะฝึกฝนเพื่อสู่ลำดับสูงขึ้นถัดไป

ในการฝึกสมาธิพัฒนาจิต มี 3 ระดับ ดังนี้

  1. ระดับ สติในฐานะการฝึกปฏิบัติ (Mindfulness as PRACTICES)
  2. ระดับ สติในฐานะที่เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการฝึกปฏิบัติ (Mindfulness as STATE)
  3. ระดับ สติที่เป็นบุคลิกภาพ หรือการที่ได้พัฒนาสติจนกลายเป็นคุณลักษณะทางจิตใจประจำตน (Mindfulness as TRAIT)

ทั้งหมดนี้ จะเป็นมรรคเป็นผลเมื่อมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง (จาก PRACTICES ไปยัง STATE และพัฒนาต่อกระทั่งถึงขั้น TRAIT) จึงจะถือได้ว่า บรรลุถึงขั้นอยู่ได้ในทุกแห่งทุกสภาวะอย่างสงบเย็น ปล่อยได้วางได้ ทุกข์น้อย เบากายเบาใจ มีพลัง ดุจนักว่ายน้ำที่เคียวกรำจนสู่ระดับว่ายน้ำเก่งกาจดังปลาฉลาม มิใช่แค่ว่ายน้ำได้ หรือว่ายน้ำพอใช้ได้เท่านั้น

ดังคำอธิบายของ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษาการพัฒนาใจ เรื่องเก่าที่อยากเล่าใหม่ thaihealthกรมสุขภาพจิต

สำหรับผู้ที่กำลังฝึกว่ายน้ำอยู่ เมื่อคุณตกน้ำคุณอาจไม่รอด เพราะคุณยังว่ายน้ำไม่เป็น หากคุณว่ายน้ำเป็นแล้วคุณอาจรอด แต่คำถามที่น่าสนใจและชวนให้คิดต่อก็คือ แล้วมีความแตกต่างอย่างไรระหว่างว่ายน้ำเป็นกับว่ายน้ำเก่ง ?

 

Where…?

 

  • บ้านจิตสบาย
    101 ถนนสุขาภิบาลบางระมาด แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ 10170
    โทรศัพท์ : 02-448-3392
    โทรสาร : 02-448-3392
    website : http://www.jitsabuy.com
    email : jitsabuy@gmail.com
    facebook : https://www.facebook.com/baanjitsabuy/

 

  • บราห์มา กุมารี ประเทศไทย : บ้านพินทุ
    220 หมู่บ้านออคิดวิลล่า ลาดพร้าว 71 คลองเจ้าคุณสิงห์ วังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทรศัพท์ :081-567-0784
    website : http://www.brahmakumaris.org/home-th?set_language=th

 

  • มูลนิธิบราห์มา กุมารี ราชาโยคะ
    85/156-8 หมู่บ้านฟ้าหลวง ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
    โทรศัพท์ : 02-573-8242, 02-573-7544
    โทรสาร : 02-573-7540
    website : http://www.brahmakumaris.in.th/site/

 

  • วัดป่าโสมพนัส บ้านภูเพ็ก
    หมู่ 12 ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร 47220
    โทรศัพท์ : 080-747-2194
    โทรสาร : 04-298-1000
    เวลาที่สะดวก : ประมาณ 06.00 น./ 17.00 – 18.00 น./ 21.00 น.
    ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ (ฝากเรื่องถึงหลวงตา) : email : info@watsomphanas.com
    facebook : https://www.facebook.com/watsomphanas/

 

  • วัดญาณเวศกวัน
    10 หมู่ที่ 3 (หลังพุทธมณฑล) ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210
    โทรศัพท์ : 02-482-7356, 02-482-7365 และ 02-482-7375
    website : http://www.watnyanaves.net/th/web_page/contact

 


 

แหล่งข้อมูล

การภาวนา

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save