8 ช่องทางความสุข

สุนทรียสนทนา : ชนะร่วมกันอย่างสมานฉันท์

แม้ว่า “การสนทนา” คือชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ แต่หลายต่อหลายครั้งมันกลับไม่ได้เป็นไปอย่าง “สุนทรียะ” ซึ่งมักนำมาสู่ความขัดแย้งแตกคอ และแตกแยก หรือแม้แต่เกิดการห่างเหินเย็นชา

รากเหง้าแห่งปัญหาก็คือ “ตัวตน” ที่ห่อหุ้มภายในใจของแต่ละคน เช่น การยึดมั่นถือมั่นในชนชั้น ฐานะ ตำแหน่ง วัยวุฒิ สังกัด หรือแม้แต่ความเชื่อส่วนบุคคล (ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ)

การพูดคุย ถกเถียง เสวนา ประชุม นอกจากจะแก้ปัญหาอะไรไม่ได้แล้ว มักก่อให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้น เหตุเพราะใช้วิธีคิดแบบเดิมๆที่มาจากฐานความคิดแบบเดิมๆ การแก้ปัญหาสารพัดจึงล้มเหลวมาโดยตลอด          
– เดวิด โบห์ม

(David Joseph Bohm ค.ศ.1917 – 1992 นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ชั้นนำของโลกที่นำปรัชญาทางตะวันออก และศิลปะ มาผนวกกับวิทยาศาสตร์มาให้คำตอบกับโลกอย่างกระจ่างชัด)

แม้โลกยุคใหม่จะเชื่อมโยงสื่อสารกันด้วยเทคโนโลยี่ ที่นับวันยิ่งรุดหน้า แต่สัมพันธภาพของผู้คนกลับยิ่งเหินห่าง “โดดเดี่ยวว้าเหว่ท่ามกลางฝูงชน” คือความรู้สึกที่นับวันก็ยิ่งทบทวี จนกลายเป็นโรคระบาดทางจิตของสังคมยุคดิจิตอล

แต่เมื่อย้อนไปไกลในครั้งโบราณกาล ที่มนุษย์มักล้อมวงกันเป็นกลุ่มเล็กๆ หรืออยู่ด้วยกันไม่เกินกลุ่มละ 40 -50 คน ต่างฝ่ายต่างรู้หน้าที่ ฝ่ายชายก็เข้าป่าล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารเลี้ยงครอบครัว ส่วนหน้าที่ฝ่ายหญิงคือการหาอาหารใกล้ๆที่พัก กิจวัตรเหล่านี้พวกเขาจะสนทนากันเล่าสู่กันฟังโดยไม่มีการโต้เถียง ไม่เป็นทางการ ไม่มีการประเมิน และไม่มี่ผู้ใดบงการ

การคิดร่วมกันด้วยกระบวนการสุนทรียสนทนา (dialogue) น่าจะเป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาอันสลับซับซ้อนของโลกยุคใหม่ เพราะการคิดร่วมกัน การรับฟังซึ่งกันและกัน โดยไม่มีการถือเขาถือเรา เป็นวิธีการจัดการความแตกต่างหลากหลาย โดยทำให้ทุกฝ่ายต่างเป็นผู้ชนะร่วมกัน (win-win)
– เดวิด โบห์ม

 

How…?

 

สุนทรียสนทนาเน้นที่ความผ่อนคลาย สบาย สงบ ไม่เสียงดัง ไม่โต้แย้ง ไม่แบ่งฝ่าย และไม่มีการเอาชนะคะคานกัน แต่เสียงทุกเสียงล้วนเป็นกัลยาณมิตร ขณะเดียวกันก็ให้ปลดโซ่ตรวนจากอุปาทานทั้งปวงในจิตใจของตนเอง อันได้แก่ลาภ ยศ สรรเสริญ เพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่น มีอิสระที่จะเปิดใจรับฟังผู้อื่นอย่างรู้เท่าทันอคติของตน

1. กระบวนการสุนทรียสนทนานั้นไม่มีวาระ ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีทิศทาง อันอาจทำให้บางคนถึงกับยอมรับไม่ได้ถอยออกจากกลุ่มไป แต่หากใครผ่านประสบการณ์แปลกๆนี้ได้ ก็จะพบความจรริงว่า สนทนาแนวทางนี้น่าชื่นชมเพียงใด

2. สุนทรียสนทนาคือการแสวงหาคลื่นพลังแห่งความรู้และความคิดร่วมกัน สิ่งใดที่คนใดคนหนึ่งค้นพบ ก็จะได้รับการโยงใยถ่ายทอดความรู้สู่คนอื่นๆด้วย (Coherent of thought)

3. ในวงสุนทรียสนทนานั้น ทุกคนจะต้องเป็นนักสังเกตการณ์อารมณ์ของตนเองด้วย เพื่อเรียนรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในส่วนลึกของจิตใจตน (tacit knowledge) อย่างเข้าอกเข้าใจ ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการฟังอย่างสงบสุขุม (deep listening) และไม่เคลิ้มคล้อยไปกับอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น นั่นเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่ปัญญาอันเกิดจากการฟัง

 

Where…?

 

เสมสิกขาลัย
29/15 ซอยรามคำแหง 21 ถนนรามคำแหง แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ10310
email : semsikkha_ram@yahoo.com
โทรศัพท์ : 02-314-7385-6
fax : 02-319-1856


 

แหล่งข้อมูล

ความสัมพันธ์

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save