8 ช่องทางความสุข

ชีวิตเปลี่ยนไปเพราะใฝ่เรียนรู้

harness_cr

เด็กชายวัยรุ่นที่ไม่ได้ไปโรงเรียน เรียนรู้การสร้างกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าจากของเหลือทิ้ง โดยศึกษาเองจากหนังสือ สิ่งที่เขาทำจุดประกายความฝันให้คนทั้งประเทศที่มีไฟฟ้าใช้เพียงแค่ 2% เรื่องของเขาได้รับการกล่าวถึงทั้งใน Wall Street Journal, Time Magazine และภาพยนตร์สารคดีชีวิตของเขาก็ได้รับรางวัล ทุกวันนี้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเพราะการศึกษาเรียนรู้

ไม่เคยหยุดเรียนรู้‬

เมื่ออายุ 14 ปี เด็กชาย William Kamkwamba ต้องออกจากโรงเรียนเพราะความแห้งแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 50 ปีในประเทศมาลาวี ครอบครัวของเขาซึ่งทำการเกษตรไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียนได้ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ไปโรงเรียน แต่เขายังคงเรียนรู้ ยังคิด และยังมีความฝัน เขาจึงเพียรไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดโรงเรียนบ่อย ๆ โดยมีความหวังว่าหากวันหนึ่งพ่อแม่เขาจะมีเงินพอที่จะส่งเขากลับไปเรียนอีก เขาจะได้เรียนตามเพื่อน ๆ ได้ทัน

ที่ห้องสมุดนั้น เขาได้อ่านหนังสือเรื่อง Using energy และเกิดแรงบันดาลใจ เขาจึงตัดสินใจทดลองทำกังหันลมเล็ก ๆ เพื่อผลิตไฟฟ้า เขาใช้ไดนาโมราคาถูก กิ่งไม้ และชิ้นส่วนจักรยานมาประกอบกัน ในตอนแรกแผนการของเขาได้รับการดูแคลนจากเพื่อนบ้านหรือแม้แต่คนในครอบครัวเอง แม่ของเขาเองบอกว่า

“ตอนแรกพวกเราหัวเราะเยาะเขา เพราะเราคิดว่าเขาทำสิ่งไร้ประโยชน์”

boywhoharnessedthewind_zunon5

แต่เสียงหัวเราะหายไป เมื่อ William ต่อกังหันลมเข้ากับลวดทองแดงและหลอดไฟในห้องแต่ละห้องภายในบ้าน จากนั้นมาครอบครัวเขามีความสุขกับชีวิตใหม่ พวกเขาสามารถใช้ ทีวี วิทยุ หลอดไฟ และไม่ต้องซื้อพาราฟินสำหรับจุดตะเกียงอีกต่อไป น้องสาวสองคนของเขาก็สามารถอ่านหนังสือเรียนทบทวนบทเรียนยามค่ำคืนได้

William ไม่ได้หยุดแค่นั้น เขาปรับปรุงพัฒนากังหันให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จากของเหลือทิ้งเท่าที่เขามีอยู่ เขาสร้างกังหันเพื่อนำน้ำเข้าใช้ในหมู่บ้านและมีความฝันว่าจะช่วยประเทศของเขาให้ดีขึ้นทีละนิดๆ ด้วยกังหันของเขา

6a00d8341caed853ef0133eca2a78e970b

กังหันผลิตไฟนี้กลายเป็นที่สนใจของชาวบ้านซึ่งไม่มีไฟฟ้าใช้ นักการศึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พวกเขาเดินทางไกลมาดูว่าหน้าตามันเป็นอย่างไร ต้องเข้าใจว่าในประเทศที่คนเพียง 2% มีไฟฟ้าใช้ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก

เรื่องนี้ถูกบอกต่อ ๆ กันไป เรื่องของเขาลงพิมพ์ใน Wall Street Journal และ Time Magazine ขนานนามว่าเขาเป็นหนึ่งในคนอายุน้อยกว่า 30 ปีที่ได้เปลี่ยนโลกใบนี้ William เขาได้เดินทางไปบรรยายในงานสำคัญหลายงาน เช่น TED global conference เมื่อปี 2007,World Economic Forum, Science Chicago หนังสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของเขา เรื่อง William and the Windmill ได้รางวัล Grand Jury Award for Documentary Feature จาก SXSW

maxresdefault (1)

หลังจากที่เขามีชื่อเสียง ก็มีผู้สนใจสนับสนุนการศึกษาของเขา เขาได้กลับเข้าไปเรียนในโรงเรียนและอีก 1 ปีต่อมาก็ได้ย้ายไปเรียนในโรงเรียนเอกชนที่เมืองหลวงของมาลาวี และได้รับทุนการศึกษาจาก African Leadership Academy เพื่อเรียนต่อ และเขาเพิ่งจบการศึกษาจาก Dartmouth College in Hanover ที่ New Hampshire เมื่อปี 2014

ช่วยเหลือประเทศ ช่วยเหลือชุมชน

นอกจากความสำเร็จทางวิศวกรรมการทำกังหันลมเพื่อช่วยเหลือชุมชน William ยังทำงานอื่น ๆ เขาขุดบ่อน้ำและสร้างระบบชลประทานในพื้นที่ของครอบครัว ซึ่งทำให้ครอบครัวของเขาสามารถปลูกพืชได้สองสามครั้งต่อปี และได้อาหารมากขึ้น

เขายังได้สร้างทีมฟุตบอลที่มาพบปะกันทุกวันเสาร์

เขาบอกว่า “มีเด็กหลายคนที่เหมือนผม ที่ต้องออกจากโรงเรียน และพวกเขาก็เริ่มทำสิ่งที่ไม่ดี เช่น สูบบุหรี่หรือดื่มเหล้า เพื่อทำให้พวกเขาไม่ว่างผมจึงจัดให้มีทีมฟุตบอล”

นอกจากนั้นกิจกรรมกีฬายังเปิดโอกาสให้ชาวบ้านจากหมู่บ้านต่าง ๆ เอาข้าวของที่ตัวเองผลิตได้มาขายแลกเปลี่ยนกัน

ปัญหาโรค AIDS เป็นปัญหาใหญ่ของมาลาวี William และเพื่อนๆ จึงได้เขียนบทละครและร่วมแสดงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน HIV ชื่อ You Can’t Judge a Book by its Cover

kamkwamba.boywhoharnessed

เขาเขียนหนังสือชื่อ “The boy who harnessed the wind” เพื่อบอกให้คนอื่นรู้ถึงประสบการณ์ชีวิตของเขา เขาบอกว่า

“ผมอยากให้คนอื่น ๆ รู้ว่าผมทำอย่างไรในสถานการณ์ที่ยากลำบากนั้น มีความท้าทายมากมาย และผมพิสูจน์ว่าหากเราทุ่มเททำงาน อะไรในชีวิตก็เป็นไปได้”

หมายเหตุ มาลาวีเป็นประเทศขนาดเล็กในอาฟริกา และเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด เศรษฐกิจของมาลาวีขึ้นกับการเกษตรที่ทำโดยชาวชนบท ประเทศมาลาวีมีปัญหาทั้งเรื่องการศึกษา สาธารณาสุข สิ่งแวดล้อม ชาวมาลาวีมีอายุขัยสั้นและเด็กเกิดใหม่มีอัตราการตายสูง มีการระบาดของโรค AIDS มาก ซึ่งทำให้ขาดแรงงาน

ปืดท้าย

เมื่อชีวิตต้องเผชิญหน้ากับปัญหาและความทุกข์ ร้อยทั้งร้อยไม่เคยมีทางลัดให้ก้าวผ่าน บทเรียนชีวิตแต่ละครั้งไม่เคยง่าย เราอาจต้องเสียทั้งเหงื่อและน้ำตาเป็นหลายปี๊บกว่าจะฝ่าฟันมันไปได้ ที่น่าเศร้ากว่านั้นก็คือ หลายชีวิตผ่านมันไปไม่ได้ และยกธงขาวยอมแพ้มันเสียตั้งแต่กลางทาง

แต่ถ้าเราเพียงลองมองชีวิตในมุมมองใหม่ฝึกมองทุกเรื่องให้เป็นบทเรียนที่จะได้เรียนรู้และเติบโต ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ทุกอย่างล้วนมีคุณค่า บทเรียนชีวิตแต่ละเรื่องอาจต้องใช้ความอดทน พากเพียร อุตสาหะไม่เท่ากัน เมื่อสำเร็จก็เรียนรู้ที่จะชื่นชม หากล้มเหลวก็เรียนรู้ที่จะให้อภัย ปล่อยวางและเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสุขจากการศึกษาเรียนรู้

ที่มา

http://movingwindmills.org/story

http://www.wsj.com/articles/SB119742696302722641

http://thedartmouth.com/2009/10/20/boy-who-harnessed-the-wind-comes-to-college/

http://ideas.time.com/2013/12/06/these-are-the-30-people-under-30-changing-the-world/slide/william-kamkwamba/

https://en.wikipedia.org/wiki/Malawi

การศึกษาเรียนรู้

ความสัมพันธ์

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save